2 ส.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.(ฉบับที่…) พ.ศ…… และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่..) พ.ศ…. ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องการพิจารณาร่างแก้ไขร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.วาระ 2-3 ว่า เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิปว่าจะเลื่อนวาระการพิจารณาร่างดังกล่าวขึ้นมาได้หรือไม่
เมื่อถามว่า จะพิจารณาทันก่อนครบ 180 วัน คือวันที่ 15 สิงหาคมนี้หรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ว่าทันหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับสมาชิกว่าถ้าพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับพินัยได้เร็วและ ถามีใครเสนอให้เลื่อนขึ้นมาได้น่าจะทัน อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ทันภายในสัปดาห์นี้น่าจะทันในสัปดาห์หน้าก่อน 15 สิงหาคม ฉะนั้น ถือว่า กมธ.ทำหน้าที่ของเรา แต่การจะเลื่อนขึ้นมาหรือไม่เป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภา เราไม่สามารถบังคับใครได้ ทั้งนี้ ทราบว่าเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม วิปร่วมรัฐสภาได้มีการประชุมกันแล้ว และยังไม่มีมติที่จะให้เลื่อน ฉะนั้น คงต้องรอ แต่เราพร้อมแล้ว โดยในส่วนของ กมธ.พร้อมที่จะแก้ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ที่ประชุมใหญ่ได้เปลี่ยนจากหาร 100 มาเป็นหาร 500 แต่ กมธ.เสียงข้างน้อยยังยืนยันว่าถ้าจะให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ มันต้องเป็นหาร 100
นายสาธิต กล่าวว่า ซึ่งกระบวนการมีแนวทาง ดังนี้ คือถ้าพิจารณาไม่ทัน 180 วัน คือภายในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ ต้องกลับไปใช้ร่างแรก ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคือร่างของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่างนี้เป็นเหมือนแม่น้ำสองสาย คือ หาร 100 และ ส.ส.แบบแบ่งเขตมี 400 คน กังวลว่าถ้าเป็นร่างนี้ตนเสียดายสิ่งที่ กมธ.ทำมา เพราะมีการแก้ให้มันสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น การให้สิทธิ์ผู้สนับสนุนในการเข้าไปถ่ายรูปในหน่วยเลือกตั้ง หรือจุดอื่นที่ทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะทำให้การเลือกตั้งให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายมากขึ้น และกลไกของ กมธ.ร่วมรัฐสภามันมาจากทุกพรรคการเมือง และส.ว.ด้วย แต่บังเอิญมันแก้ไม่ผ่าน และไปใช้ตัวร่างเดิมซึ่งมันไม่ได้ผ่านการพิจารณาร่วมกันของทุกฝ่าย ฉะนั้น น่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม ขอให้เป็นไปตามกลไกที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าทำทัน ก่อน 180 วัน คือหาร 500 ไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเขาเห็นว่ามันปฏิบัติไม่ได้ต้องส่งไปที่รัฐสภา ซึ่งรัฐสภาต้องมาแก้ไขเนื้อหา ให้กลับไปเป็นเหมือนที่ กมธ.ร่างปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ กมธ.มีความสุขที่สุด เพราะทำให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับที่ประชุมรัฐสภาที่จะใช้เสียงในการกำหนดทิศทาง
เมื่อถามว่า ถ้าผ่านไปแล้ว กกต.เห็นด้วยกับสูตรหาร 500 และมีการร้องกันทีหลังจะทำให้เกิดความวุ่นวายไปใหญ่หรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า มันอาจทำให้เสียเวลาในแง่ที่จะต้องเดินไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญต้องไปวินิจฉัยว่าจำนวน 500 มันไม่ชอบ ก็ต้องกลับมาที่รัฐสภาเหมือนเดิม ซึ่งมันจะทันกับสภาหรือไม่ ตนไม่รู้
เมื่อถามว่า จะทันกับการเลือกตั้งหรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า ต้องดูไทม์ไลน์ว่าเป็นอย่างไร แต่ก็ภาวนาให้มันทันเพราะเหลือเวลาอยู่ 3-4 เดือน อยากให้มันทัน แต่ถ้าจะอาศัยกลไกสภาก็ต้องก่อนปิดสมัยประชุมเดือนกันยายน
เมื่อถามว่า จะมีส่วนใดที่จะกลายเป็นเดดล็อกได้บ้าง นายสาธิต กล่าวว่า สำหรับเดดล็อกทางการเมือง สมมุติว่าเกิดอุบัติเหตุยุบสภาก่อน และกฎหมายยังค้างอยู่และยังไม่มีการออก พ.ร.ก. ซึ่งเรื่องนี้ตนคิดว่าทางฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลจะดูอยู่แล้วว่ามีช่องทางไหน ส่วนตัวอยากให้แต่ละช่องทางนั้นเป็นช่องทางที่เกิดความมีส่วนร่วมมมากที่สุด เพราะเมื่อไปสู่สนามเลือกตั้งแล้ว มันเป็นการแข่งขัน ในการแข่งขันถ้าจะให้ดีที่สุดกติกาต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เพราะไม่เช่นนั้นหลังการเลือกตั้งจะมีปัญหาเกิดขึ้นอีก แต่ถ้ากติกาที่ออกมาทุกฝ่ายยอมรับ ใครก็จะมาอ้างอะไรไม่ได้แล้ว เพราะเสียงของประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง