'สาทิตย์' รับกระแสพรรคไม่ดีเหมือนเดิม ชี้ยังมี ส.ส.ไหลเข้าออก พร้อมหนุนสูตรหาร 500

1 ส.ค.2565 - ที่จังหวัดตรัง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้หลายๆ พรรคมีการเปิดตัวผู้สมัครเตรียมตัวลงเลือกตั้งนั้น ถ้าดูระยะเวลาที่จะหมดวาระของสภาชุดนี้เดือนมีนาคม 2566 คิดว่าตั้งแต่มีการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจจบลงไปแล้ว ก็น่าจะมีเวลาก่อนเดือนมีนาคมอีกสักประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งหลายพรรคมีการเตรียมการไปแล้ว ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ก็มีการเปิดตัวผู้สมัครในหลายพื้นที่โดย ท่านหัวหน้าก็ดี หรือท่านรองหัวหน้าพรรคก็ดี ก็ได้มีการดำเนินการไปบางส่วน แต่เรื่องใหญ่สุดน่าจะเป็นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางของพรรคที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งอย่างที่เป็นข่าวหลังจากมี การอภิปรายไม่ไว้วางใจท่านหัวหน้าพรรคกับท่านเลขาธิการพรรคก็ได้คุยกับบรรดารัฐมนตรีของพรรคและ รองหัวหน้าพรรคของแต่ละภาคเพื่อกำหนดแนวทางไว้คร่าวๆแล้ว ซึ่งจากนี้ไปในแต่ละภาคก็ต้องไป กำหนดทิศทางและก็คงจะไม่เกินอีก 2-3 เดือนนี้ไป การกำหนดยุทธศาสตร์ทิศทางการเลือกตั้งของพรรคก็ต้องชัดเจนขึ้น

แต่ตนเองพูดได้ในส่วนของภาคใต้ เพราะในส่วนของภาคใต้รองหัวหน้าพรรคภาคไต้กับ ส.ส.ภาคใต้ปัจจุบันมีการพูดคุยกันหลายครั้งแล้ว เที่ยวนี้เราจะให้ความสำคัญว่าภาคใต้ต้องถือเป็นพื้นที่หลักของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเที่ยวที่แล้วถึงแม้ว่าเรามาเป็นที่หนึ่ง แต่จำนวน ส.ส. เราก็ลดลง เพราะฉะนั้นเที่ยวนี้ท่านรองหัวหน้าพรรคท่านก็กำหนดเป้าหมายไว้ที่ 35 ที่นั่ง ซึ่ง 35 ที่นั่งนั้นเป็นเป้าหมายหลัก เพราะฉะนั้นการเลือกตั้งภาคไต้ต้องให้ความสำคัญจะมีอยู่ 3 เรื่องคือ

อันดับ 1. เรื่องนโยบายเฉพาะภาค ซึ่งนโยบายเฉพาะภาคตนเองก็รับผิดชอบในส่วนนั้น ซึ่งในขณะนี้เร่งทำและได้พูดคุยกับทางฝั่งของวิชาการ เพื่อที่จะให้มีนโยบายการพัฒนาเฉพาะภาคไต้ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ดินทำกิน เรื่องของสินค้าเกษตร เรื่องของการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งก็จะมีงานประกาศตัวโชว์นโยบายเฉพาะภาคไต้ออกมาอีกครั้งหนึ่ง

อันดับที่ 2 คือ ตัวผู้สมัคร ซึ่งอันนี้ยังเห็นว่ามีปัญหาอยู่หลายที่ก็ต้องเร่งในการที่จะทำความเข้าใจและในการจัดวางตัวผู้สมัคร ตรงไหนที่มีปัญหาก็ต้องเคลียปัญหาให้จบโดยเร็ว ซึ่งก็เป็นธรรมดาของพรรคการเมืองระดับใหญ่ที่มีจำนวนผู้สมัครมากกว่า 1 คนในแต่ละที่ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดตรังยังมีปัญหาอยู่ในเขตพื้นที่เลือกตั้งที่ 4 ก็ต้องเคลียปัญหาต่อไปให้จบ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะจบภายในเดือนสิงหาคมนี้

อันดับที่ 3 คือ เรื่องของการขับเคลื่อนพรรคประชาธิปัตย์ภาคไต้ อันนี้ถือเป็นจุดแข็งสุดของพรรค เมื่อก่อนเรามี ส.ส. ของพรรค มีแกนนำของพรรคภาคไต้จำนวนมาก เราสามารถรวมกลุ่มที่จะไปจัดกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ได้ แสดงให้เห็นถึงความจริงจังกับพลังของพรรคประชาธิปัตย์และความผูกพันของคนภาคไต้ ซึ่งเที่ยวนี้เราตั้งใจที่จะทำเช่นนั้นอีก

อย่างไรก็ตามใน 3 เรื่องนี้ ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ง่าย มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองค่อนข้างมาก และกระแสของพรรคเองก็ไม่ได้ดีเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็จะต้องพยายามในการที่จะทำนโยบายให้โดนใจประชาชนมากที่สุด ตัวผู้สมัครต้องมีการกำหนดแนวทางในการเข้าถึงประชาชน ทำงานหนักให้มากที่สุด ให้ประชาชนเห็น และการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ภาคไต้ก็ต้องเด่นชัด และ ชัดเจน ให้เห็นว่านี่คือพื้นที่เป้าหมายหลัก ซึ่งเรามีความเข้าใจในพื้นที่ดีกว่าพรรคไหน ๆ

ก่อนจะมีการเลือกตั้งจะมีการไหลเข้าไหลออกของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งตนมองว่ายังมีอีก และจะเป็นเหมือนกันทุกพรรค เพราะการเมืองเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก และด้วยกติกาของการเลือกตั้งที่เปลี่ยนด้วย ก็ทำให้หลายคนคิดว่า พรรคนี้ไม่ปลอดภัย อยากจะย้ายพรรคเป็นต้น พรรคประชาธิปัตย์ก็มี ต้องยอมรับว่ายังมี แต่เท่าที่มีการพูดคุยอย่างในภาคไต้ก็คงจะมีแต่น้อยมาก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ยึดมั่นที่จะอยู่พรรคประชาธิปัตย์อย่างตนเองก็ชัดเจนว่ายังอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์

ในส่วนที่มีการออกมาแสดงความคิดเห็น เรื่อง สูตรหาร 100 สูตรหาร 500 นั้น ในความคิดเห็นของตน มองว่า ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งยังไม่จบ เรื่องรัฐธรรมนูญจบแล้ว แต่กฎหมายประกอบยังไม่จบ คือกฎหมายประกอบว่าด้วยการเลือกตั้งยังค้างอยู่ที่รัฐสภา แต่มาตราสำคัญ คือมาตรา 23 โหวดไปแล้ว เสียงส่วนใหญ่ให้หาร 500 ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วมีปัญหาว่า เมื่อหาร 500 ไปแล้ว กรรมาธิการไม่ยอมแก้กฎหมายส่วนที่เหลือให้สอดรับกับหาร 500 ซึ่งกรรมาธิการเห็นว่ายังควรจะคงหาร 100 ซึ่งตนเป็นคนเตือนว่าทำไม่ได้ เพราะกรรมาธิการจะใช้เสียงของตัวเองไปยันกับเสียงข้างมากในรัฐสภาไม่ได้ ก็ต้องแก้ไขไปก่อน

เพราะฉะนั้นในสัปดาห์นี้กรรมาธิการต้องเสนอร่างส่วนที่เหลือเข้ามาในรัฐสภา ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้หาร 500 ก่อน แต่เมื่อจบไปแล้วรัฐสภาให้ความเห็นชอบไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปภายใน 30 วัน ก.ก.ต. ต้องให้ความคิดเห็นกลับมายังรัฐสภา ซึ่งก็เดาว่า ก.ก.ต.คงไม่เห็นด้วย พอ ก.ก.ต.ไม่เห็นด้วยก็จะแสดงความคิดเห็นมายังรัฐสภา ก็จะอยู่ที่รัฐสภาว่าโหวดเห็นด้วยหรือไม่

ถ้ายืนยันก็เสนอประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป แต่ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็จะมีช่องทางหนึ่งที่จะมีบางพรรคบางฝ่ายไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ ในความคิดเห็นของตน ตนสนับสนุนหาร 500 มาแต่ไหนแต่ไร เพราะตนเห็นว่าการเลือกตั้งแบบคู่ขนานแบบเดิมที่เคยใช้ก่อนปี 2562 มันเกิดการลักลั่นกับจำนวนสัดส่วนที่ควรได้ เพราะฉะนั้นการหาร 500 น่าจะเป็นธรรมมากกว่า แต่ถ้าเรื่องนี้ไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องดูกันต่อ แต่ส่วนตัวไม่ได้กังวลเพราะลงเขต ไม่ว่าจะหาร 100 หรือ หาร 500 ตนก็ยังลงเขตเลือกตั้งเช่นเดิม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปิยบุตร' ดักคอพรรคจ้องดูด สส.งูเห่า เอาไปก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อเสถียรภาพรัฐบาล

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ สัดส่วนพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมนัดแรก

'อนาคตไกล' คลี่ปม 'ลุงชาญ' กรณีการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

“อนาคตไกล” คลายปม “ชาญ พวงเพ็ชร”การสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นดุลพินิจของศาล คำชี้ขาดคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ผูกพันองค์กรอื่น

'บิ๊กป้อม' เปิดบ้านป่ารอยต่อ คุย สส.พปชร. ย้ำทำหน้าที่ กมธ.งบ 68 อย่างรอบคอบ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยแกนนำคนสำคัญ อาทิ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค, นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค

'นิกร' ชี้เดินหน้าดีกว่าล้มกระดาน สว.ชุดใหม่ แนะรอ ส.ส.ร. แก้ไขกติกาให้ดีขึ้น

นายนิกร จำนง ประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่าย อาทิ บุคคลที่มีชื่อเสียงทางด้านการเมือง และผู้สมัครที่ไม่ผ่านการคัดเลือกสว.มีความพยายายามดำเนินการ ให้มีการระงับยับยั้ง

'อนาคตไกล' ชี้ตัวแปรทำ 'ชาญ' ชนะเลือกตั้งนายกอบจ.ปทุมธานี

“อนาคตไกล” ชี้ตัวแปร ทำให้ชาญ ชนะการเลือกตั้ง นายกอบจ.ปทุมธานี แม้ ปปช.ชี้มูลและศาลประทับรับฟ้อง ก็ไม่ขาดคุณสมบัติสมัครนายกอบจ.