'นิกร' รับไม่เห็นด้วยหาร 500 แต่ก็ต้องเดินหน้าผลักดัน

'นิกร' เผย กมธ.กฎหมายลูกเร่งถกหลายมาตรา ยันยังคงหาร 500 ไม่มีการดึงไปหาร 100 แม้จะเห็นดีก็ตาม ย้ำไม่เอาด้วยบัตรใบเดียวเพราะเสียเปรียบ

27 ก.ค.2565 - นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่...) พ.ศ.... รัฐสภา เปิดเผยถึงการประชุม กมธ. เมื่อค่ำวันที่ 26 ก.ค. เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมมาตราในร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.​ให้สอดคล้องกับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่มติรัฐสภาเห็นชอบให้ใช้จำนวน 500 คนหาค่าเฉลี่ยแทนจำนวน 100 คน ว่าเป็นการหารือนอกรอบเป็นเบื้องต้น ยังไม่มีข้อสรุปในรายละเอียด โดยในวันนี้ กมธ.ได้นัดหารืออย่างเป็นทางการอีกครั้ง เบื้องต้นคาดว่าเวลาประมาณ 12.00 น. จะได้ข้อยุติ โดยหากมีการแก้ใน กมธ.ต้องแก้รายงานการประชุมด้วย เพื่อให้ทันบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระ ภายในวันที่ 2 ส.ค.

นายนิกรกล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่าจะมีการดึงเวลาเพื่อกลับไปใช้แบบหาร 100 ว่าไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น ถึงตนเองจะไม่เห็นด้วยกับการหาร 500 แต่หากต้องการดึง มีวิธีที่ง่ายคือดึงการพิจารณากฎหมายให้เลยวันที่ 15 ส.ค.ไป ก็จะสามารถกลับมาใช้แบบหาร 100 ได้ แต่เราไม่ทำแบบนั้น เพราะอยากไปให้สุดทาง โดยส่งต่อไปที่ศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าผลจะเป็นอย่างไร ก็คงต้องเป็นอย่างนั้น

เมื่อถามว่า หลังจากที่ประชุมพรรคร่วมรัฐบาลได้มีความเห็นว่าจะกลับไปเป็นหาร 100 และกลับไปใช้บัตรใบเดียว มีความเห็นว่าอย่างไร นายนิกร กล่าวว่า เรื่องหาร 100 และบัตร 2 ใบเป็นเรื่องที่แก้กันมา โดย 3 พรรค การเมืองได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) พรรคภูมิใจไทย(ภท.) และพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) แต่พรรคอื่นๆยังไม่ทราบ แต่ในส่วนของพรรค ชทพ.ได้คุยกันแล้วว่าไม่เห็นด้วยในเรื่องดังกล่าว เพราะเราเสนอแก้เป็นบัตร 2 ใบ ซึ่งการแก้เป็นใช้บัตรใบเดียว พรรคเราก็ไม่ได้เปรียบ แต่เสียเปรียบด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เห็นว่าเป็นหลักการที่ดี ซึ่งนายบรรหาร ศิลปอาชาอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ทำเอาไว้ เราจึงยืนยันตามเดิม และไม่เห็นด้วยกับการกลับไปแก้

เมื่อถามว่า มีแนวทางไหนว่าจะกลับไปหาร 100 ได้บ้าง นายนิกร กล่าวว่า หากจะกลับไปหาร 100 ได้ ก็ต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวในที่ประชุมให้จบ และส่งไป กกต. โดยในส่วนของ กกต. ก็จะมีปัญหาเนื่องจาก รัฐธรรมนูญมาตรา 132 กำหนดให้ กกต. เป็นผู้ให้ความเห็นทักท้วงว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น มีข้อความใดข้อหรือแย้ง หรือทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ดังนั้นในการประชุมม กมธ. จะเป็นประเด็นที่ต้องทำให้เกิดความชัดเจน เพื่อไม่ให้มีการกล่าวอ้างว่าความเห็นของตัวแทนจาก กกต. ที่ร่วมเป็น กมธ. นั้น มีผลผูกพันต่อ กกต.ที่จะทำความเห็น และเมื่อพิจารณาครบทั้ง 32 มาตราก็จะส่งไปให้ กกต. และทาง กกต.ก็จะให้คำตอบกลับมา 2 มิติ คือขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยเชื่อว่า กกต.คงไม่ให้ความเห็นเช่นนั้น เพราะไม่ได้มีหน้าที่ แต่ประเด็นของสามารถปฏิบัติได้หรือไม่นั้น หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ทาง กกต. ก็จะแย้งกลับไปหาร 100 ตามร่างรัฐธรรมนูญที่ กกต.เสนอมาตลอด

เมื่อถามว่ามีแนวโน้มที่จะกลับไปแก้รัฐธรรมนูญหรือออกเป็นพระราชกำหนดหรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ก็จะต้องทำเรื่องให้จบก่อน ใครที่คิดจะไปแก้รัฐธรรมนูญก็ว่ากันไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิกร' รับสภาพกฎหมายประชามติไม่ทันเลือกตั้งครั้งหน้าใช้ รธน.เดิม!

'นิกร' ระบุ พ.ร.บ.ประชามติ ไม่ทันเลือกตั้งท้องถิ่นต้นปีหน้า พ้อเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ยังใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน

รื้อรธน. รอแกนนำสรุป นิกรชี้แฉลบหลายเรื่อง

“วิสุทธิ์” ย้ำการชำเรา รธน.ต้องรอระดับแกนนำสะเด็ดน้ำ ส่วนจะทันสมัยประชุมนี้หรือไม่ก็แล้วแต่ “อนุทิน” ลั่น พท.ยังไม่ติดต่อมา อย่าเพิ่งกังวลช่วงนี้มีเรื่องสำคัญกว่า “นิกร”

'นิกร' หวัง 2 สภาเห็นพ้องหาข้อยุติแก้กม.ประชามติได้ทันเลือกนายกอบจ.

'นิกร' หวัง 2 สภาเห็นพ้องหาข้อยุติแก้กม.ประชามติได้ทันเลือกนายกอบจ. บอก หากไม่ทันก็ไม่มีพรรคไหนเสีย มีแต่ปชช.เสียโอกาส ชี้ ท่าที 'ภูมิใจไทย' แก้รธน.ไม่ใช่เรื่องด่วนแต่ไม่มีเหตุที่จะดึง