นั่นไง! ผู้นำฝ่ายค้าน ซัดพวก 'บัวใต้น้ำ' ทำลายประชาธิปไตย

23 ก.ค.2565 - ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ส.ส.บางคนรับเงิน ว่า เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นถึงความชัดเจนต่อสิ่งที่ฝ่ายค้านได้นำเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ ซึ่งถือเป็นการทำลายระบบประชาธิปไตยที่ฟ้องไปยังประชาชน และแน่นอนว่าการกระทำดังกล่าว ทำให้สภาฯ ดูแย่ โดยจุดประสงค์เขาต้องการทำลาย อำนาจของประชาชนในการปกครองตนเองอยู่แล้ว ทั้งนี้ วิธีที่แยบยลที่สุดคือ การใช้ตัวแสดงที่อยู่ในสภาฯ โดยเอาสิ่งที่เขาต้องการหรือผลประโยชน์มาล่อ และคนเหล่านี้ก็ลงไปอยู่ในวังวนของการแสดง ซึ่งทำให้ไม่หลุดพ้น

“มันเป็นความเข้าใจที่คนกลุ่มหนึ่งยังเป็นบัวใต้น้ำอยู่ยอมเป็นอาหารของเต่าและปลาแทนที่ตนเองจะงอกเงยขึ้นมาจากน้ำให้มีชีวิตรอด แต่สุดท้ายเขาก็กินอยู่ในวังวนเช่นนี้ ไม่รอดแน่ ในระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นจึงต้องเอาปรากฏการณ์นี้มาเป็นตัวตั้ง และ อยากให้ประชาชนเน้นทางลบไว้ก่อนเมื่อเกิดกรณีกระแสข่าวเช่นนี้ขึ้น เพราะนั่นคือสิ่งที่เลวร้าย” นพ.ชลน่าน กล่าว

เมื่อถามว่า บัวใต้น้ำคือกลุ่มที่รับเงินใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า มีเยอะ เต็มสภารวมถึงบนบัลลังก์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2

จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.

น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476