ผู้นำฝ่ายค้าน ฟุ้งสอยนั่งร้านได้ 1-2 เก้าอี้ ลั่นถึงแพ้ในสภาก็มีประชาชนเป็นผู้ตัดสิน


22 ก.ค.2565 - ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวว่า อภิปรายมาจนถึงขนาดนี้แล้วทำให้ฝ่ายค้านมีความมั่นใจในข้อกล่าวหากรอบญัตติที่ได้วางไว้จึงสมบูรณ์มาก ทำหน้าที่ได้ดีอย่างมาก สามารถชี้เป้าตามประเด็นที่ถูกกล่าวหาได้ทำให้เห็นว่ารัฐบาลล้มเหลว ผิดพลาด บกพร่องในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดิน หลักฐานชัดเจนตามที่สมาชิกฝ่ายค้านได้นำเสนอ มีผลกระทบต่อประชาชนและประเทศอย่างไรทุกคนก็ได้เห็น มีการเอื้อประโยชน์ ส่อทุจริต การอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นศาลประชาชนที่ฝ่ายรัฐบาลจะต้องมาแถลงชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา อย่างน้อยมีรัฐมนตรี 2 คนที่หนีการตอบ

คือ นายศักสยาม ชิดชอบรมว.คมนาคม และนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งที่นั่งอยู่ในห้องประชุม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโอกาสและนาทีทองของผู้ที่จะชี้แจงเสียไป หากมาชี้แจงวันหลังความน่าเชื่อถือต่างๆก็หายไปหมดแล้ว ประชาชนฝังใจไปแล้ว ซึ่งการเลี่ยงที่จะไม่ตอบนั้นถือเป็นการสารภาพในสภาว่าเป็นไปตามข้อกล่าวหา ฝ่ายค้านจึงมั่นใจว่าเด็ดหัวสอยนั่งร้านเกิดผลแน่นอน และตนตั้งความหวังไว้ว่าในสภาอาจมีการสอยนั่งร้านได้ ไม่หนึ่งก็สองเก้าอี้

"และถึงแม้ฝ่ายค้านจะแพ้ในสภา แต่มือในสภาก็สู้ประชาชนไม่ได้ เพราะประชาชนให้ความสนใจติดตามฟังการอภิปรายอย่างมาก และเขาพร้อมเป็นผู้ตัดสินในสนามเลือกตั้ง และขั้นตอนต่อไปคือการนำไปยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในข้อกล่าวหาที่กระทำผิดกับกฎหมาย ส่อทุจริตปล่อยปละละเลย มาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง เกือบทุกคนเรายื่นแน่นอน" นพ.ชลน่าน กล่าว

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ขอฝากประชาชนว่าการทำหน้าที่ในสภาเป็นมาตรการหนักที่สุดของการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ขอให้ประชาชนช่วยติดตามในโค้งสุดท้ายนี้ แล้วประเมินผลดูทั้งหมด หากมีโอกาสลงคะแนนผ่านแอพพลิเคชันที่หลายพรรคการเมืองทำก็สามารถไปร่วมลงมติได้ เพื่อสะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยกลุ่มราษฎร์ก็เปิดช่องทางด้วยเช่นกันและจะเริ่มนับคะแนนก่อนที่จะส่งคะแนนไปให้ประธานวิป เพื่อส่งให้ตนกับประธานวิปนำมาสรุปในการอภิปรายด้วย เพราะจะมีผลต่อการลงคะแนนของส.ส.ในสภาถึงแม้ว่าจะมีสิ่งล่อใจจูงใจให้ส.ส.โหวตเห็นต่างไปจากพี่น้องประชาชน หากเสียงประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่ ส.ส.ที่มีสิทธิ์โหวตก็อาจจะเปลี่ยนใจในการออกเสียง

และที่น่าเป็นห่วงคือกระแสการต่อรองของพรรคการเมืองในสภาที่มีความแปรปรวนมาตลอด สะท้อนให้เห็นว่าสภาเป็นสภากล้วย เป็นสภาที่ถูกทำลายล้างด้วยการใช้เม็ดเงินครอบคลุมอำนาจประชาชน การให้กล้วยนั้นไม่ดี จึงขอฝากผู้มีอำนาจที่ให้กล้วยเพื่อแลกมาซึ่งคะแนน ลึกๆตนไม่ทราบว่าเขาหวังอะไรแต่เป็นการใช้กลไกภายในทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวถามว่าส่วนตัวได้พูดคุยกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย บ้างหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ตนมอบงานนี้ให้ประธานวิป และเท่าที่ฟังข่าวก็มีการประสานมาที่ประธานวิปแล้วในเรื่องของการอภิปราย ส่วนเรื่องโหวตว่าทางกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส จะโหวตตามฝ่ายค้านหรือไม่นั้น ตนไม่ก้าวล่วงเพราะเป็นเอกสิทธิ์ เป็นเสรีภาพของพรรคการเมือง แต่เราก็มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้ให้ไปหลายพรรคตอบรับว่ามันชัด ในขณะที่รัฐมนตรีตอบไม่ได้ ดังนั้นเขาจะโหวตตามข้อมูลที่ได้รับรู้รับทราบไปจากฝ่ายค้าน.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา