เพื่อไทย ชำแหละ มท.1 กินน้ำประปา 'บิ๊กป็อก' ถึงกับอึ้ง เอาที่ไหนมาว่า!


20 ก.ค.2565 - เวลา 18.47 น. นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ตอนหนึ่งว่าขอกล่าวหาพล.อ.อนุพงษ์ ในฐานะที่กำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาค ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ปีพ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาคปีพ.ศ. 2522 มาตรา 4 และมาตรา 46 พล.อ.อนุพงษ์ มีหน้าที่ในการกำกับทั่วไปในการประปาส่วนภูมิภาค มีหน้าที่สั่งการให้การประปาส่วนภูมิภาคชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความเห็นหรือทำรายงานยับยั้งการกระทำของการประปาส่วนภูมิภาคที่ขัดต่อนโยบายรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงการเอกชน ร่วมลงทุนน้ำประปาปทุมธานี-รังสิต ซึ่งรัฐมีความเสี่ยงที่จะเสียหายกว่า 36,513 ล้านบาท

นายเลิศศักดิ์ กล่าวว่าพฤติกรรมการกระทำความผิดของพล.อ.อนุพงษ์มีดังนี้ 1.ในฐานะที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รอบคอบ ไม่ระมัดระวังในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้บุคคลแวดล้อมและพวกพ้องแสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนโดยละเว้นและเพิกเฉยต่อการทุจริตในภาครัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง โดยไม่ใส่ใจที่จะป้องปราม

2.มีพฤติการณ์จงใจสมคบคิดเป็นตัวการในลักษณะแบ่งแยกหน้าที่กันทำทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการในลักษณะช่วยเหลือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชนไม่ระงับยับยั้งการปฎิบัติราชการใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่าทั้ง 2 เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมหากาพย์การโกง ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดทำกันเป็นขบวนการ จัดฉากเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนเพียงรายเดียว คือความพยายามที่จะพยายามต่อสัญญาโครงการน้ำประปาปทุมธานี-รังสิต กับการประปาส่วนภูมิภาคไปอีก 20 ปี คือที่การกระทำผิดเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนตามพ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ. 2562 ถ้ายังคงไม่ยับยั้งกระบวนการเหล่านี้ก็จะเป็นเหมือนกับที่ตนได้บอกมาแล้วจะถูกกล่าวหาว่ากินแม้กระทั่งน้ำประปา งานนี้พล.อ.อนุพงษ์ดิ้นไม่รอดแน่นอน เพราะผลประโยชน์ของโครงการนี้มันหอมหวล

พล.อ.อนุพงษ์ ชี้แจงว่า การประปามีการทำสัญญากับบริษัทบริษัทหนึ่งโดยมีอายุสัญญา 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 2541 ถึงวันที่ 14 ต.ค. 2566 จากนั้นก็มีการศึกษา พบว่าหากการประปาทำเองจะคุ้มค่ามากที่สุด จากนั้นตนก็เห็นชอบตามนั้น ยังไม่เคยคิดเปลี่ยนแปลงสัญญา เพราะยังเห็นชอบให้การประปาทำเอง ไม่ทราบว่านายเลิศศักดิ์ เอาที่ไหนมาว่า ตนจะไปเปลี่ยนแปลง

"ยืนยันว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ โดยได้ให้ความเห็นชอบไปตามนี้เมื่อสิ้นสุดสัญญาการประปาจะทำเองท่านไม่ต้องกังวล ดังนั้นการประปาเตรียมรับดำเนินการในเรื่องนี้ได้เลย ส่วนที่กล่าวอ้างว่า ปล่อยปละละเลยหรือไปรู้เห็นเป็นใจอะไรนั้นเป็นเท็จหมด เพราะไม่ให้แน่นอน ตราบใดที่มีอำนาจอยู่จะไม่มีการแก้สัญญาแน่นอน"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

เอาแล้ว!เรื่องถึงศาลฯ 'ณฐพร' ฟ้องกราวรูด 'บิ๊กขรก.มหาดไทย' เซ่นที่ดินเขากระโดง

นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า "วันนี้ยื่นฟ้องคดีที่ดินเขากระโดง ต่อ ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลนัดตรวจฟ้องและพยานหลักฐานวันที่ 9 ธันวาคม เวลา09.30 น."

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476