18 ก.ค.2565 - นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร เลขาธิการพรรคเศรษฐกิจไทย (ศท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ได้มีการประสานขอเวลาต่อพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อให้พรรคเศรษฐกิจไทย ได้ร่วมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค.นี้ ว่า ล่าสุดคงไม่ได้แล้ว เพราะทางพรรคร่วมฝ่ายค้านได้มีการจัดสรรแบ่งเวลากันในการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้หมดแล้ว เนื่องจากเรามาในตอนหลัง ดังนั้นการจะไปแย่งเวลาของพรรคใดพรรคหนึ่งมาก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควร สิ่งที่พรรคเศรษฐกิจไทยจะทำได้คือการอยู่ร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรและฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเท่านั้น
เมื่อถามถึงบทบาทของพรรคเศรษฐกิจไทยในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้นั้น เลขาธิการพรรคเศรษฐกิจไทย กล่าวว่า ขอให้รอดู ในวันแรกของการเปิดอภิปราย เพราะเมื่อกลไกต่างๆขับเคลื่อนไปก็น่าจะลงตัว ส่วนการโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น ย้ำว่า เราพอมีข้อมูลอยู่แล้ว และยืนยันจะออกมาในทิศทางเดียวกัน ตามที่ทุกคนรู้กันแล้วในฐานะฝ่ายค้าน ไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับความเคลื่อนไหวในส่วนของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ที่จะมีการพูดคุยกับส.ส.กลุ่ม 16 เกี่ยวกับท่าที่ทางการเมืองและการโหวตอภิปรายนั้นจะมีการพูดคุยกับส.ส.ในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 ก.ค.นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘พล.ร.อ.พัลลัภ’ เตือนภัย กับดักบันได 3 ขั้น พ่ายเขมรเสียดินแดน..!! I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 02 พฤศจิกายน 2567
'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.
‘พล.ร.อ.พัลลัภ’ เตือนภัย กับดักบันได 3 ขั้น พ่ายเขมรเสียดินแดน..!! | อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567
สอน 'เพื่อไทย' หัดเอาอย่าง 'อภิสิทธิ์' นักการเมืองรักษาสัจวาจา
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เพื่อไทย ไม่นิรโทษ มาตรา 112 ไม่แคร์มวลชน แต่แคร์พรรคร่วม
ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร