16 ก.ค.2565 - นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ(ส.ส.) ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อชาติไทยและเลขานุการ กลุ่ม ส.ส.16 กล่าวถึง พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นัดพบ กลุ่ม ส.ส.16 ว่า วันที่ 17 ก.ค.65 พล.อ.ประวิตร มีการนัดพบกันที่มูลนิธิป่ารอยต่อ กทม. ซึ่ง กลุ่ม ส.ส.16 จะไปทุกคน เพื่อไปรับฟังท่าทีทิศทางการเมืองของพล.อ.ประวิตร จะไปในทิศทางใด ซึ่งกลุ่ม ส.ส. 16 จะไปรับฟังอย่างเดียว จะไม่มีการเสนอแนะอะไรทั้งสิ้น เมื่อรับทราบข้อมูลแล้ว จะมีการประชุมหารือกันในกลุ่ม ส.ส.16 จนตกผลึก เพื่อกำหนดทิศทางการเมืองของกลุ่ม ส.ส. 16 ต่อไป
นายคฑาเทพ กล่าวว่าส่วนที่มีข่าวว่าวันที่ 18 ก.ค. ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา และหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย นัดพบกับ กลุ่ม ส.ส.16 นั้น ยังไม่ได้รับการประสานมา เห็นแต่ในข่าวตามสื่อมวลชน และกลุ่ม ส.ส. 16 ก็ยังไม่มีมติว่าจะไปตามนัดหรือไม่ ต้องรอผลการนัดพบกับ พล.อ.ประวิตร ก่อนว่าจะมีท่าทีออกมาอย่างไร รวมถึงรอผลสรุปจากการประชุมหารือของกลุ่ม ส.ส. 16 เสียก่อน
"เมื่อมติออกมาแล้ว ก็จะกำหนดทิศทางของกลุ่ม ส.ส.16 ได้ว่า จะไปร่วมกับ ร.อ.ธรรมนัส หรือ ทำงานร่วมกับรัฐบาลจนครบวาระ"
เลขานุการ กลุ่ม ส.ส.16 กล่าวอีกว่าสำหรับ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบางคน ระหว่างวันที่ 19 - 22 ก.ค. และลงมติวันที่ 23 ก.ค. นั้น จะต้องติดตามข้อมูลรายละเอียดของฝ่ายค้านอย่างใกล้ชิด จนวันสุดท้าย( 22 ก.ค.65) จากนั้น กลุ่ม ส.ส.16 จะนำข้อมูลการอภิปรายของฝ่ายค้าน ทั้ง 4 วัน มาประมวลพิจารณาจนตกผลึก เป็นมติของ กลุ่ม ส.ส.16 ซึ่งจะโหวตตามมติของ กลุ่ม ส.ส.16 ไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด
"กลุ่ม ส.ส.16 มีเสียงอยู่ 16 บวก 2 รวม 18 เสียง หมายความว่า กลุ่ม ส.ส.16 ลงมติ ก่อนวันที่ 23 ก.ค.65 เป็นวันยกมือจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนผู้ถูกอภิปราย จำนวน 11 คน ส่วนที่มีมติของแกนนำก่อนนั้น คือ โหวต คว่ำ นายกฯ เพราะแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ผ่าน คงต้องรอมติของทุกคนก่อน รวมถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบางคนที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย"เลขานุการ กลุ่ม ส.ส.16 กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม การอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ ตนมองว่า น่าจะผ่าน เพราะคะแนนเสียงรัฐบาลมีมากกว่าฝ่ายค้าน ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบางคน อาจโหวตไม่ผ่าน ซึ่งเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์ จะทำหน้าที่นายกฯต่อไปจนครบวาระและมีการเลือกตั้งปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น