'ดร.ณัฎฐ์' ปรมาจารย์ด้านกฎหมายมหาชน ชี้ตัวแทนพรรคเศรษฐกิจไทย แพ้เลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 4 ลำปาง เป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับความศรัทธาต่อ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี
15 ก.ค. 2565 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่าผลการเลือกตั้งซ่อม เขต 4 ลำปาง นายเดชทวี ศรีวิชัย พรรคเสรีรวมไทย ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้คะแนน 55,638 คะแนน นายวัฒนา สิทธิวัง พรรคเศรษฐกิจไทย หมายเลข 3 ได้ 30,451 คะแนน และ นายพลพงศ์ พงษ์สุพัฒน์ พรรคพลังสังคมใหม่ หมายเลข 2 ได้ 2,880 คะแนน
กรณีที่พรรคเสรีรวมไทยชนะเลือกตั้งและพรรคเศรษฐกิจไทยแพ้เลือกตั้งมีหลายตัวแปร ดังนี้
ประการแรกผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคการเมืองอื่นไม่ได้ส่งลงสมัครแข่งขัน ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเหลือตัวเลือกจำกัด เพียง 3 คน ทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย อำเภอเสริมงาม, อำเภอเกาะคา, อำเภอสบปราบ, อำเภอเถิน และอำเภอแม่พริก(ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 161,378 คน)ไม่มีตัวเลือกอื่น จึงต้องมาพิจารณาตัวบุคคลมากกว่าความนิยมพรรคการเมือง
ประการที่สอง พื้นที่เดิม เขต 4 ลำปาง ฐานเสียงดั้งเดิมเป็นของพรรคเพื่อไทย(นายอิทธิรัตน์ จันทร์สุรินทร์ ) แต่เสียชีวิต แต่การเลือกตั้งซ่อมในปี 2563 นายพินิจ จันทร์สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ผู้เป็นบิดาไม่ได้ลงสมัคร ทำให้มีการแข่งขันจาก 5 พรรคการเมือง
ประกอบด้วย นายวัฒนา สิทธิวัง ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 1 ร.ต.ท.สมบูรณ์ กล้าผจญ พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 2 นายอำพล คำศรีวรรณ พรรคพลังท้องถิ่นไท หมายเลข 3 นายองอาจ สินอนันต์เศรษฐ์ พรรคไทรักธรรม หมายเลข 4 และ น.ส.ปทิตตา ชัยมูลชื่น พรรคเศรษฐกิจใหม่ หมายเลข 5 ผลการเลือกตั้ง นายวัฒนา สิทธิวัง พรรคพลังประชารัฐ ชนะการเลือกตั้ง
ประการที่สาม อายุสภาเหลือเวลาน้อยอยู่ในโค้งสุดท้าย ความเข้มข้นองคาพยพในการหาเสียงน้อยลง
ประการที่สี่ การเลือกตั้งซ่อมไม่ใช่เป็นตัวแทนระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับอนุรักษนิยม เพราะพรรคเศรษฐกิจไทยไม่ชัดเจนว่า เป็นตัวแทนฝ่ายใคร
ดร.ณัฎฐ์ กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เป็นการสะท้อนเทียบเคียงกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพราะคะแนนที่เทให้กับหมายเลข 1 พรรคเสรีรวมไทย เป็นเพราะคะแนนนิยมส่วนตัวและฐานเสียงพรรคเพื่อไทยเทคะแนนให้ หากมีตัวแทนพรรคพรรคการเมืองอื่นส่งลงแข่งขัน ผลคะแนนย่อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งพรรคเศรษฐกิจไทยประเดิมสนามแรก ประมาทเกินไป เพราะพรรคเศรษฐกิจไทย ไม่ใช่พรรคของคนล้านนา
ทั้งนี้ผลการเลือกตั้งซ่อมเขต 4 ลำปางยังไม่อาจชี้วัดความศรัทธาของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะไม่ใช่ตัวแทนของพลเอกประยุทธ์ฯ หรือพรรคพลังประชารัฐ ประกอบกับผลการเลือกตั้งเพียงเขตเดียวไม่อาจชี้วัดได้ประชาชนจะเลือกข้างเสรีประชาธิปไตยหรือต้องการความเปลี่ยนแปลงแต่อาจกระทบต่อพรรคเศรษฐกิจไทยโดยตรงเพราะแพ้ในฐานที่มั่นตนเอง
อีกทั้งการลงสมัครรับเลือกตั้งของตัวแทนพรรคเศรษฐกิจไทย กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใบเหลืองและศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้นายวัฒนา สิทธิวัง ลงสมัครรับเลือกตั้งรักษาแชมป์เก่า ไม่ได้ไปในนามตัวแทนฝ่ายพรรครัฐบาล แม้จะร่วมรัฐบาล แต่ยังไม่แน่ชัดว่า พรรคเศรษฐกิจไทย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รักษาการหัวหน้าพรรค จะเทคะแนนให้ฝ่ายรัฐบาลในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่
ดร.ณัฎฐ์ กล่าวต่อว่า การที่พรรคเศรษฐกิจไทยลาออกจากตัวแทนร่วมวิปรัฐบาล ถือว่าเป็นการลาออกจากพรรคร่วมรัฐบาล จะอ้างเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ มีผลดังนี้
(1)การลาออกจากพรรคร่วมรัฐบาลจะมีผลให้พรรคเศรษฐกิจไทยเป็นฝ่ายค้านทันที ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่มีฝ่ายค้านอิสระ เหมือน ส.ส.บางพรรคการเมืองที่ชอบแอบอ้าง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญให้อิสระในการปฎิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่ภายใต้ครอบงำของบุคคลใด แต่การถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาลไม่ตัดสิทธิ์ที่จะเข้าร่วมรัฐบาลได้อีกเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
(2)การโหวตเสียงในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคเศรษฐกิจไทยจะเทคะแนนเสียงให้ฝ่ายค้าน เมื่อนับคะแนนเสียง ไม่สามารถล้ม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ ส่วนรัฐมนตรีอื่นๆ อีก 10 คน คะแนนมากน้อยกันไป แต่ฟันธงไม่มีรัฐมนตรีใดตกเก้าอี้เพราะแพ้เสียงโหวต เพราะฝ่ายรัฐบาลกุมเสียงได้เบ็ดเสร็จ
(3)การตื่นตะหนกตกใจและเสียฟอร์มในการแพ้ศึกเลือกตั้งซ่อม เขต 4 ลำปาง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รีบชิงลาออกจากพรรคร่วมรัฐบาลโดยอ้างเหตุผลใดก็แล้วแต่ ไม่อาจแยกได้ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของประชาชนเรียกร้องประชาธิปไตยในการแยกปลาจากน้ำ ระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยมเพราะประชาธิปไตยแบบไทยๆ ใครเป็นผู้นำก็ได้ที่ไม่ทุจริตเชิงนโยบาย เพราะระบอบประชาธิปไตยและนโยบายเรียกว่า “ประชาธิปไตยกินได้” เน้นการแข่งขันด้านนโยบาย
(4)ผลการแพ้เลือกตั้งเขต 4 ลำปาง กระทบถึงความนิยมในพรรคเศรษฐกิจไทยโดยตรง จะทำให้ตัวแทนจากบ้านใหญ่ต่างๆ วิเคราะห์โอกาสชนะการเลือกตั้ง ย่อมอาจถอนตัว แต่ไม่ถึงกับพรรคแตก
(5)ในแง่กฎหมาย การร้องคัดค้านการเลือกตั้งของนายวัฒนา สิทธิวัง ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หมายเลข 3 พรรคเศรษฐกิจไทย กระบวนการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาด ต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วย การสืบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 มีหลายขั้นตอนและใช้ระยะเวลาพอควร
(6) ความศรัทธาในตัวผู้นำ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเข้ามาแก้ปัญหาประเทศชาติ กระแสนิยมอาจมาเทียบกับผู้นำการเมืองอื่นไม่ได้ แต่หากมองในความยั่งยืน การแก้ไขปัญหา การมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและเศรษฐกิจ และความเด็ดขาด คนไทยส่วนใหญ่ทุกภาคยังเชื่อมั่นในตัวผู้นำคนนี้ หากพิจารณาถึงโครงสร้างสถาบันทางการเมือง ยังมี สมาชิกวุฒิสภา 250 คนและมีสิทธิ์โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีประกอบกับสูตรหาร 500 คำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็ก ขนาดกลางฟื้นคืนชีพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีโอกาสกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
'อังกินันทน์' ชนะขาด! ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.เพชรบุรี'
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี (อย่างไม่เป็นทางการ) ณ เวลา 23.59 น. โดยนับครบแล้วทั้ง 734 หน่วยเลือกตั้ง
ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.อุดรธานี' อย่างไม่เป็นทางการ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี
โค่นแชมป์เก่า! 'วาริน' คว้าชัย 'นายก อบจ.เมืองคอน' ทิ้งห่าง 'กนกพร'
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช อย่างเป็นทางการ ประกาศว่า นางสาววาริน ชิณวงศ์ ผู้สมัครหมายเลข 2 จากทีมนครเข้มแข็ง
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ
“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป