“เก่ง-การุณ” ตอกกลับเพื่อไทย เผยไม่ศรัทธาผู้ใหญ่บางคนในพรรค คอยนั่งบัญชาการห้องแอร์ หวังเป็น รัฐมนตรี ซัด ไม่ให้ร่วมกิจกรรมพรรค แฉแหลก ส่งสก.ฝ่ายตรงข้ามลงในนามพท.
12 ก.ค.2565- นายการุณ โหสกุล ส.ส.ดอนเมือง กทม. พรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊ค เก่ง การุณ มีเนื้อหาว่า
วันนี้พรรคเพื่อไทย มีมติส่งผู้สมัครเขตดอนเมือง ที่ไม่ได้มีชื่อ “การุณ โหสกุล”ครับ
ผม ขอชี้แจงตรงไปตรงมากับพี่น้องดังนี้ครับ ผมยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตดอนเมือง สังกัดพรรคเพื่อไทย และยังเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยอยู่ครับ
ผมยังคงทำหน้าที่ในรัฐสภาในฐานะตัวแทนของคนดอนเมืองที่สังกัดพรรคเพื่อไทยอยู่ครับ
ผมยังทำหน้าที่โหวตผ่านร่างกฎหมายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด ผมไม่เคยโหวตสวน ไม่เคยรับกล้วย หรือยกมือให้กับเผด็จการหน้าไหนครับ
พี่น้องเขตดอนเมืองสอบถามผมมาด้วยความไม่สบายใจ รู้สึกอึดอัดใจ และเป็นห่วงผมหลายท่านยังถามย้ำกับผมอีกว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพฯ ครั้งที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยก็ส่งอดีตผู้สมัครฝ่ายตรงข้ามมาลงในนามพรรค
ดอนเมืองเป็นพื้นที่ ที่เป็นกำลังหลักกำลังสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย โดยเฉพาะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของ #คนเสื้อแดง ในกรุงเทพมหานครมาโดยตลอด แต่พรรคก็ยังมีมติส่งคนที่ยืนอยู่ตรงข้ามฝ่ายประชาธิปไตยมาลงสมัคร “ผมก็ได้แต่กัดลิ้นแล้วกลืนเลือดครับ”
วันนี้พรรคยังเลือกเปิดตัว ผู้สมัคร ส.ส.เขตดอนเมือง เป็นการเปิดตัวก่อน 21 เขตใน 33 เขต แล้วก็อย่างที่รู้กันครับว่าไม่ใช่ผม และก่อนหน้านี้ในคณะกรรมการพื้นที่กรุงเทพ ของพรรค ก็ไม่เคยเรียกผมไปพูดคุยหรือสอบถามอะไรเลย แต่เปิดตัวทั้งที่ผมยังมีตำแหน่งเป็น ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย เขตดอนเมือง
“ตามนั้นครับ!!”
ผมมองว่าการทำการเมืองเรื่องที่สำคัญที่สุดคือ “การให้เกียรติกัน” และ “การมีมารยาททางการเมือง” แต่สิ่งที่ผมได้รับมาตลอด หลังจากที่ประธานยุทธศาสตร์พรรคคนเก่าได้ลาออก ก็คือการ “ถูกเมิน” จากพรรค ไม่ถูกเรียกให้ไปทำกิจกรรมทางการเมืองใดๆของพรรค เพียงเพราะผมมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับท่าน
ผมมองว่าถ้าหากเราร่วมมือกันทุกฝ่ายจะทำให้ประเทศมันดีขึ้นได้ เป็นนักการเมือง จะอยู่ตรงไหนก็แล้วแต่ แต่ทุกคนต้องทำเพื่อประชาชน ส่วน
พรรคการเมืองก็ต้องเป็นสถาบันทางการเมือง ที่ต้องเป็นที่พึ่งที่หวังให้กับประชาชน สนับสนุนคนทำงานให้ได้ทำงาน ไม่ใช่ทำตามคำสั่งคนเพียงไม่กี่คน ที่บัญชาการอยู่ในห้องแอร์ แล้วปล่อยให้ ส.ส.พื้นที่ ต้องลงพื้นที่ทำงานอย่างหนักเพื่อแลกมาซึ่งคะแนนเสียงเพียงลำพัง
ในขณะที่ท่านๆรอเพียงรับตำแหน่งทางการเมือง ภาษาชาวบ้านก็เรียกว่า “รอเป็นรัฐมนตรีนั่นแหละครับ” แล้วใครที่ขัดหูขัดตาขวางท่าน ท่านก็ใช้วิธีเมินพวกเขา กดดัน ไม่เชิญประชุม ไม่ให้ร่วมกิจกรรมพรรค
ผมไม่ได้ต้องการจะโจมตีพรรคเพื่อไทย และผมยังคงศรัทธาในอุดมการณ์ของพรรค และพี่น้องโดยเฉพาะ ส.ส.เขต ที่ลงพื้นที่กันอย่างหนัก เพื่อรับใช้ประชาชนในทุกปัญหา รวมถึงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด “แต่ตัวผมไม่ศรัทธาผู้ใหญ่บางคน” ที่ไม่มีมารยาททางการเมืองครับ
มาถึงตรงนี้ผมขอน้อมรับคำตัดสิน ของผู้บริหารพรรคเพื่อไทย ที่ไม่ให้ผมไปต่อ แต่ “การุณ” คนนี้ขอยืนยันกับพี่น้องคนดอนเมืองครับ ว่าจะขอยืนหยัด เคียงข้างพี่น้อง ไม่ทิ้งพี่น้อง และจะอยู่กับฝ่ายประชาธิปไตยตลอดไป
ดอนเมืองไม่ทิ้งกัน #การุณไม่ทิ้งใคร.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
'ทักษิณ' ถึงเชียงใหม่ ช่วยหาเสียงนายก อบจ. 'สว.ก๊อง' คึกมั่นใจชนะล้านเปอร์เซ็นต์
'ทักษิณ' ถึงเชียงใหม่ 'เจ๊แดง-สมชาย-พิชัย' ต้อนรับ แวะกินก๋วยเตี๋ยวร้านมิชเชอร์ลิน 7 ปีซ้อน ก่อนช่วงเย็นขึ้นปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ. 'สว.ก๊อง' ลั่นมั่นใจล้านเปอร์เซ็นต์
'อิ๊งค์' ยิ้มร่ารับฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' แซวตัวเอง 'แพทองแพด' แฮปปี้ไม่เกลียดใคร
'นายกฯอิ๊งค์' ยิ้มแย้ม ไม่โกรธฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ขอมองมุมดี พ่อมีประสบการณ์เพียบช่วยหนุน หยอกสื่อกลับ 'แพทองแพด' ไม่ใช่แพทองโพย บอกไม่ค่อยเกลียดใครมันเหนื่อย แฮปปี้เข้าไว้
'เท้ง' ลุ้น! ฉายาผู้นำฝ่ายค้าน เมินตอบ 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง-แพทองโพย'
'เท้ง' ยิ้ม ปัดให้ความเห็น 'ฉายารัฐบาล-นายกฯ' บอกอยากฟังของตัวเองมากกว่า ชี้สื่อทำเนียบ-รัฐสภามีสิทธิ์ตั้งคำถาม พร้อมรับมาสะท้อนปรับปรุงการทำงาน
'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'
สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า