'คำนูณ' ชี้หาร 500 ควรทำตั้งแต่แก้รัฐธรรมนูญดึงดันโหวตสุดท้ายจบที่ศาล

'คำนูณ' เล่าเรื่องหาร 100 และหาร 500 ชี้หากโหวตเอาหาร 500 ก็เท่ากับใช้ระบบสัดส่วนผสมแบบไทยๆ โดยเข้าทางประตูหลัง ซึ่งไม่สง่างาม

06 ก.ค.2565 - นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กในรูปบทความเรื่อง “Backdoor MMP
ระบบสัดส่วนผสมแบบไทย ๆ เล่าเรื่องว่าด้วยหาร 100 หรือ 500” มีเนื้อหาว่า โดยส่วนตัว ไม่ได้เป็นทั้งฝ่ายหนุนหาร 100 หรือหนุนหาร 500 ในการคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่จะลงมติกันวันนี้ เมื่อสื่อมาสัมภาษณ์ผมก็เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้ในมุมมองของผมมันจบไปตั้งแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ประเด็นระบบเลือกตั้ง มีผลบังคับใช้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564 แล้ว ต้องหาร 100 เท่านั้น !

เพราะแทบทุกพรรคการเมืองในขณะนั้นเสนอแก้ไขระบบเลือกตั้งให้กลับไปใกล้เคียงกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่เรียกว่าระบบคู่ขนาน หรือ MMM - Mixed Member Majoritarian System ซึ่งผมลงมติคัดค้านไม่เห็นด้วยตั้งแต่วาระ 1 และชี้ให้เห็นว่าเป็นระบบสมนาคุณพรรคใหญ่

MMM แยกกันชัดเจนระหว่าง ส.ส.เขต กับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

การคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคแยกออกมาคำนวณเฉพาะในช่องจำนวนเต็ม 100 ของส.ส.บัญชีรายชื่อที่กำหนดให้มีเท่านั้น หาร 100 สถานเดียว ! จะไปเอา 500 ซึ่งเป็นจำนวนรวมของส.ส.ทั้ง 2 ระบบมาหารเพื่อหาจำนวนยอดรวมของส.ส.ทั้ง 2 ประเภทที่แต่ละพรรคจะได้รับจัดสรร หรือที่เรียกว่า ‘ส.ส.พึงมี’ แล้วหักจำนวนส.ส.เขตออก เติมส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเข้าไปให้ครบ ตามวิธีการของระบบสัดส่วนผสมหรือระบบเยอรมัน หรือ MMP - Mixed Member Proportional System หาได้ไม่

ประเทศไทยไม่เคยใช้ MMP มาก่อน ระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 เดิมก็เป็นระบบสัดส่วนผสมแบบบัตรใบเดียว จึงเรียกเสียใหม่ว่าระบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA - Mixed Member Apportionment System

MMP กับ MMA หารด้วย 500 เหมือนกัน มีจุดเด่นหรือหัวใจต่างกันนิดหน่อย MMP หัวใจคือได้สัดส่วนส.ส.ที่ถูกต้องตามที่ประชาชนเลือก MMA หัวใจคือทุกคะแนนเสียงไม่ตกน้ำ (ส่วน MMM ตามรัฐธรรมนูญ 2540 หัวใจคือการเมืองมีเสถียรภาพ เพราะมีพรรคน้อยพรรคในสภา และพรรคใหญ่มีเสียงมาก)

แต่ทั้ง 2 ระบบที่ใช้ 500 หาร ระบบหนึ่งคือ MMP ไม่เคยใช้ เคยแต่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรรมาธิการยกร่างฯชุดท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณที่สภาปฏิรูปแห่งชาติตีตกเมื่อสิงหาคม 2558 ส่วน MMA ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ฝีมือรังสรรค์ของกรรมการร่างฯชุดท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ก็ถูกแก้ไขยกเลิกไปแล้วเมื่อปี 2564

ในการแก้ไขเมื่อปี 2564 มาตรา 91 ใหม่ก็บัญญัติขัอความเฉพาะการคำนวณหา ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่มีการคำนวณหาส.ส.รวมทั้ง 2 ระบบที่แต่ละพรรคจะได้รับ หรือ ‘ส.ส.พึงมี’ แต่ประการใด

“ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศ แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรง กับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น” ขีดเส้นใต้ตรงประโยค ‘เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรง…’ นะครับ

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่กำหนดรายละเอียดจะมาลงลึกว่าหารด้วยอะไร ก็ว่ากันไป แต่ต้องอยู่ในกรอบนี้ โดยถ้อยคำแล้ว แม้จะดูเป็นนามธรรม แต่ก็อ่านได้ว่าต้องกำหนดให้หารด้วย 100 ไม่ใช่หารด้วย 500 เพื่อให้ออกมาเป็นส.ส.รวมทั้ง 2 ระบบของแต่ละพรรค หรือ ‘ส.ส.พึงมี’ ก่อน แล้วค่อยหักเอาส.ส.เขตออก เหลือเท่าไรจึงจะเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ ถ้าไม่เหลือก็ไม่ได้

ถ้าไปเขียนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอย่างนี้ ก็เหมือนไปย้อนเอามาตรา 91 เดิมของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ถูกแก้ไขไปแล้วกลับมาใหม่ โดยให้ไปอยู่ในมาตรา 23 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 128 ทำอย่างนี้ ผมไม่อาจปลงใจเห็นด้วย ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับ MMP หรือกับการหารด้วย 500 ตรงกันข้าม กลับเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ MMP เพราะผมเองก็เป็นคนหนึ่งในกรรมาธิการยกร่างฯชุดท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณที่พยายามผลักดันระบบนี้แต่ไม่สำเร็จ

แต่การจะสร้างระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม หรือ MMP ควรจะต้องเข้าทางประตูหน้าอย่างสง่าผ่าเผย ด้วยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มิใช่หรือ ? ไม่ใช่พา MMP เข้าทางประตูหลัง โดยนำข้อความจากรัฐธรรมนูญเก่าไปปรับใส่ไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายลำดับรองจากรัฐธรรมนูญ ! ถ้าผลโหวตออกมาว่าหาร 500 ชนะ จะเรียกว่าเป็น Backdoor MMP ก็ไม่น่าจะผิดความจริง !

และจะเรียกว่าเป็น ‘ระบบสัดส่วนผสมแบบไทย ๆ’ อีกสถานหนึ่งก็ไม่น่าจะผิดความจริงเช่นกัน เพราะระบบนี้ที่ต้นตำรับอยู่ที่เยอรมนีนั้นจะได้ผลดีต่อเมื่อสัดส่วนจำนวนส.ส.เขตกับส.ส.บัญชีรายชื่อต้องใกล้เคียงกัน หรือเท่ากันเลยยิ่งดี อาทิ 350 : 150 หรือ 300 : 200 หรือดีที่สุดคือ 250 : 250 แต่ของเรากำลังจะเริ่มใช้ระบบนี้โดยเข้าทางประตูหลังด้วยสัดส่วน 400 : 100 ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ทำนองหัวมังกุท้ายมังกรอย่างไรชอบกล จะะเลือกใช้ระบบเลือกตั้งแบบไหนก็ตาม ต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญตามสมควร ไม่ใช่มาบัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในลักษณะที่จะชวนให้เห็นว่าเป็นการย้อนแย้ง สุดท้ายเรื่องนี้คงไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

เปิดศึกชิงเก้าอี้ ประมุขสภาสูง เสร็จสว.นํ้าเงิน

ฝุ่นตลบ! ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ล็อบบี้กันเดือด "เทวฤทธิ์” ชี้ควรเป็นคนเปิดกว้าง ให้พื้นที่เสียงส่วนน้อย ยันกลุ่มพันธุ์ใหม่ส่งชิงแน่ พร้อมเล็งเก้าอี้ประธาน

'หมอเกศ' โผล่สภาแล้ว! ยิ้มแทนคำตอบ

พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้เดินทางเข้ามายังอาคารรัฐสภาฝั่งสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้สื่อข่าวบังเอิญไปเจอ พญ.เกศกมล ที่ห้องอาหารชั้น 1

'ดิเรกฤทธิ์' พ้อ! ไร้องค์กรตรวจสอบ กกต. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ 'เลือก สว.'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ประชาธิปไตยต้องไม่มีอำนาจใดไม่ถูกตรวจสอบ"

อึ้ง!ปดิพัทธ์บอกยุบ 'ก้าวไกล' แสดงว่าไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยส่งผลสภานานาชาติ

'ปดิพัทธ์' ยอมรับมีชื่อเป็น กก.บห.ก้าวไกล เสี่ยงพ้น สส. หากพรรคถูกยุบจริง แต่เชื่อมั่นว่าการสู้คดีมีน้ำหนัก ไม่เสียดายตำแหน่งรองประธานสภา ชี้งานที่หาเสียงไว้ทำได้หมดแล้ว

เลขาฯกกต. โต้ก้าวไกล ปมยื่นยุบพรรค

นายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต และนายทะเบียนพรรคการเมือง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว กล่าวถึงอำนาจ และการปฏิบัติหน้าที่ของกกต. เลขาฯกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมืองต่อกรณีการยื่นยุบพรรคการเมือง