
‘เรืองไกร’ ร้อง ‘ประธานสภาฯ’ สอบญัตติซักฟอกฝ่ายค้าน ชี้พิรุธวันเดียวกันมี 2 ฉบับ ผู้นำฝ่ายค้านก็รับสารภาพ ส่อฝ่าจริยธรรมร้ายแรง ขัดรัฐธรรมนูญ จ่อยื่น ป.ป.ช.ฟันด้วย
20 มิ.ย. 2565 – นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2566 เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี 11 คน ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 หรือไม่ สืบเนื่องจากข่าวการตรวจสอบญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล รวม 11 คน ของฝ่ายค้านว่าเป็นญัตติเถื่อนหรือไม่ เรื่องนี้เมื่อแสวงหาข้อเท็จจริงพบว่า ญัตติของฝ่ายค้านก่อนลงนาม มีสองฉบับ คือ ฉบับไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี 10 คน กับ ฉบับไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี 11 คน และทั้งสองฉบับ ลงวันที่ 15 มิ.ย. เหมือนกัน
นายเรืองไกร กล่าวว่า ญัตติที่ลงวันที่เดียวกันจึงเป็นพิรุธน่าสงสัย เพราะ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ไว้ส่วนหนึ่งว่า เมื่อเราเขียนญัตติเสร็จวันที่ 14 มิ.ย. รายชื่อของนายสุชาติ ยังไม่ได้เข้าไป บางพรรคก็เซ็นชื่อวันที่ 14 มิ.ย. และในวันที่ 15 มิ.ย. ก็มีการเก็บตกลายเซ็น ส.ส.ที่ต้องเข้าชื่ออีกครั้ง ในช่วงเวลา 11.00 น. ยังมีการแก้ไขญัตติอยู่ ก่อนที่จะยื่นญัตติต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในเวลา 13.00 น.
จากคำให้สัมภาษณ์ของ นพ.ชลน่าน ดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า ญัตติที่มีการเขียนเสร็จเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. แล้วก็ให้บางพรรคเซ็นชื่อในวันเดียวกันนั้น ยังไม่มีรายชื่อนายสุชาติ คำพูดที่ระบุว่า และในวันที่ 15 มิ.ย. ก็มีการเก็บตกลายเซ็น ส.ส. ที่ต้องเข้ามาอีกครั้ง ในช่วงเวลา 11.00 น. จึงทำให้เข้าใจได้ว่า การเก็บตกลายเซ็น ส.ส. ดังกล่าวนั้น เป็นการลงนามตามญัตติที่ทำเสร็จเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ซึ่งไม่มีชื่อนายสุชาติ
นายเรืองไกร กล่าวว่า ญัตติที่ยื่นต่อนายชวน เป็นญัตติที่มีรายชื่อรัฐมนตรีรวม 11 คน จึงน่าเชื่อว่าเป็นญัตติที่ทำขึ้นใหม่ ซึ่งมีการเพิ่มชื่อนายสุชาติเข้ามา แต่น่าจะใช้บัญชีรายชื่อเดิม ไม่ได้ทำขึ้นใหม่ เพราะ นพ.ชลน่าน ยอมรับสารภาพแล้วว่า ในช่วงเวลา 11.00 น. ยังมีการแก้ไขญัตติอยู่ ก่อนที่จะยื่นนายชวน ในเวลา 13.00 น.
ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า การที่ นพ.ชลน่านกล่าวว่ายังไม่มีชื่อนายสุชาติ จึงน่าเชื่อได้ว่ามีการเพิ่มชื่อนายสุขาติเข้ามา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ระหว่างเวลา 11.00 ถึง 13.00 น. ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากมี ส.ส. เซ็นชื่อในญัตติ 10 คน ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. ดังนั้น จึงมีเหตุที่ต้องตรวจสอบว่า ญัตติที่ทำขึ้นใหม่ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 หรือไม่
นายเรืองไกร กล่าวว่า การแก้ไขญัตติโดยเพิ่มรายชื่อเข้ามาใหม่ และยังมีการแก้ไขเนื้อหาอีกหลายที่ จนทำให้ญัตติฉบับ 10 คน ที่มีเพียง 4 แผ่น กลายเป็นญัตติฉบับ 11 คน ที่มี 5 แผ่น แต่ใช้รายชื่อ ส.ส. ที่ นพ.ชลน่านกล่าวว่าลงนามไว้เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. สำหรับญัตติ 10 คน มาแนบเป็นบัญชีแนบท้ายญัตติ 11 คน กรณีจึงมีเหตุต้องตรวจสอบว่า ญัตติที่ทำใหม่แต่ใช้รายชื่อที่แนบญัตติเก่ามาแนบนั้น ชอบหรือไม่
“เรื่องนี้น่าจะไม่ชอบ หากเทียบเคียงกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 หน้า 24 ที่ระบุว่า โดยไม่ปรากฏว่ามีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่แต่อย่างใด มีผลเท่ากับว่าการดำเนินการในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่รัฐสภารับหลักการตามคำร้องนี้ เป็นไปโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วรรคหนึ่ง (1)” นายเรืองไกร ระบุ
ส่วนกรณีญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี 11 คน ซึ่งยื่นประธานสภาฯ ไปแล้วตามเลขรับที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. เวลา 13.20 น. จึงน่าจะเป็นญัตติที่ทำขึ้นใหม่ แต่ใช้บัญชีรายชื่อที่ลงไว้เดิมมาเก็บตกแล้วนำมาเป็นบัญชีแนบท้ายญัตติฉบับที่ยื่นนายชวน จึงมีประเด็นปัญหาตามมาว่า ญัตติใหม่ที่ใช้รายชื่อที่ลงนามไว้เดิมมาแนบนั้นชอบหรือไม่ ซึ่งหากเทียบแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 15-18/2556 อาจจะทำให้ญัตติ 11 คน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 เพราะอาจถือเป็นญัตติที่ยังไม่มีบัญชีรายชื่อแนบท้ายนั่นเอง
ด้วยมูลเหตุข้างต้น จึงต้องร้องประธานสภา ให้ตรวจสอบญัตติฝ่ายค้านที่ยื่นอภิปรายรัฐมนตรี 11 คน ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 หรือไม่ และการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 (1) หรือไม่ และเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ข้อ 8 หรือไม่ เรื่องนี้จะยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดัชนีการเมืองไทย' หลังซักฟอก 'อิ๊งค์' เรตติ้งร่วง! 'เท้ง' แซง 10%
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมีนาคม 2568” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม)
เรืองไกร ร้อง ป.ป.ช. สอบ ‘ก่อแก้ว’ รวยผิดปกติ
เรืองไกร ร้อง ป.ป.ช. สอบบัญชีทรัพย์สิน ก่อแก้ว ที่เพิ่มขึ้นเข้าข่ายร่ำรวยผิดปกติ หรือไม่
จุลพงศ์-พรรคประชาชน เอ็กซ์เรย์ แผลอักเสบ นายกฯ ผิดจริยธรรม-นิติกรรมอำพราง
ถึงแม้ว่า"แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี"จะผ่านศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านไปได้ด้วยคะแนนเสียงโหวตไว้วางใจท่วมท้น 319 เสียง แต่ประเด็นข้อกล่าวของฝ่ายค้านที่ซักฟอกนายกฯกลางสภาฯ
ควันหลงซักฟอก 'อิ๊งค์' เสี่ยงขัดจริยธรรม ‘พรรคส้ม’ รุกฆาตหรือรอฮั้ว ‘พรรคแดง’
ภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติโหวตญัตติในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยคะแนนเสียงไว้วางใจ 319 ต่อ 162 เสียง
'สนธิญา' ยื่น กกต. สอบปม 'นายกฯอิ๊งค์-เท้ง' โต้กันนัวศึกซักฟอก คนนอกครอบงำพรรค
นายสนธิญา สวัสดี นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ยื่นหนังสือต่อกกต.เพื่อขอให้ตรวจสอบจากกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 -25 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวหาซึ่งกันและกัน ระหว่างน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน
'วิโรจน์' บุกสรรพากร บี้วินิจฉัยทางการ 'อิ๊งค์' ใช้ตั๋วPN ส่อเลี่ยงภาษีหรือไม่ จ่อเรียกอธิบดีแจงกมธ.
'วิโรจน์' บุกกรมสรรพากร สอบ 'นายกฯ' ใช้ตั๋ว P/N ซื้อขายหุ้นทิพย์ จี้วินิจฉัยเป็นทางการ-ลายลักษณ์อักษร หวั่น ปชช.ทำตาม กระทบระบบจัดเก็บภาษีประเทศ จ่อให้ กมธ.เศรษฐกิจ เรียก 'อธิบดี' แจง