15 มิ.ย.2565 - รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความเรื่อง "บำนาญประชาชน 3,000 บาท/เดือน : หนทางสู่หายนะทางการคลัง ลงในเฟซบุ๊ก Suvinai Pornavalai โดยมีรายละเอียดดังนี้
พรรคการเมืองหลายพรรคกำลังเสนอประเด็นนี้เพื่อหาเสียงเหมือนเช่นโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค”
หลักการและเหตุผลที่นำมาอ้างเท่าที่ตรวจสอบได้ก็คือ
(ก) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และ
(ข) ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน
หากจะให้พึ่งพาเบี้ยผู้สูงอายุก็อ้างว่าต่ำกว่าเส้นความยากจน ไม่พอเพียงในการดำรงชีพ (ตรรกะเหตุผลของคณะกรรมธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน)
ประเด็นสำคัญก็คือ บำนาญประชาชนเป็นเรื่องสวัสดิการที่รัฐต้องจัดให้หรือไม่ ?
เท่าที่ตรวจสอบในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ไม่ได้ระบุเอาไว้ว่าเป็นสิทธิของประชาชนหรือเป็นหน้าที่ของรัฐที่พึงจัดหาให้แต่อย่างใด
เพราะโดยหลักการแล้ว บำนาญเป็นเรื่องการออมส่วนบุคคล
ผู้ที่จะรับบำนาญต้องอดออมด้วย “เงินตนเอง” ส่วนจะมีใครช่วยสมทบเงินออมด้วย เช่น นายจ้างหรือรัฐบาล ก็อีกเรื่องหนึ่ง
บำนาญจึงไม่ใช่ “สวัสดิการสังคม” เหมือนอย่างโครงการประกันสุขภาพเช่น “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งที่จริงก็ผิดฝาผิดตัวมาตั้งแต่หลักการเหมือนกัน
ผู้ที่ได้รับบำนาญในสังคมไทยปัจจุบันล้วนต้องออมก่อนเท่านั้น แม้แต่บำนาญของ สส.สว. ก็เช่นกัน ต้องออมส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณ
ส่วนข้าราชการนั้นแม้จะมิได้ส่งเงินออมอย่างเป็นรูปธรรมโดยชัดแจ้ง แต่ก็แฝงอยู่ในเงินเดือนที่รับต่ำกว่าภาคเอกชนมาโดยตลอด
เงินบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องล่อใจให้คนเข้ารับราชการและเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการจ้างงานตั้งแต่เข้าทำงาน
หากฝ่ายการเมืองนำประเด็นนี้มาหาเสียงว่าจะทำโดยเอาอำนาจจากหีบบัตรเลือกตั้งมาฝืนหลักการ
ประเด็นที่ไปต่อได้ลำบากก็คือ ระบบบำนาญที่ดีนั้น เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งก็คือ แหล่งที่มาของเงินจะต้อง “พอเพียง” ที่จะทำให้ “ยั่งยืน” รองรับรายจ่ายบำนาญที่จะเกิดขึ้น
ประเทศไทยกำลังเป็น สังคมแก่ก่อนรวย ผิดกับญี่ปุ่นหรืออีกหลายประเทศที่ รวยก่อนแก่
คนแก่ที่ยากจนมันแย่กว่าคนจนที่ไม่แก่เพราะคนหนุ่มสาวยังไปหางานทำแก้จนได้ ประชากรคนแก่ที่เพิ่มสัดส่วนขึ้นเรื่อยๆเช่นไทยหากฝ่ายการเมืองอุตริทำอะไรอุบาทว์เช่นนี้ ภาระการเงินจะตกอยู่กับประชาชนโดยถ้วนหน้าอย่างแน่นอน
ในปีพ.ศ. 2563 มีคนแก่ประมาณ 12 ล้านคน ถ้าทุกคนได้เงินบำนาญ 3,000 บ/เดือน หรือ 36,000 บาท/ปี ฟรีโดยไม่ต้องส่งเงินสมทบ รัฐจะต้องจ่ายเงินกว่า 432,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่เก็บได้ทั้งหมดหรือเท่าๆกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้ทั้งปี!
โดยที่งบรายจ่ายประจำส่วนนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนคนแก่ที่เพิ่มขึ้น เช่นในอีก 10 ปีข้างหน้าจะต้องมีรายจ่ายประจำส่วนนี้ถึงกว่า 6 แสนล้านบาทต่อปี ทำให้เหลือเงินไปใช้อย่างอื่นน้อยลงไปเรื่อยๆ
อะไรคือทางออก ?
ถ้าคิดแบบที่นักการเมืองอุตริคิดโครงการนี้คือให้ฟรีแบบถ้วนหน้า มันไปไม่ไหวแน่นอน !
ทางแก้ถ้าประชาชนอยากจะมีบำนาญ ก็ต้องเริ่มที่ต้นตอ คือต้องออมสำหรับพวกที่ยังไม่เกษียณจะด้วยภาคบังคับ/สมัครใจก็ตามแต่การให้ฟรียิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ
ส่วนพวกที่เกษียณแล้วอาจต้องออมหรือรับภาระโดยลูกหลานแทนเพราะกว่าลูกจะโตมาก็ต้องอาศัยพ่อแม่เลี้ยงดูจะมาผลักเป็นภาระรัฐทั้งหมดก็คงไม่ได้
ขนบที่เป็นสถาบันในเรื่อง “กตัญญ” จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แนวคิดอุบาทว์แบบว่า “พ่อแม่ทำให้กูเกิดมาดังนั้นพ่อแม่จึงต้องเลี้ยงดูพวกกู” อย่างนี้เวลาพ่อแม่แก่หรือตัวเองแก่แล้วใครจะเป็น safety netให้?
การใช้เส้นความยากจนมาเป็นบรรทัดฐานเรื่องความพอเพียงด้านสวัสดิการมันสะท้อนถึงพื้นฐานแนวคิดที่อ่อนด้อยด้านวิชาการของนักการเมืองและมุ่งจะเอาชนะทางการเมืองโดยไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศชาติ
อย่าลืมว่าความยากจนด้านอาหาร (food poverty line) นั้นรัฐดูแลอยู่แล้วอย่างน้อยที่สุดผ่านโครงการประกันสุขภาพและเบี้ยผู้สูงอายุ ทำให้กล่าวได้ว่าไม่มีการขาดสารอาหารจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้
ส่วนที่ไม่ใช่ความยากจนด้านอาหารที่มักวัดเป็นตัวเงินนั้นมันเป็นความจนเชิงเปรียบเทียบ ดังนั้นจึงมิใช่ความยากจนที่แท้จริง จะให้รัฐแก้ไขส่วนนี้ไปได้อย่างไร เศรษฐีเงินล้านที่ยังคิดว่าตัวเองจนอยู่ก็มีจริง !
ดังนั้นการที่นักการเมืองและพรรคการเมืองจะเอาเงินของประเทศที่มาจากภาษีไปจ่ายเป็นบำนาญสำหรับคนแก่เพื่อเป็นบำนาญแบบถ้วนหน้า มันจะไม่เรียกว่า “หายนะทางการคลัง” ที่มองเห็นอยู่ตำตาได้อย่างไร?
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบำนาญประชาชน 3,000 บาท เป็นนโยบายหลักเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ของพรรคไทยสร้างไทย ที่มีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานยุทธสตร์พรรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'รวมแผ่นดิน' เปลี่ยนชื่อใหม่พรรคก้าวอิสระ 'มาดามหยก' นั่งหัวหน้า 'แว่น สิริรัตน์' โฆษก
นายมาโนช อุณหกาญจน์กิจ รองหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน เป็นประธานจัดการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2567 สืบเนื่องจาก นายมนตรี พรมวัน ลาออกจากหัวหน้าพรรค เพื่อไปลงเลือกตั้งท้องถิ่น ทำให้ต้องมีการประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค
'แพทองธาร' นำประชุมใหญ่สามัญเพื่อไทย 19 พ.ย. ยังไม่ปรับโครงสร้างพรรค
พรรคเพื่อไทย (พท.) มีกำหนดการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 พรรค พท. เพื่อรับรองผลการดำเนินงานของพรรค ตามกฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ด้อมส้วมดิ้น! 'เพนกวิน' ย้อนพรรคส้ม ไม่ควรฟ้องปิดปากประชาชน
นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งหลบหนีออกไปต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาชนประกาศว่า จะดำเนินการฟ้องร้องประชาชน
ราชกิจจาฯ ประกาศ 'พรรคเพื่อประชาชน' สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง พรรคเพื่อประชาชนสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
อึ้ง! ปชช. 57% ไม่เชื่อมั่นฝ่ายค้าน 'ไหม' โดดเด่นสุด 'เท้ง' รั้งอันดับ 9 'ป้อม' บ๊วย
โพลชี้ 'ศิริกัญญา' โดดเด่นสุด สส.ฝ่ายค้าน แซง 'หัวหน้าเท้ง' อยู่อันดับ 9 ตามคาด 'ลุงป้อม' รั้งท้าย อึ้ง! ประชาชนไม่เชื่อมั่นการทำงานฝ่ายค้านกว่า 57%