งบประมาณปี 66 กับ ความคาดหวังฟื้นประเทศ
5 มิ.ย. 2565 – นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง งบประมาณปี 66 กับ ความคาดหวังฟื้นประเทศ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,126 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 3 – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 ต้องการให้ข้าราชการ ที่มีหน้าที่ใช้งบประมาณ ไม่ทุจริต โปร่งใส ขยันทำงานเพื่อประชาชน ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือนำเงินเข้ากระเป๋าตนเองจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.6 ต้องการให้นำเงินงบประมาณไปใช้ ประหยัด โปร่งใส คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 ไม่ต้องการให้นำเรื่อง งบประมาณของประเทศ มาเป็นเกมกดดันหรือต่อรองประโยชน์ทางการเมือง ร้อยละ 86.5 เห็นด้วยกับการเมืองระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กลไกรัฐสภาในการทำงานเพื่อประชาชน ดีกว่าการนำมวลชนลงถนน ร้อยละ 85.4 ระบุมียังมีนักการเมืองแบบเก่า อภิปรายไม่สร้างสรรค์ จับสาระไม่ได้ ตั้งใจเสียดสีและบิดเบือน สร้างความเข้าใจผิดในสังคม และร้อยละ 80.1 ระบุ ภาพรวม การอภิปรายงบประมาณ ปี 2566 ดีขึ้นเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีข้อสังเกตและเสนอแนะทางนโยบาย ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 มีความหวังว่า หลังผ่านงบประมาณ ปี 66 จะทำให้มีเงินเข้าระบบมาพัฒนา ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังผ่านวิกฤตโควิด -19 และเปิดประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 19.4 ไม่มีความหวัง อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 ยังเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะนำเงินไปใช้พัฒนาประเทศให้มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ไม่เชื่อมั่น
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้ชี้ให้เห็นความคาดหวังและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ต้องการเห็นข้าราชการใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุจริต โปร่งใส ปราศจากคอร์รัปชัน ไม่แปลงเงินเข้ากระเป๋าและเป็นเครื่องมือหาทุนทางการเมือง บั่นทอนประโยชน์สังคมและสร้างความเดือดร้อนประชาชน โดยต้องการนำงบประมาณไปใช้ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ประหยัด โปร่งใสคุ้มค่าภาษี เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ และไม่ต้องการให้นำเรื่องงบประมาณของประเทศ เป็นเกมทางการเมือง
นอกจากนี้ ควันหลงจากการอภิปรายงบประมาณครั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการเมืองระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กลไกลรัฐสภาทำงานเพื่อประชาชน ดีกว่าการนำมวลชนลงถนน โดยภาพรวมการอภิปรายงบประมาณ ปี 66 เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ ขณะที่ส่วนใหญ่ ก็ยังเห็นนักการเมืองแบบเก่า ที่ไม่สร้างสรรค์และพัฒนาตนเอง ตั้งใจบิดเบือน เสียดสี สร้างความขัดแย้งและสับสนในสังคม
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความหวัง หลังผ่านงบประมาณ จะทำให้มีเงินเข้าระบบพัฒนาทันการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 และเปิดประเทศ และเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะนำเงินไปใช้พัฒนาประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากรัฐบาลและส่วนราชการ นำข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากการอภิปราย ไปปรับเสริมนโยบายตอบสนองความต้องการของประชาชน และภาคการเมืองและประชาชน มีส่วนร่วมกันตรวจสอบและสะท้อนความต้องการไปพร้อมกัน จะทำให้การใช้จ่ายงบประมาณตรงเป้าสามารถตอบโจทย์ของประเทศและประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ
โพลหวังอิ๊งค์เร่งแก้ปากท้อง
โพล 2 สำนักประสานเสียง คนส่วนใหญ่หนุน “แพทองธาร” หวังแก้ปัญหาปากท้องโดยด่วน
'ซูเปอร์โพล' เผยประชาชน 51.7% เชื่อมั่นนายกฯ 'อุ๊งอิ๊ง'
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่น ต่อ นายกรัฐมนตรี คนใหม่ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)