‘อนุทิน’ ขอฝ่ายค้านไม่ชอบรัฐมนตรีคนไหน ให้ใช้เวทีซักฟอก ไม่ใช่พรบ.งบฯ66

‘หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย’ การันตี 65 เสียง ยกมือฉลุยผ่านร่างพ.ร.บ.งบฯ66 ย้ำงบเป็นเรื่องปชช.ชี้ไม่ชอบใจใครให้ใช้เวทีซักฟอก

30 พ.ค.2565-นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย(ภท.) กล่าวถึงการอภิปรายร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ที่ฝ่ายค้านขู่จะโหวตคว่ำว่า พรรคภูมิใจไทยไม่มี รับประกันเสียง 65 เสียงของพรรคภูมิใจไทย เรื่องฝ่ายค้านขู่คว่ำก็เป็นกระบวนการประชาธิปไตย

ถามว่าจะไม่รุนแรง จนถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุกับรัฐบาลในสมัยประชุมนี้ ที่จะมีการพิจารณาทั้งเรื่องงบประมาณ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายอนุทิน กล่าวว่า การจัดทำงบประมาณไม่ใช่ที่เรื่องรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี จัดทำ แต่ทุกอย่างเริ่มจากความต้องการของประชาชนผ่านการกลั่นกรองจากข้าราชการประจำ ส่วนครม.มีหน้าที่พิจารณาและส่งต่อไปยังสภา

ซักว่า มองอย่างไรที่ฝ่ายค้านพยายามเล่นเกมการเมืองกับเรื่องงบประมาณ หัวหน้าพรรค ภท. กล่าวว่า ถ้าฝ่ายค้านเห็นว่ารัฐมนตรีคนไหน ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เหมาะสมหรือมีการทุจริต ควรไปใช้วาระในการอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิปรายที่ตัวรัฐมนตรีโดยตรง แต่เรื่องงบประมาณ ถ้าร่างพ.ร.บ.งบประมาณ มีปัญหา เป็นอย่างมากเพราะจะมีผลต่อการนำงบประมาณมาใช้

ผู้สื่อข่าวถามกังวลหรือไม่ ที่งบของกระทรวงสาธารณสุข ถูกจัดสรรให้อยู่ในลำดับท้ายๆ นายอนุทิน กล่าวว่า เราได้พิจารณาในเรื่องนี้และเห็นว่ายังมีอีกหลายขั้นตอนในขั้นการแปรญัตติ และงบที่ได้มาเราจะดำเนินการใช้งบที่ได้รับจัดสรรให้เกิดประโยชน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' เผย 'วัน อยู่บำรุง' มีพรรคสังกัดแล้ว ลุ้นนั่งเก้าอี้ผู้ช่วยรมต.มหาดไทย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายวัน อยู่บำรุง ระบุตนเป็นหนึ่งในบุคคลที่รักและเคารพว่า นายอนุทิน อุทานว่า "โอ้โห้ ผมรู้จักกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

เอาแล้ว! สส.รัฐบาลยังโวยกลางสภาไม่เอา 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' ขอ 'ไร่ละพัน' กลับคืน

เอาแล้ว!!! สส.ฝ่ายรัฐบาล “ภท.-พท.” หารือกลางสภาฯ ออกโรงต้าน ชี้ ชาวนาร้องยี้ 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' ขอคง 'ไร่ละพัน' ไว้เหมือนเดิม

'พริษฐ์' อภิปรายปิด ซัดเพื่อไทยทำนโยบายไม่ตรงหาเสียง

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายสรุปว่า โครงการเติมเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ตนั้นได้ไม่คุ้มเสีย และเต็มไปด้วยคำถาม อาทิ การกำหนดเงื่อนไขที่กีดกันผู้ค้ารายย่อย ไม่นำไปสู่การลงทุนระยะยาวที่มีตัวคูณเศรษฐกิจที่สูงกว่า