22 พ.ค.2565 – ที่อาคาร ESV TOWER พหลโยธิน 9 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลกทม. พร้อมนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับชัยชนะ และขอขอบคุณกับทุกคะแแนนเสียงที่มอบให้นายสุชัชวีร์ ซึ่งผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็เป็นเรื่องปกติที่มีแพ้ชนะและไม่ว่าเราจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ เราก็จะนำทุกคะแนนไปพิจารณาว่าเราได้รับเลือกตั้งเพราะอะไร หรือไม่ได้รับเลือกตั้งเพราะอะไร ซึ่งทำไปทำการศึกษาวิจัยเป็นหลักวิชาการ เพราะเราไม่สามารถเอาความรู้สึกนึกคิดของเราไปตัดสินได้ว่าประชาชนลงคะแนนเพราะอะไร และจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการเพื่อนำมาปรับปรุงในการเลือกตั้งครั้งต่อไปเพื่อให้ตรงกับสิ่งที่ประชาชนต้องการมากที่สุด
เมื่อถามว่า ทางพรรคมีการวางอนาคตทางการเมืองของนายสุชชัชวีร์อย่างไร นายองอาจ กล่าวว่า คงไม่ได้วางใครอย่างไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายสุชัชวีร์ เป็นส่วนสำคัญ พรรคพร้อมที่จะเปิดรอคนดี คนมีความรู้ ความสามารถมาทำงาน ทั้งนี้การแข่งขันทางการเมืองแต่ละพรรคการเมืองก็ต้องพยายามสรรหาบุคลากร ที่เหมาะสมที่สุด ดีที่สุดมาช่วยกันทำงาน และจะพยายามหานโยบายที่เป็นที่พึงพอใจของประชาชน ซึ่งกรณีของนายสุชัชวีร์ พรรคก็ต้องประชุมกัน เพราะงานการเมืองมีหลายเรื่องที่สามารถทำได้ อยู่ที่ว่าสนใจจะทำงานอะไร
เมื่อถามว่ากังวลว่ากระแสความนิยมในกทม.จะกระทบกับการเลือกตั้งในภาพใหญ่ หรือไม่ นายองอาจ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นปัจจัยทั้งหมด เราอยู่กับการเมืองกรุงเทพฯ มา 30 กว่าปี จะเห็นว่าการเลือกตั้งท้องถิ่น กับการเลือกตั้งระดับชาติ กทม.ก็มีนัยยะที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ในความเป็นจริงอาจจะมีความสัมพันธ์บ้างบางส่วน ซึ่งพิสูจน์แล้วหลายครั้ง เวลาเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ชาวกทม.จะเลือกคนที่มีความเหมาะสมที่สุดในขณะนั้นมาทำหน้าที่เป็นผู้ว่าฯกทม. แต่เวลาเลือกตั้งระดับชาติ ชาวกทม.จะตัดสินใจอีกลักษณะหนึ่ง เช่น กรณีที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เป็นครั้งแรก แต่หลังจากนั้น 6 เดือน การเลือกตั้งส.ส.ในกทม. พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ชนะ
เมื่อถามว่า กังวลว่าจะมีแรงส่งต่อการเมืองภาพใหญ่หรือไม่ กล่าวว่า อยู่ที่พี่น้องประชาชนจะตัดสินใจ เราไม่สามารถคาดการณ์หรือตัดสินใจแทนประชาชน ได้ ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งประชาชนจะตัดสินใจอย่างไร และการเลือกตั้งแต่ละครั้งมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวประกอบ มีหลายตัวแปรที่อาจจะทำให้คนภายนอกคาดคิดเอาไว้ได้ แต่กลับไม่เหมือนสิ่งที่ประชาชนคิด จริง ๆ แล้วการตัดสินใจของพี่น้องประชาชนชาวกทม.เป็นเสรีภาพที่จะตัดสินใจในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ดร.เสรี ฟันธง 'พรรคเพื่อไทย' คือต้นตอทำให้ 'พรรคประชาชน' ชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า
ที่ปรึกษาของนายกฯ โผล่ทำเนียบฯ สแกนแล้วไม่มีม็อบการเมือง มีแต่ม็อบปากท้อง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงได้มีโอกาสเข้ามาที่ทำเนียบฯหลายครั้งเพื่อมาพูดคุยกับทีมงาน แต่ยัง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 33): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ
'เทพไท' อัดพรรคเพื่อไทย ตระบัดสัตย์ซ้ำซาก!
มีหลายคนรู้สึกแปลกใจกับผลการลงมติวาระรับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการออ