8 ปี รัฐประหาร “สาทิตย์” ยัน ไม่เสียใจ ไม่ขอโทษ ชนวนเกิดรัฐประหาร ลั่นไม่ใช่คนดัดจริต หวดกลับเพื่อไทย ชี้หน้าโทษคนอื่นไม่ดูตัวเอง สร้างเงื่อนไขความรุนแรง
22 พ.ค.2565 – นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ แกนนำ กปปส. กล่าวว่า ครบรอบเกิดรัฐประหาร 8 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์นั้นมีความซับซ้อนและถูกบิดเบือนกันหลายเรื่อง เช่น ที่ตนเองติดตามผู้ที่ออกมาพูดถึง 8 ปี รัฐประหาร อย่างที่คุณยิ่งลักษณ์ออกมาโพสต์เฟสบุ๊ก หรือกลุ่มเสื้อแดงเก่าแก่บางส่วน หรือกลุ่มที่พยายามจะบิดเบือนให้ร้ายหัวหน้าประชาชน กปปส.ที่ออกมาต่อสู้กับกฎหมายนิรโทษกรรมในช่วงนั้น ตนเองมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ คุณยิ่งลักษณ์บอกว่าเป็นการขับไล่รัฐบาลผ่านการชัตดาวส์กรุงเทพ ซึ่งตนเองถือว่าเป็นคำพูดที่บิดเบือน เหตุผลของการลุกขึ้นมาต่อสู้กับหัวหน้าประชาชนกับการรัฐประหารเป็นคนละเรื่องกัน การลุกขึ้นมาสู้ของมวลมหาประชาชนคือสู้กับกฎหมายนิรโทษกรรมล้างผิดคนโกง
“ผมมองว่าคนที่มีด้วยจิตวิญญาณของการต่อสู้เพื่อการเรียกร้องให้ความเป็นธรรมกับประเทศไทยและไม่ต้องการเห็นการล้างผิดให้คนโกงออกมาต่อสู้ด้วยสติ จะยืนยันได้ว่าการต่อสู้ครั้งนั้นเป็นการต่อสู้ที่ถูกต้อง แต่ขบวนการการต่อสู้ 204 วัน มันมีกลุ่มคนชั่ว กลุ่มคนเสื้อดำและโยงไปกลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนออกมาใช้อาวุธเข่นฆ่าประชาชนผู้ชุมชน โดยใช้ M 79 ใช้ระเบิด ใช้ปืน จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเสียชีวิตที่ราชดำเนิน มีคนเสียชีวิต มีคนบาดเจ็บกว่า1,000 คน นี่เป็นข้อเท็จจริงที่บิดเบือนไม่ได้ การต่อสู้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ในแง่ว่ากฎหมายนิรโทษกรรมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่การต่อสู้นั้นบานปลายไปสู่เรื่องการขับไล่รัฐบาล ซึ่งเป็นคนของระบอบทักษิณและรัฐบาลชุดนั้นไม่ยอมที่จะเอากฎหมายนิรโทษกรรมออกไปจากระบบรัฐสภา แต่การรัฐประหารถูกบิดเบือนว่า กลุ่มผู้ชุมนุมไปกวักมือเรียก ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่ คนที่กวักมือเรียกทหารเข้ามาปฏิวัติ คือ กลุ่มติดอาวุธที่ไปยิงไปเข่นฆ่าประชาชนซึ่งมาต่อสู้ด้วยมือเปล่า ที่เป็นคนสร้างเงื่อนไขให้ทหารเข้ามาปฏิวัติได้” นายสาทิตย์ กล่าว
นายสาทิตย์ ระบุด้วยว่า ลองหลับตานึกดูว่าถ้ามีการต่อสู้ตามปกติมีคนมาชุมนุมเต็มท้องถนน กลุ่มมวลมหาประชาชนยึดสันติอหิงสาไม่สร้างความรุนแรงอยู่แล้ว เมื่อไม่มีเหตุร้ายทหารก็ไม่มีเหตุที่ต้องมาปฏิวัติ เหตุปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะกลุ่มคนชั่ว ใครจะอยู่เบื้องหลังนั้นตนเองไม่ทราบเป็นคนเอาอาวุธมาเข่นฆ่าประชาชน คนเจ็บ คนตาย ทหารเห็นว่านี่เป็นสถานการณ์ความมั่นคงจึงออกมารัฐประหาร ซึ่งถ้าเข้าใจประเด็นเหล่านี้แล้ว มันก็สามารถแยกได้ระหว่างเจตนารมณ์ของการต่อสู้ ซึ่งตนเองมองว่าเจตนารมณ์นี้เป็นเจตนารมณ์ที่ถูกต้อง
“ผมเป็นคนหนึ่ง ผมยืนยัน ว่าถ้าให้ออกมาต่อสู้ต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมผมก็ทำ ผมก็สู้ ส่วนคนที่ออกมาเที่ยวขอโทษว่าเคยชุมนุม ผมมองว่าดัดจริต เป็นคนดัดจริต เพราะตอนที่คุณออกไปต่อสู้คุณต้องไปด้วยสติสามัญสำนึกว่าคุณทำเพื่ออะไร และถ้าคุณออกมาด้วยสติคุณไปด้วยสามัญสำนึกของการต่อสู้คุณจะรู้ว่าคุณทำเพื่อบ้านเมือง เพราะเป็นการต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมล้างผิดคนโกง เหตุการณ์มาพูดที่หลังเป็นการขายตัว ขายจิตวิญญาณ แล้วโยนบาป โยนความผิดให้ กปปส. ส่วนเหตุการณ์รัฐประหารที่เกิดขึ้นพวกคนติดอาวุธใช้อาวุธฆ่าคนสร้างเงื่อนไขแล้วแถมปฏิวัติ ปัญหารัฐประหารก็คือว่า ประกาศว่าต้องมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง โดยผ่านรัฐธรรมนูญ ปี 2560” นายสาทิตย์ ระบุ
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาคือตัวรัฐธรรมนูญไม่ออก มีตัวบทกฎหมายแนวคิดเจตนารมณ์หลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กฎเกณฑ์กติกาของนักการเมืองมีความเข้มงวดมากขึ้น เรื่องของการทุจริตปราบโกง แต่ถามว่า 8 ปีที่ผ่านมามันดีขึ้นหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการมองแบบมีมิติ ถ้ามองแบบมิติการเมืองตนเองมองว่าหลายคนที่ติดชะงักเรื่องการเมืองโดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลายคนลงเลือกตั้งไม่ได้ ก็เป็นการกันคนส่วนหนึ่งเคยทุจริต เคยโดนตัดสิทธิทางการเมือง ฯลฯ ออกไปจากนอกระบบ แต่การทุจริตการโกงมันมีความซับซ้อนมีการพัฒนามากขึ้น ก็สามารถจัดการได้ระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นถามว่ามันดีขึ้นหรือไม่ มันดีขึ้นบางจุด แต่บางจุดบริบทปัญหามันเปลี่ยนแปลงไปก็ต้องแก้ไข หลายคนก็โยน เช่นพรรคเพื่อไทยบอกว่าคนจนลง เศรษฐกิจมีปัญหา ก็อย่าลืมว่าหลังรัฐประหารไม่ใช่รัฐประหารล้วน ๆ มีโควิดเข้ามาด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งพรรคที่ได้ก็เป็นพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรคทำงานร่วมกัน ก็ยอมรับว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจริง ปัญหาคนจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำก็มีอยู่จริง ซึ่งหลายเรื่องก็ไม่ตรงจุด
“แต่จะไปโทษรัฐประหารทั้งหมดเสมือนว่ารัฐประหารเป็นคนทำ มาถึงจุดนี้ผมว่าต้องคิดกลับไปด้วยว่าเงื่อนไขออกกฎนิรโทษกรรมคือใคร คุณยิ่งลักษณ์ก็มีส่วน คุณทักษิณก็มีส่วน คนเสื้อแดงก็มีส่วน พรรคเพื่อไทยก็มีส่วน อย่าโยนความผิดให้รัฐประหารอย่างเดียวเพราะตัวเองก็มีส่วนที่ทำให้เกิดขึ้นด้วย ในฐานะคนไทยผมคิดว่าเราต้องมองเหตุการณ์ตามความเป็นจริง ปัญหาที่มันทับโถมมาทีหลังอย่างโควิด ใครมาเป็นรัฐบาลมันก็เหนื่อย ซึ่งก็เหนื่อยกันทุกประเทศทั่วโลก แต่สิ่งที่รัฐบาลสัญญาไว้กับประชาชนหลายๆอย่างอาจจะทำได้ไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นการเมืองมาถึงจุดสุดท้ายมันใกล้จะหมดวาระที่ต้องทำการเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องตัดสินใจ” นายสาทิตย์ ระบุ
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้มองว่าคนที่โทษว่าประเทศไทยเสียหายขนาดนี้ก็รัฐประหารอย่างเดียว ชี้หน้าโทษแต่คนอื่นแต่ไม่เคยมองตัวเอง เป็นพรรคเพื่อไทย คุณไม่เคยมองว่าคุณคือเงื่อนไขของการเกิดปัญหาสถานการณ์ความรุนแรง และกลุ่มคนเสื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนเสื้อดำที่ติดอาวุธปฏิเสธไม่ได้เพราะในรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อค้นหาความจริงชุดอาจารย์คณิต ณ นคร ก็ระบุคนกลุ่มเสื้อดำมีอาวุธชัดเจนมีภาพปรากฏชัด นั่นก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
“ผมเห็นคนเสื้อแดงประชุมรำลึกที่ราชประสงค์ก็โยนความผิดให้นายอภิสิทธิ์ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ก็เข้ามาเป็นนายกในกระบวนการรัฐสภา แต่คนเสื้อแดงก็เลือกที่จะเอามาชุมนุม มีเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองจริง จะไปอ้างอย่างอื่นก็ไม่ได้เพราะไฟติดเสียหายจริง จากเหตุการณ์ที่ กปปส. ชุมนุมในวันนั้นผมไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร ส่วนตัวผมคิดว่าหากมีคนออกมาหลายๆ คนรัฐบาลคงจะยอมลาออกไปผมเชื่อแบบนั้น” นายสาทิตย์ ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สั่ง สคบ. คุมเข้มกระเช้าปีใหม่ 'ตรงปก-สินค้าครบ-ราคาชัด'
'จิราพร' สั่ง สคบ. คุมเข้มกระเช้าของขวัญปีใหม่ ต้องตรงปกสินค้าครบราคาชัด ตัดตอนผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค
‘หมอวรงค์’ เตือน ‘โบว์ณัฏฐา’ ใช้ข้อมูลผิดๆปกป้อง ‘ทักษิณ’
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #เตือนคุณโบว์
'ทวีไอพี สอดไส้' ยิ้มรับฉายาใหม่! แก้ข่าว 'ทักษิณ' แข็งแรงไม่เหมือนผู้ป่วย ภายนอกอาจใช่ แต่ภายในอาจป่วย
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ว่า ต้องขอบคุณในฐานะที่ตนเป็นบุคคลสาธารณะ แต่
ทักษิณจ่อพบอันวาร์ในไทย
"ทักษิณ" ยันเตรียมพบ "อันวาร์" กำลังรอคอนเฟิร์ม
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
‘กนก’ สะท้อน ปัญหาความยุติธรรมโดยกฎหมาย บังคับใช้ กม.มากกว่าตัวบทของ กม.
ประเด็นที่เกิดคำถามต่อไป คือกฏหมายมุ่งเน้นบังคับไม่ให้คนกระทำผิด มากกว่าการทำให้คนกระทำผิดเป็นคนดี ใช่หรือไม่