ผู้สมัคร ส.ก. พท. โดนอีก! 'พี่ศรี' ข้องใจวุฒิ 'ดร.' ร้อง กกต. สอบ

'ศรีสุวรรณ' ร้อง กกต. อีก ถึงคิวผู้สมัคร ส.ก. เขตสัมพันธวงศ์ พรรคเพื่อไทย ข้องใจวุฒิปริญญาเอก ส่อเข้าข่ายจูงใจให้เข้าใจผิด

16 พ.ค. 2565 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ กกต.กทม. เพื่อขอให้ตรวจสอบคุณวุฒิของผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสัมพันธวงศ์ หมายเลข 4 พรรคเพื่อไทย ซึ่งเน้นใช้คำว่า “ดร.” นำหน้าชื่อหาเสียง สงสัยจบปริญญาเอกจริงหรือไม่ ซึ่งหากไม่จบจริง อาจเป็นการหลอกลวง หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัคร ต้องห้ามตามกฎหมายได้

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสัมพันธวงศ์ หมายเลข 4 พรรคเพื่อไทย ได้โฆษณาหาเสียงและจัดทำเอกสารและแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของตนว่าเป็น “ดร.” จบ ปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยชาวพุทธ แห่งประเทศมองโกเลีย (THE BUDDHIST UNIVERSITY, MONGOLIA Doctoral Degree of Philosophy) ซึ่งเมื่อทำการตรวจค้นชื่อมหาวิทยาลัยและหลักสูตรดังกล่าว กลับไม่ปรากฏชื่อในเว็บไซต์ หรือรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับสถาบันดังกล่าวในประเทศมองโกเลียแต่อย่างใด จึงอาจเชื่อได้ว่าอาจไม่มีสถาบันดังกล่าวอยู่จริง ในระบบการศึกษาหรือสถาบันการศึกษาในประเทศมองโกเลีย

นอกจากนี้ เมื่อตรวจสอบไปยังสำนักงาน ก.พ. ของไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิที่ได้รับด้วยวิธีการศึกษาตามหลักสูตรเต็มเวลา (full time) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ก็ไม่ปรากฎว่าให้การรับรองหรือปรากฎว่ามีชื่อ THE BUDDHIST UNIVERSITY, MONGOLIA อยู่ในสารบบของ ก.พ. แต่อย่างใด

ดังนั้น การที่ผู้สมัคร ส.ก.หมายเลข 4 พรรคเพื่อไทย เขตสัมพันธวงศ์ กทม. จัดทำสิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นพับ โดยนำมาใช้โฆษณา แจกจ่าย ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ และป้ายหาเสียงติดตั้งบริเวณสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ โดยใช้คำนำหน้าเพื่อระบุสถานะทางการศึกษาของตนว่า “ดร.” ซึ่งปุถุชนทั่วไปเข้าได้ได้ว่า หมายถึงการจบการศึกษาในระดับ “ปริญญาเอก” แล้วนั้น

จึงอาจเข้าข่ายกระทำการเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเอง ด้วยวิธีการหลอกลวง หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัคร อันเป็นการฝ่าฝืนตามมาตรา 65 (5) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น 2562 ซึ่งอาจมีโทษตาม มาตรา 126 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 20 ปีด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต. เร่งถกคำร้อง 614 เรื่อง คาดประกาศรับรอง สว.ชุดใหม่ สัปดาห์หน้า

ภายหลังการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา และมีผู้ได้รับเลือก เป็นสว. จำนวน 200 คน และสำรองอีก 100 คน ปรากฏว่าที่ผ่านมามีการเข้ามาร้องเรียน

เปิดภารกิจสำคัญ 'สว.ชุดใหม่' เลือกองค์กรอิสระ 12 ตำแหน่ง พ้นวาระปีนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ก่อนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 200 คน และบัญชีสำรองอีก 100 คนนั้น ซึ่งตามอำนาจหน้าที่ของ สว. นอกจากการกลั่นกรองพิจารณากฎหมาย และการติดตามตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลแล้ว

โฆษกก้าวไกล ชี้บทพิสูจน์ผลงาน สว.ชุดใหม่ ออกแบบ ส.ส.ร. ต้องมาจากเลือกตั้ง 100%

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า ทุกอย่างเป็นผลลัพธ์กระบวนการเลือก สว.ในรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องสำคัญเฉพาะหน้าคือ ทำอย่างไรให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)