13 พ.ค.2565 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง จุดแข็ง จุดอ่อน ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,450 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤษภาคม พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึง จุดแข็ง จุดอ่อน ของ ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ ในกลุ่มฝ่ายค้าน (ไม่สนับสนุนรัฐบาล) พบว่า จุดแข็งของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับแรกคือ ร้อยละ 52.3 ระบุ ลงพื้นที่ชุมชนแออัดต่อเนื่อง ร้อยละ 48.9 ระบุ มีสัมพันธ์ที่ดีกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 45.7 ระบุ มีสัมพันธ์ที่ดีกับแกนนำเพื่อไทย ร้อยละ 25.3 ระบุ เคยทำงานระดับประเทศมาก่อน ร้อยละ 20.9 ระบุมีฐานเสียง ส.ก.เพื่อไทย ในขณะที่จุดอ่อนของนายชัชชาติฯ พบว่า เกินครึ่งเช่นกันหรือร้อยละ 54.5 ระบุ บริหารยาก คนละขั้วกับรัฐบาล ร้อยละ 48.8 ระบุ เคลือบแคลงสงสัย อนุมัติสายการบิน ตอนเป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 42.5 เคยมีปัญหา โยง ความไม่ปลอดภัยของสายการบิน ร้อยละ 39.1 ระบุ ไม่เห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอันให้คนกรุงเทพฯ และร้อยละ 25.5 ระบุ อิงการเมืองไม่อิสระจริง
เมื่อพิจารณาจุดแข็งของ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พบว่า ร้อยละ 45.8 ระบุ เป็นคนรุ่นใหม่ ต่อสู้ เข้มแข็ง ร้อยละ 38.3 ระบุ จุดยืนชัดเจน สู้เพื่อความเท่าเทียม ร้อยละ 37.1 ระบุ กล้าสู้ กล้าชน ร้อยละ 28.9 ระบุไม่มีประวัติ ด่างพร้อย ร้อยละ 18.5 ยืนหยัดเพื่อคนรุ่นใหม่ ในขณะที่จุดอ่อน พบว่า ร้อยละ 40.0 ระบุ ไม่เคยบริหารกรุงเทพฯ ร้อยละ 38.7 เป็นขวัญใจกลุ่มสามนิ้ว ร้อยละ 36.7 อาจถูกกลุ่มสามนิ้ว ทิ้ง ร้อยละ 35.9 บริหารยาก คนละขั้วกับรัฐบาล
เมื่อพิจารณาจุดแข็งของ น.ต.ศิธา ทิวารี พบว่า ร้อยละ 49.8 ระบุ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์สนับสนุน ร้อยละ 36.7 ระบุ เคยบริหารองค์กรขนาดใหญ่ ร้อยละ 35.8 เรียบง่ายตรงไปตรงมา ร้อยละ 34.5 ไม่มีประวัติด่างพร้อย อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของ น.ต.ศิธา ทิวารี พบว่า ร้อยละ 53.3 ไม่เคยบริหารกรุงเทพฯ ร้อยละ 39.7 ยังไม่เห็นผลงาน และร้อยละ 34.7 อิงพรรคการเมือง
เมื่อถามถึงจุดแข็งจุดอ่อนของ ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ ฝ่ายรัฐบาล พบว่า จุดแข็งของ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 46.7 ระบุ วิสัยทัศน์ กว้างไกล โครงการใหญ่ ร้อยละ 42.7 เป็นคนรุ่นใหม่ ร้อยละ 37.1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 33.8 มีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 29.1 ผ่านงานบริหารมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พบว่า ร้อยละ 40.7 ระบุ สังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 30.2 ไม่มีประสบการณ์บริหาร กทม. ร้อยละ 24.6 เคลือบแคลงสงสัย บัญชีทรัพย์สิน ที่ ปปช. ร้อยละ 23.8 ขาดอิสระในการตัดสินใจ ร้อยละ 22.1 สงสัย นโยบายจะทำได้จริงหรือ
จุดแข็งของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.5 มีสัมพันธ์ที่ดีกับ ผู้มีอิทธิพล บารมีทางการเมือง ร้อยละ 46.3 เคยเป็นผู้ว่า กทม. มา 5 ปีแล้ว ร้อยละ 33.9 มีสัมพันธ์ที่ดีกับ ผู้สมัคร ส.ก.กลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ ในขณะที่จุดอ่อน ของ พล.ต.อ.อัศวินฯ พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.4 ปัญหากรุงเทพฯ ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 42.4 ระบุคนตอบแบบสอบถามไม่เคยได้ประโยชน์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 35.9 อายุมาก ร้อยละ 28.1 ไม่เห็นความชัดเจนในวิสัยทัศน์
เมื่อพิจารณาจุดแข็งของ นายสกลธี ภัททิยกุล พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 58.8 ชัดเจนปกป้อง เสาหลักของชาติ ร้อยละ 44.2 เครือข่าย สลิ่ม สนับสนุน ร้อยละ 39.1 เคยเป็นรองผู้ว่า กทม. ร้อยละ 38.5 มีผลงานเล็ก แก้ปัญหาใหญ่ ร้อยละ 38.0 ไม่มีประวัติด่างพร้อย ในขณะที่จุดอ่อนของนายสกลธี ภัททิยกุล พบว่า ร้อยละ 36.4 มีผลงานเล็ก ๆ เป็นแค่รองผู้ว่า กทม. ร้อยละ 34.9 เป็นแกนนำกลุ่ม กปปส. ขับไล่รัฐบาลเครือข่ายทักษิณ ร้อยละ 31.8 ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ร้อยละ 28.2 เชื่อมโยงรัฐบาลปัจจุบัน
เมื่อพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน ของกลุ่มอื่น ๆ พบว่า จุดแข็งของ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 52.7 ยืนหยัดต้านโกง ร้อยละ 37.3 ขับเคลื่อนสังคม ร้อยละ 19.4 เป็นผู้หญิง เครือข่ายสนับสนุน ในขณะที่จุดอ่อน พบว่า ร้อยละ 59.9 ไม่เคยบริหารกรุงเทพฯ ร้อยละ 39.5 ไม่เห็นนโยบายอื่น นอกจากปราบโกง ร้อยละ 25.9 ไม่มีฐานการเมืองสนับสนุน นอกจากนี้ จุดแข็งของผู้สมัครกลุ่มอื่น ๆ พบว่า ร้อยละ 59.7 มีหัวใจประชาธิปไตย ลงสมัครรับเลือกตั้ง ร้อยละ 43.8 มีความหลากหลายในนโยบาย ร้อยละ 35.9 ตั้งใจจริง ในขณะที่จุดอ่อน ร้อยละ 57.5 ไม่เป็นที่รู้จัก ร้อยละ 37.9 ขาดเครือข่ายการเมืองสนับสนุน ร้อยละ 32.2 ไม่เคยบริหาร กรุงเทพ ตามลำดับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อนุทิน’ ปลื้มโพลสะท้อน ปชช. ยก ‘มหาดไทย’ กระทรวง-รัฐมนตรี มีผลงานด้านสังคม
‘อนุทิน’ ขอบคุณประชาชนให้คะแนนมหาดไทยอันดับ 1 กระทรวงและรัฐมนตรีมีผลงานด้านสังคม เผยเป็นทั้งกำลังใจและแรงกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อประชาชนและประเทศชาติ
โพลจี้ตูด แก้ปัญหา 'ปากท้อง-ค่าครองชีพ' คลองหลอดขึ้นแท่นชาวบ้านตามข่าว
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจข่าวที่ปชช.สนใจ ยาเสพติดชายแดนมาอันดับแรก ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ปชช.สนใจติดตามข่าวมากที่สุด ด้านปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพแพง เรื่องสำคัญให้รัฐบาลแก้ปัญหาหลัก
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ