10 พ.ค.2565- นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีรองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ถูกกล่าวหาเข้าไปแทรกแซงคดีการค้าประเวณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานีว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ค.ตนได้ประชุมกับคณะผู้บริหารของพม.ทั้งหมด โดยได้ตั้งคณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบโดยเร่งด่วน และในวันที่ 11 พ.ค. ตนพร้อมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่่าวจะเดินทางลงพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้ เนื่องจากตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และระเบียบคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกำหนดให้แต่งตั้งเฉพาะผู้ที่เป็นข้าราชการเท่านั้นในการทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่สามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาได้ จึงจะให้มีผู้เข้าไปสังเกตการณ์เพื่อให้การตรวจสอบเรื่องนี้มีความโปร่งใส ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจได้ว่า ทางพม.จะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้เกิดกระแสข่าวที่สร้างความสับสน ขอชี้แจงว่า เป็นเรื่องที่รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปขัดขวางกระบวนการยุติธรรม แต่ตนไม่อยากให้นำเรื่องนี้ไปเป็นประเด็นการเมือง เพราะข้อเท็จจริงพม.เป็นผู้ไปแจ้งตำรวจตั้งแต่เดือน พ.ย.64 จึงไม่มีเหตุผลที่ทางพม.จะมาปิดบังเหตุการณ์ใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งเด็กที่อยู่ในบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.สุราษฎร์ธานีไม่ได้ถูกกระทำทางเพศ แต่เด็กทุกคนที่อยู่ในบ้านได้รับความคุ้มครอง
นายจุติเผยว่าวันนี้กระทรวงยุติธรรมได้นำเด็กทั้งหมดไปเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองพยาน ส่วนที่เหลือเราจะขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำหน้าที่ดูแลอารักขา และย้ายออกจากจ.สุราษฎร์ธานี จึงไม่อยากให้นำไปเป็นเกมการเมืองมากไป ขอให้ข้าราชการประจำดำเนินการสอบสวนไปตามกระบวนการของเขา เมื่อได้ผลออกมาอย่างไรจะแจ้งให้ประชาชนทราบต่อไป
“ขอให้เล่นการเมืองน้อยหน่อย เอาเวลาไปทำงานให้ประชาชนมากๆ เพราะตอนนี้เอามาเล่นเกมการเมืองจนทำให้ประชาชนสับสนไปหมด” นายจุติ กล่าว
เมื่อถามว่า เรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เพราะดูเหมือนตอนนี้มีการพุ่งเป้ามาที่พรรคประชาธิปัตย์ในช่วงที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายจุติ กล่าวว่า ในเมื่อตนเป็นคนพูดเองว่าไม่อยากให้เป็นเรื่องการเมือง จึงไม่ขอพูดประเด็นที่เกี่ยวกับการเมือง แต่ขอย้ำว่าจะเร่งแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าได้ทำอย่างตรงไปตรงมา มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้
ถามว่า ได้มีการตรวจสอบขยายผลด้วยหรือไม่ว่า มีข้าราชการคนอื่นเข้าไปเกี่ยวข้องในคดีนี้ นายจุติ กล่าวว่า หากสอบสวนแล้วไปถึงใครเราก็จัดการทั้งหมด ตอนนี้เท่าที่ทราบมีข้าราชการ 3 คน กำลังไปให้การอยู่ที่พม. ในส่วนของรองอธิบดีที่ถูกกล่าวหานั้น คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกำลังตรวจสอบเขาอยู่ ต้องรอผลตรวจสอบข้อเท็จจริงออกมาก่อน หากมีการลงโทษใดๆไปก่อนการสอบสวนออกมาอาจจะนำมาสู่การฟ้องร้องในภายหลังได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง
เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.
‘พล.ร.อ.พัลลัภ’ เตือนภัย กับดักบันได 3 ขั้น พ่ายเขมรเสียดินแดน..!! I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 02 พฤศจิกายน 2567
'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.
‘พล.ร.อ.พัลลัภ’ เตือนภัย กับดักบันได 3 ขั้น พ่ายเขมรเสียดินแดน..!! | อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567
ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร