‘พิภพ’ มั่นใจ ‘รสนา’ นั่งผู้ว่าฯ กทม. ปราบโกงได้แน่ เหตุเป็นคนบริสุทธิ์ ที่ยืนบนความกล้าหาญทางจริยธรรมของผู้หญิง ทั้งเป็นคนกัดไม่ปล่อย
8 พ.ค.2565-นายพิภพ ธงไชย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “ปราบโกงได้หรือ
คนชื่อรสนา” ระบุว่า เมื่อค่ำคืนวันที่ 7 พค.2565 ผมได้ไปขึ้นเวทีปราศรัยให้รสนา ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.เบอร์ 7 ในฐานะที่ปรึกษานโยบาย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ร่วมกับที่ปรึกษาคนอื่นๆ ผมเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ถูกยกเป็นคำขวัญของรสนา เรื่องปราบโกงและการลงอิสระของเธอ โดยเท้าความไปถึงการรณรงค์ การทุจริตยาในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2540 เมื่อหมอในชมรมแพทย์ชนบทที่ร่วมกันเปิดโปงเรื่องนี้ จนเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ก็ไปติดขัด ไปต่อไม่ได้เพราะติดระเบียบราชการขวางไว้
เลขาธิการแพทย์ชนบทได้มาพบผม ซึ่งตอนนั้นตัวเองเป็นประธาน ครป.- คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ที่เป็นหัวหอกนำการเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชนที่โด่งดังในยุคสมัยนั้น โดยมีสองทหารเสือคู่ใจ สุวิทย์ วัดหนู กับสุริยะใส กตะศิลาร่วมงานเคลื่อนไหวกันเพื่อคนจนและคนที่ถูกเอาเปรียบ กันอย่างเข้มข้น กลุ่มแพทย์ชนบท ขอให้ ครป.รับไม้ต่อ ไปเคลื่อนไหว แต่ผมคิดว่า ครป.ไม่ควรรับ แต่น่าจะสร้างคนใหม่ องค์กรใหม่ มาเล่นต่อในภาคประชาชน ที่เราเรียกกันว่า NGOs
จึงนัดประชุมกับหมอสันต์ หัตถึรัตน์ เดช พุ่มคชา และรสนา โตสิตระกูล ปรึกษาหารือกันจะให้เดชเป็นผู้นำ แต่เดชดันไปผิดที่
จากร้านต้นโพธิ์ ถนนพระอาทิตย์ไปที่ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พวกเราจึงตัดสินใจขอให้รสนาทำเรื่องนี้และรสนาก็ไม่ทำให้เราผิดหวัง
“รสนานั้นเป็นนักเขียน นักแปลและทำงานเคลื่อนไหวเรื่องสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองร่วมกับเพื่อนๆที่พระไพศาล วิสาโล เป็นผู้นำกลุ่ม มานานปี หมอสันต์นั้นไม่แน่ใจ ส่วนผมมั่นใจ ก็ให้รสนานำแถลงข่าววันนั้นทันที เสร็จรสนาก็ไปจัดทีมเครือข่าย ล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อให้ถอด รมต.ที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่เป็นความสำเร็จของรสนา ในเรื่องปราบทุจริตยาในคราวนั้น ก็เพราะเธอเป็นคนฉลาด เป็นคนดี ศึกษาข้อมูลเข้าไปจดจำไว้ในหัวสมอง และนำเสนอประเด็นการทุจริตยาออกมาจนสังคมเห็นภาพและเห็นด้วย รสนาสร้างเครือข่ายภาคประชาชนออกมาขับเคลื่อน จนนำไปสู่ชัยชนะ ซึ่งถือว่าเป็นงานชิ้นโบว์แดง ที่เริ่มต้นนำรสนาเข้ามาสู่การตรวจสอบทุจริตคอรัปชั่น จนเป็นเครื่องหมายทางการค้าติดตัวเธอ”
วันนี้คนสงสัยและตั้งคำถาม ที่เธออาสาเข้าไปปราบทุจริตคอรัปชั่นใน กทม. ทำได้จริงหรือ ? ผมบอกผู้ฟังปราศรัยในลานสวนสาธารณะที่จตุจักรในค่ำคืนนั้นว่า ”ทำได้” เพราะรสนามีคุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้สมัครคนอื่นๆไม่มี คือเธอเป็นคนบริสุทธิ์ ที่ยืนบนความกล้าหาญทางจริยธรรมของผู้หญิง ทั้งเป็นคนกัดไม่ปล่อย มีการศึกษาข้อมูลที่เชื่อมโยงมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ดีเยี่ยม มีความสามารถในการเสร้างเครือข่ายการทำงานฝ่ายประชาชนได้ โดยเฉพาะข้าราชการประจำ กทม.ที่ไม่ทุจริต จะมาร่วมมือกับเธอ เป็นเครือข่ายกับเธอ
“คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งของรสนา คือ “เธอเป็นคนดื้อ” ที่ไม่ยอมใครง่ายๆ และมาคราวนี้ เธอจะได้อำนาจตามกฎหมายในการปราบการทุจริตใน กทม.ด้วย ถ้าเธอได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม.ถ้าทำได้ งบประมาณ กทม.จะเหลือมากมายไปทำอย่างอื่นตามที่เธอประกาศไว้ คือลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทเพิ่มช่วยเหลือผู้สูงอายุเป็น 3,000 บาทคืนนั้นผมเสนอแถมว่า
ต้องให้เด็กนักเรียนยากจนใน กทม.จำนวน 261,160 คน เรียนฟรีทุกคน ในโรงเรียน กทม. 437 โรง และทำให้โรงเรียน กทม. เป็นโรงเรียนสาธิตของเด็กยากจน ที่มีคุณภาพคับแก้ว ที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน แต่ละวัยถ้าปราบทุจริตได้ เงินงบประมาณก็จะมีเหลือเฟือเหมือนสมัย พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่า ฯ กทม.อะไรๆก็เกิดสิ่งดีๆขึ้นได้ ถ้าลงคะแนนให้ รสนา เบอร์ 7”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร