ซูเปอร์โพลเผย 'สกลธี' แรงปลายคะแนนนิยมไต่เพิ่มขึ้น

สำนักวิจัยซูเปอร์โพลเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่องผู้ว่าคนใหม่ในหัวใจประชาชน

เมื่อถามถึง การรับรู้ต่อ ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ที่ปกป้องสถาบันหลักของชาติ จากกรณีปัญหาโฆษณา ลาซาด้า ที่เสี่ยงกระทบต่อศรัทธาของคนไทย พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือ อันดับหนึ่ง คือร้อยละ 35.8 ระบุเป็น นายสกลธี ภัททิยกุล รองลงมาคือ ร้อยละ 11.5 ระบุ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 6.7 ระบุ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 5.4 ระบุ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 4.3 ระบุ น.ต.ศิธา ทิวารี ร้อยละ 2.8 ระบุ อื่น ๆ นางสาว รสนา โตสิตระกูล นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 33.5 ไม่ทราบ

8 พ.ค. 2565 – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ผู้ว่า คนใหม่ ในหัวใจ ประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,455 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6 – 7 พฤษภาคม พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงการรับรู้ต่อ ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ที่ออกมาปกป้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กลุ่มคนพิการ พบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 23.8 ระบุ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รองลงมาคือ ร้อยละ 14.5 ระบุ นายสกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 14.3 ระบุ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 10.9 ระบุ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 8.8 ระบุ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 4.5 ระบุ อื่น ๆ น.ต.ศิธา ทิวารี และนางสาว รสนา โตสิตระกูล เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 23.2 ไม่ทราบ

ที่น่าสนใจคือ ความคิดเห็นต่อ ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ที่น่าจะสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีได้ดีเป็นที่น่าพอใจของคนกรุงเทพ มากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 28.6 ระบุ นายสกลธี ภัททิยกุล รองลงมาคือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 22.3 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 13.5 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 12.8 และร้อยละ 3.5 ระบุอื่น ๆ น.ต.ศิธา ทิวารี นางสาวรสนา โตสิตระกูล และ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 19.3 ไม่มีความเห็น

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะเลือก ผู้สมัคร ผู้ว่า กทม. พบว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีคะแนนพุ่งสูงขึ้นจากร้อยละ 20.6 ในครั้งที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 24.1 ในครั้งล่าสุด อันดับสองและสามมีคะแนนสูสีกันมาก คือ นายสกลธี ภัททิยกุล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.7 มาอยู่ที่ ร้อยละ 13.1 และนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 13.0 และที่น่าจับตามองเช่นกันคือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในครั้งที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 8.4 ในครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ลดลงจากร้อยละ 15.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในขณะที่ อื่น ๆ ก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ น.ต.ศิธา ทิวารี นางสาว รสนา โตสิตระกูล เป็นต้น เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 มาอยู่ที่ ร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30.8 ยังไม่ตัดสินใจ

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้สมัครผู้ว่า กทม. เกือบทุกคนได้รับความนิยมจากประชาชนพุ่งสูงขึ้นและทุกคนยังคงมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งเพราะกลุ่มคนยังไม่ตัดสินใจยังมีอยู่จำนวนมาก ในขณะที่ ผู้สมัครบางคนอาจจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ความอ่อนไหวเปราะบางในสังคมที่เกิดขึ้นในการรับรู้ของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร ส่งผลทำให้คะแนนที่ได้มีอาการแกว่งตัวขึ้นลงได้อย่างรวดเร็วประกอบกับปัจจัยสำคัญอื่น ๆ เช่น ภาพลักษณ์ส่วนตัวของผู้สมัคร (Personal Branding) นโยบาย การลงพื้นที่ การประชันวิสัยทัศน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์และภาพจำอดีตของประชาชน เป็นต้น อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘สกลธี’ สอนมวยเลือกตั้งทั่วไปได้เยอะ ไม่ได้แปลว่าท้องถิ่นจะประสบความสำเร็จ

เห็นบางคนหาเสียงแล้วยังเพลียเลยครับ เพราะยังไม่รู้ว่าอำนาจหน้าที่ท้องถิ่นกับระดับชาติต่างกันยังไง หาเสียงมั่วซั่วไปหมด

ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ