"ศิธา" ประกาศนโยบาย 11 ด้าน ดันกทม.ให้เป็นมหานครที่ดีที่สุด ครอบคลุมทั้ง สุขภาพ การเดินทาง ความปลอดภัย ทันสมัย ปัญหาน้ำรอระบาย พร้อมขจัดอุปสรรค ระเบียบ กดทับประชาชน
4 พ.ค.2565 - น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคไทยสร้างไทย แถลงข่าวว่า แนวการขับเคลื่อนนโยบาย 11 ด้าน หรือ 11 พลังสร้างกทม.สู่การเป็นมหานครที่ดีที่สุด โดยมีหลักในการทำงานคือการปลดปล่อยหรือ Liberate ประชาชน จากการถูกกดทับ โดยระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับต่างๆเพื่อให้ประชาชนลุกขึ้นมาทำมาหากินได้เร็วที่สุด แข็งแรงที่สุด รวมถึงการสร้างพลัง Empower ประชาชนให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน เข้าถึงตลาด โดยเฉพาะประชาชนคนตัวเล็ก โดยตนจะร่วมกับพี่น้องชาว กทม. สร้างอํานาจให้คนกรุงเทพ ร่วมบริหารงบประมาณ ขจัดการคอร์รัปชั่น ตรวจสอบการใช้งบประมาณ ผ่านเทคโนโลยี Block chain” โดยพี่น้องชาวกทม.จะเห็นว่าหน่วยงานต่างๆของ กทม.มีงบเท่าใด ใช้จ่ายอย่างเหมาะสมหรือไม่ มีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่ รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆของ กทม.ก็จะได้รู้ถึงความต้องการ ความคิดเห็นของประชาชน เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบ และการทํางานขององค์กรได้ดีขึ้นด้วย
2.จะสร้างโอกาสให้คนกรุงเทพ กลับมาทํามาหากินได้เร็วที่สุด สะดวก ที่สุด เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทันที หลังต้องเผชิญวิกฤตหลายด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และวิกฤตจากโควิด โดยตนจะเข้าไปดูกฎหมายที่ขัดขวางการทำมาหากิน จำเป็นต้องใช้ยาแรง เพื่อปลดล็อค และพักใบอนุญาต แขวนการบังคับใช้ไว้ชั่วคราว 3-5 ปี โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นอำนาจของกทม.จะทำทันทีใช้พื้นที่ กทม.เป็นพื้นที่นำร่อง สร้าง “Bangkok legal Sandbox” เพื่อให้คนกรุงเทพฯได้กลับมาทำมาหากินได้เร็วที่สุด
3. ลดค่าใช้จ่ายและอํานวยความ สะดวกการเดินทางให้คนกรุงเทพ โดยค่าใช้จ่ายจะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน แต่ปัจจุบันพี่น้องคนกรุง ต้องเสียค่าใช้จ่าย สูงถึงเกือบครึ่งของเงินเดือน หากเป็นเช่นนี้ประชาชนก็จะหันกลับมาใช้รถยนต์ส่วนตัว และทำให้เกิดปัญหาการจราจรตามมา ดังนั้นรัฐบาลจะต้องคุยกับ กทม. และคุยกับเอกชน เพื่อให้ราคากลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งประเมินเบื้องต้นว่าไม่ควรเกิน 1,500 – 1,600 บาทต่อเดือน
4. สร้างการจราจรที่ไหลลื่น ลด ปริมาณรถในแต่ละวัน ด้วยการสลับเวลาทํางาน ลดเวลาเรียน หรือการสลับวันเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีศักยภาพในการเรียนจากที่บ้านได้ ซึ่งจะบรรเทาปัญหาการจราจรลงได้ ลดการไปส่งลูกหลานที่ต้องเดินทางไปโรงเรียน
5.สร้างกทม .เป็นเมือง Start up และดิจิทัล Economy ของเอเชีย โดยเราจะสร้างกทม. ให้เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับดิจิทัล Economy เพราะเราอยู่ในยุคดิจิทัล ที่โอกาสทางธุรกิจเปิดกว้างมากๆ กทม .ต้องสนับสนุนพี่น้องชาวกรุงเทพ ในด้านนี้อย่างเต็มที แต่เราต้องกล้าปรับตัว กล้าปรับเปลี่ยนกฎ กติกา เพื่อรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจใหม่ในด้านนี้ ซึ่งหากกติกาเอื้อต่อการทำงาน กทม.จะไม่เป็นเพียงเมืองแค่น่าท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่กทม.จะเป้นเมืองที่น่าลงทุน จะทำให้กรุงเทพมหานคร และประเทศไทยได้รับประโยชน์จากตรงนี้อย่างมหาศาล ดังนั้นเราต้องปรับ กทม.ให้พร้อมรองรับเศรษฐกิจยุคใหม่ทั้งหมด
6.สร้างกรุงเทพ เป็นเมืองสุขภาพ รองรับพี่น้องประชาชนยามเจ็บป่วย โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยงทางสุขภาพ หลายพื้นที่ไปถึงโรงพยาบาลไม่ทันตามเวลา ซึ่งทีมไทยสร้างไทยได้วางเป้าหมายไว้ว่า ทุกเขตต้องมีโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 โรงพยาบาล แต่ปัจจุบัน พบว่า กทม.มีเพียง 11 โรงพยาบาลเท่านั้น ดังนั้นเขตที่ยังไม่พร้อม มีโรงพยาบาลไม่เพียงพอจำเป็นต้องได้รับการเติมเต็ม
7.การป้องกันและรักษาสุขภาพ โดยเพิ่มสวนสาธารณะ และเพิ่มเวลาบริการ รวมถึงสนามกีฬาและสถานที่ออกกําลังกาย เช่นในสมัยที่ตนเคยดำรงทำแหน่ง ประธานบอร์ดการท่าอากาศยาน ได้นำพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่ามาทำสนามจักรยาน พื้นที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่นและที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ติดอันดับ 1 ของโลกซึ่งมีประชาชนมาปั่นจักรยานมากกว่า 1 ล้านครั้งต่อปี ระยะทางไม่ต่ำกว่า 23.5 กิโลเมตรต่อครั้ง เฉลี่ยแล้วการพัฒนาพื้นที่รกร้างรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้คนไทยปั่นจักรยานได้เฉลี่ย 30 กิโลเมตรต่อปี โดยภาครัฐไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว แต่มีเอกชนลงขันกันมาลงทุนเกือบ 2 พันล้าน ซึ่งหากตนได้เป็นผู้ว่าฯกทม.จะดำเนินการลักษณะนี้ทั่วทุกมุมเมืองของกทม.
8.สร้างกรุงเทพ เป็นเมืองสะอาดปลอดภัย มีระเบียบ สร้างกรุงเทพ เป็นเมืองสะอาดปลอดภัย มีระเบียบ โดยเริ่มจาก Bangkok eyes กล้องวงจนปิดแบบ AIและเพิ่มแสงสว่างในทุกพื้นที่เพื่อป้องกัน อาชญากรรมและสร้งความสบายใจให้พี่น้องประชาชน , ลดฝุ่นพิษ PM2.5 โดยการควบคุมรถควันดํา และผลักดันสนับสนุนส่งเสริมการใช้รถ EV ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพทางเท้าให้พี่น้องประชาชนทุก คนใช้ได้อย่างปลอดภัย
9.สร้างกรุงเทพ เป็นมหานครแห่งการ สร้างสรรค์ Creative metropolis เพื่อสร้างรายได้ให้คนกรุงเทพ จัด Event ในแต่ละเขตทุกเดือนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หมุนเวียนในชุมชนเช่น ที่ตลาดน้อยที่ต้องพลิกฟื้นชุมชนเก่าดังเดิมให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ พร้อมส่งเสริมให้แต่ละเขตมีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
10. โรงเรียนดีใกล้บ้าน เริ่มจากให้โรงเรียนสังกัดกทม.ต้องมีมาตรฐานเท่าเทียม เพราะถ้าโรงเรียนมีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั้งหมด โรงเรียนที่ดีที่สุดก็คือโรงเรียนใกล้บ้าน พร้อมกับพัฒนาโรงเรียน โดยมีเจ้าของภาษาเป็นผู้สอนเอง ผสมผสานการเรียนที่โรงเรียนและออนไลน์เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการเรียนได้อย่างเท่าเทียม ใช้อินเตอร์เน็ทฟรีอย่างเท่าเทียม และปรับหลักสูตรเน้นให้เด็กๆ ได้รู้จักตัวเอง และสามารถพัฒนาไป เป็นอาชีพที่สามารถทํามาหากินได้จริง
11.การจัดการด้านน้ำท่วมอย่างมี ประสิทธิภาพ “ ลาขาดน้ำรอการระบาย ” การจัดการด้านน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเตรียมระบบระบายน้ำให้พร้อมใช้งานก่อนเข้าสู่ช่วงน้ำท่วม จัดทําระบบท่อและสัญญาณเตือนน้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพที่ดีได้ โดยหลักการที่สำคัญต้องดูน้ำเหนือ น้ำหนุน และน้ำฝน ซึ่งกทม.มีตัวชี้วัดแล้วทั้งหมด แต่ยังไม่ได้นำตัวชี้วัดเหล่านั้นมาทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ และที่ผ่านมา กทม.ไม่บริหารจัดการปล่อยให้น้ำในคลองสูงในระดับเดียวกับท่อระบายน้ำ โดยไม่เคยพร่องน้ำในคลองรอ จนเกิดปัญหาน้ำรอระบายบ่อยครั้ง ซึ่งหากมีการpบริหารจัดการในแต่ละเขตให้ดีปัญหาน้ำรอระบายก็จะเบาบางลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
แค่สีสัน! 'เท้ง’ เสียงแข็งไม่หวั่น ‘ทักษิณ’ ลงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.อุบลฯ หาเสียง
หัวหน้าพรรคปชน.มองทักษิณ เป็นสีสัน เป็นสิ่งที่ดีที่มีคนลงมาช่วยหาเสียง ทำให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนให้ความสนใจในการเลือกตั้งมากยิ่งขึ้น
คนไทยอ่วม! ฝุ่น PM2.5 ท่วม 27 จังหวัด 'กทม.' พุ่งทุกพื้นที่
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
'พิพัฒน์' ปัด ภท.-รทสช. ฮั้วกันหนุน 'ถาวร' ชิงนายก อบจ.สงขลา
'พิพัฒน์' ปัดข่าว ภท.-รทสช. จับมือส่ง 'ถาวร' ชิง นายก อบจ.สงขลา ยันไม่เคยคุย 'พิมพ์ภัทรา' หลังลือจ่อย้ายซบพรรคนํ้าเงิน รับภูมิใจไทยอยากครองภาคใต้เพิ่ม แต่ไม่ใช้วิธีฮั้วรวมกันตี
กทม. งัด 4 มาตรการคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วงปีใหม่ 68
กทม. เตรียม 4 มาตรการควบคุมแอลกอฮอล์ ช่วงปีใหม่ 68 พร้อมเฝ้าระวังซุ้มยาดองในพื้นที่
'อังกินันทน์' ชนะขาด! ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.เพชรบุรี'
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี (อย่างไม่เป็นทางการ) ณ เวลา 23.59 น. โดยนับครบแล้วทั้ง 734 หน่วยเลือกตั้ง