โค้งท้ายเลือกตั้งผู้ว่าฯ 'ชัชชาติ' ขอหาเสียงโชว์นโยบายกัน ไม่โจมตีปล่อยเฟกนิวส์

ชัชชาติ แนะ กทม.สนับสนุนอัตลักษณ์ประจำถิ่น ช่วยแรงงานพัฒนาเศรษฐกิจ ขอผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่าเชื่อข่าวปลอม เน้นย้ำ อย่าสับสนบัตรเลือกตั้ง 

2 พ.ค.2565-นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่หาเสียงเขตคลองสาน จอมทอง เดินทักทายประชาชนที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ไปตลาดเสสะเวช ตลาดวงเวียนใหญ่ ถนนเจริญรัถ และตลาดจอมทอง พบปะประชาชนและพ่อค้าแม่ค้า ระหว่างเดินสำรวจพบปัญหาปัญหาน้ำขังบนทางเท้าหลังฝนตก สร้างความไม่สะดวกต่อผู้สัญจร 

นายชัชชาติกล่าวว่า หลายคนสะท้อนปัญหาสำคัญเรื่องค่าครองชีพสูง แม้ว่า กทม. จะไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพได้โดยตรง แต่กทม.จะต้องช่วยเหลือในมิติอื่นๆ ที่กทม. เป็นผู้ให้บริการเช่นด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการเดินทาง เพื่อลดค่าครองชีพของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ย่านเจริญรัก เขตคลองสาน แต่ก่อนเป็นย่านมีชื่อเสียงในเรื่องการค้าขายเครื่องหนัง แต่ปัจจุบันเริ่มจางหายไป กทม. ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนแต่ละย่านให้สามารถดึงอัตลักษณ์ของตนเองมาสร้างรายได้เพื่อช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลดค่าครองชีพ

“ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนถึงวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ อยากให้เป็นไปด้วยความใสสะอาด ไม่มุ่งโจมตีกัน และเน้นไปในเรื่องของนโยบาย รวมถึงต้องระมัดระวังเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง และส่งผลต่อคะแนนนิยมของผู้สมัคร เมื่อได้รับข้อมูลควรใช้วิจารณญาณ คิดอย่างมีสติ และงดส่งต่อหากไม่มั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อข่าวปลอมให้ตนเอง ข่าวปลอมมันคล้ายกับเชื้อโรค เราไปกำจัดที่ต้นตอยาก แต่อยากให้พวกเราทุกคนมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง เวลาเห็นข่าวอะไรมาก็อย่าเพิ่งไปปักใจเชื่อ วิเคราะห์ด้วยเหตุผล อย่าไปส่งต่อถ้ามันไม่มีเหตุผล หรือไม่มีที่มาที่ไปก็ให้ทิ้งไป อย่าให้มันไปแพร่ต่อ”

นายชัชชาติกล่าวว่า ในวันที่ 22พ.ค.จะมีการเลือกตั้งโดยใช้บัตร 2 ใบ บัตรของผู้ว่าฯกทม. สีน้ำตาลกาหนึ่งเบอร์ เพื่อเลือกผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ เพื่อช่วยพัฒนากรุงเทพฯ ส่วนบัตรของ สก. จะเป็นสีชมพู เขตใครเขตมัน ขอให้ตรวจสอบหมายเลขของผู้สมัครผู้ว่าฯ และ สก. ให้ถูกต้องก่อนเลือกตั้งเพื่อป้องกันความสับสน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด