30 เม.ย.2565 - ที่ ห้องวายุภักษ์ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราบาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ พรรคกล้า จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิกาพรรคกล้า และสมาชิกพรรคเข้าร่วมงาน โดยไฮไลน์การประชุมครั้งนี้ได้มีการเปิดตัวนาย กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นประธานยุทธศาสตร์และนโยบายพรรคกล้า
นายกรณ์ กล่าวในหัวข้อ ฟื้นเศรษฐกิจ แก้วิกฤตปากท้องว่า ในการประชุมครั้งนี้เท่ากับเวลาที่เราได้มาทำงานครอบ2ปีพอดี ซึ่งเป็น2ปีที่ประชาชนมีความเดือดร้อนหนักหนาสาหัส เพราะประสบกับสถานการณ์โควิด และปัญหาทางเศรษฐกิจ และที่หนักที่สุดที่ทำให้ประชาชนคนไทยมีความทุกข์มากที่สุดคือการที่เขามองไม่เห็นอนาคตว่าจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ได้อย่างไร พรรคกล้าเราตั้งใจเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องสร้างโอกาสสร้างรายได้ เราต้องชัดเจนว่าจะสร้างกลับคืนมาให้ประชาชนได้อย่าไร
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า พรรคกล้าขอเสนอ 4 แนวทางและการสร้างรายได้ สร้างโอกาส คือ 1.สร้างอุตสาหกรรมใหม่ จะนำไปสู่การลงทุนครั้งใหญ่ ที่เรียกว่ากล้า Green Deal 2.ยกเลิกสิ่งที่อยู่ใต้ดินให้มาอยู่บนดิน สิ่งที่อยู่ในที่มืดมาอยู่ในแสงสว่าง เพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้รัฐบาล โดยเปลี่ยนส่วยเป็นภาษี 3. ผลักดันเศรษฐกิจดิจิตอล สร้างช่องทางการค้าขายออนไลน์ให้กับประชาชน และ4. การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งทั้ง4 แนวทางหลักนี้ จะนำไปสู่แหล่งรายได้หลักของไทย แต่ทั้งหมดจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ มี 2คำ คือเทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างได้ด้วยวิธีคิด และทัศนคติที่ปรับใหม่ ทั้งเรื่องการศึกษา ระบบราชการที่จะต้องปฏิรูปสู่เทคโนโลยี ถ้ายังไม่มีการปฏิรูประบบราชการจะกลายเป็นคอขวดและตัวถ่วงของประชาชนและภาคเอกชน ดังนั้นต้องปฏิรูปนำระบบราชการให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่าง 100 เปอร์เซนต์ นำระบบราชการเข้าสู่โทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ความฝัน เพราะพิสูจน์แล้วว่าตอนนนี้คนไทย30กว่าล้านคนใช้แอปเป๋าตังค์ รวมถึงเรื่องการปครอง ต้องมีการกระจายอำนาจ หมดยุคการรวมศูนย์อำนาจแล้ว
“ตลอด 2ปีที่ผ่านมาเราสัมผัสได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่คำตอบให้กับสังคม เราลงเลือกตั้งซ่อมหลายครั้งและเห็นว่าประชาชนให้โอกาสกับเรามากขึ้น และเราต้องทำงานอย่างหนักก่อนจะถึงการเลือกตั้งครั้งใหญ่ ภายในอีก 10 เดือนข้างนี้ ผมมั่นใจว่าสิ่งที่ประชาชนอยากเห็น คือการเมืองแบบใหม่ การเมืองที่มีความสร้างสรรค์ การเมืองที่ทำด้วยคนที่เป็นมืออาชีพ พวกเราจะไม่ป่าวประกาศว่าจะได้ ส.ส.กี่คน หรือแลนด์ไสลด์ หรือเราจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะเราเป็นพรรคใหม่ยังมีการบ้านที่ต้องทำอีกมาก แต่ที่อยากจะบอกคือ เราพร้อมทำงานหนัก พร้อมรับฟังประชาชน และพร้อมที่จะเสียสละ และสำหรับพรรคกล้าประชาชนต้องมาก่อน” นายกรณ์ กล่าว
จากนั้นนายกรณ์ ได้เปิดตัวคณะกรรมการเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ เข้ามาเป็นประธานยุทธศาสตร์และนโยบายของพรรคฯ โดยมีตน และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคฯ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจต่อไป ส่วนนายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรค ฯ ดูแลเรื่องเศรษฐกิจคนตัวเล็ก และนายสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย มาเป็นที่ปรึกษานโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อเศรษฐกิจดิจิตอลของพรรค รวมทั้งยังมี ร.อ.หญิงเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และอดีตคณะทำงานพรรคประชาธิปัตย์ จะเข้ามาดูแลงานด้านท่องเที่ยว โดยเฉพาะเศรษฐกิจท่องเที่ยวภาคล้านนา
ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า กล่าวว่า 2 ปีที่ผ่านมา เรามีสมาชิก 24,000 คนแล้ว มีการตั้งตัวแทนพรรค และสาขาพรรคแล้ว 89 แห่ง สิ่งที่พวกเราทำให้หลายพรรคสงสัยได้คือตัวเลขผู้เสียภาษี ซึ่งพรรคกล้ามีรายได้จากการบริจาคภาษีเป็นลำดับ 3 ของประเทศ การเดินทางของพรรคกล้าจนถึงวันนี้เราเดินมาด้วยหัวใจ แม้พรรคเราจะเล็กแต่ใจเราใหญ่ ส่วนในมุมเศรษฐกิจขณะนี้หนี้ทุกอย่างมันจุก หนี้เต็ม ดังนั้นสิ่งเดียวที่ประเทศจะไปได้ก็คือการสร้างรายได้ แต่รัฐนี้มีความพร้อมหรือไม่ในการสร้างรายได้ หากระบบราชการเรายังไม่ตอบโจทย์โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่และการสร้างรายได้แบบใหม่ หัวใจสำคัญรัฐและเอกชนต้องอยู่ในฐานะหุ้นส่วน
ขณะที่นายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าวว่า วันนี้เรากำลังเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจ โดยต้องอาศัยเศรษฐกิจเพื่อคนตัวเล็กซึ่งมีพื้นฐานจากเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นเรื่องการพึ่งพาตัวเอง และการลดความเสี่ยง โดยเศรษฐกิจเพื่อคนตัวเล็ก ต้องสร้างโอกาส ติดอาวุธเรื่องความรู้และทุน และการให้แต้มต่อคนตัวเล็ก เพื่อให้การแข่งขันเป็นธรรม โดยใช้โมเดลการค้าขายออนไลน์เหมือนที่จีนเคยทำประสบความสำเร็จมาแล้ว วันนี้ตนเชื่อว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคที่โควิดเริ่มซา รัฐบาลควรหนุนเรื่องการท่องเที่ยว แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบ เพราะมีการท่องเที่ยวอีกหลายรูปแบบที่เราไม่เคยผลักดัน
อาทิ ท่องเที่ยวเชิงชอปปิ้ง การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม และการท่องเที่ยวสายมู เรื่องเครื่องรางของขลัง เป็นต้น นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้เปรียบเรื่องอุตสาหกรรมอาหาร ที่เปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตร โดยต้องเริ่มจากกระทรวงพาณิชย์ไปหาตลาดก่อนว่าจะจะส่งออกไปประเทศไหน และเขาต้องการอะไร แล้วไปหารือกับกระทรวงเกษตรฯว่าเราจะปลูกอะไร หากทำแบบนี้ได้เกษตรไทยก็ไปได้ ส่วนเรื่องซอฟพาวเวอร์เป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว พรรคกล้าต้องการสร้างโอกาสนิยม ทำให้ทุกคนเป็นเศรษฐีใหม่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเติบโต แข็งแรง และยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น