27 เม.ย.2565 - นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย เปิดเผยว่า วันศุกร์ที่ 29 เม.ย. เวลา 10.30 น. จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงประธานกกต. เพื่อขอสอบถามข้อเท็จจริงว่าการประชุม กกต.ที่ลงมติแจกใบส้ม นายสุรพล เกียรติไชยากร อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย มี กกต. 1 คนขาดการประชุมจริงหรือไม่ ด้วยเหตุผลใด และเป็นเหตุผลอันควรหรือไม่ โดยการสอบถามดังกล่าวประสงค์ต้องการให้ทาง กกต.ตอบข้อเท็จจริง ซึ่งจะตอบหรือไม่ตอบ ตนจะใช้เป็นเอกสารในการยื่นร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประเด็นการปฏิบัติงานที่ผิดมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ทั้งนี้หาก กกต.ตอบและเห็นว่ามีเหตุผลสำคัญ อาจจะไม่ยื่น ป.ป.ช. แต่ถ้าตอบแล้วเป็นเหตุผลที่ไม่สำคัญและไม่สมควร จะดำเนินการยื่นป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป และถ้าไม่ตอบเลยเท่ากับว่าแสดงถึงการละเลยของ กกต.ทั้งชุด
นายสมชัย ตั้งข้อสังเกตว่า ปรากฏตามรายงานการประชุม ว่ามีกรรมการมาประชุมคือจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 7 และนายฐิติเชษฐ์ นุชนาฏ กกต. แต่นายฐิติเชษฐ์ ลาประชุมในวาระที่ 5.1 ถึงวาระที่ 5.4 โดยวาระที่ 5.4 คือวาระการพิจารณาสำนวนของนายสุรพล เกียรติไชยากร แต่จากเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ 49/2565 วันอังคารที่ 23 เม.ย.พ.ศ. 2562 ปรากฏรายชื่อกรรมการผู้มาประชุมครบทั้ง 7 คน ซึ่งตามมาตรา 18 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ระบุว่าการไม่เข้าประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมตามวรรคสองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าเป็นการจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ประกอบกับมาตรา 19 (1) ที่ระบุถึงการลงมติในเรื่องสำคัญ คือการวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปด้วยความสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้กรรมการการเลือกตั้งทุกคนที่อยู่ในที่ประชุมต้องลงมติ การงดออกเสียงหรือการออกเสียงที่แตกต่างไปจากประเด็นที่จะต้องลงมติจะกระทำมิได้ แต่ไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะลาออกจากตำแหน่งก่อนมีการลงมติ เป็นการชี้ให้เห็นว่า การลงมติในวาระ 5.4 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่กรรมการการเลือกตั้งสมควรอยู่ในที่ประชุม ไม่สมควรขาดการประชุมโดยไม่มีเหตุอันสมควร
นายสมชัย กล่าวด้วยว่าในวันเดียวกันนั้น จะยื่นเรื่องขอให้ กกต.ดำเนินการตรวจสอบนายเสกสกล อัตถาวงศ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่าคลิปเสียงบทสนทนาที่หลุดออกมา มีประเด็นสุ่มเสี่ยงกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง 3 เรื่อง คือ 1.การใช้จ่ายเงินเกินกว่ากรอบที่กฎหมายกำหนด 2.อาจจะมีการกระทำผิดพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 73 (1) และ 3. การแจ้งค่าใช้จ่ายเป็นเท็จ จึงอยากให้ กกต.ตั้งคณะทำงานขึ้นมาไต่สวนข้อเท็จจริงในเรื่องที่เกิดขึ้น แม้ว่านายเสกสกล จะไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ว่าการกระทำผิดดังกล่าว กกต.ต้องดำเนินการไม่ว่าผู้สมัครคนดังกล่าวจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476