'สมชัย' สงสัยกกต.ต้องจ่ายเยียวยาผู้สมัครส.ส.ที่โดนใบส้ม 64.1 ล้าน คือกกต. 6 คน ที่ลงมติ หรือทั้ง 7 คน

'สมชัย' วิเคราะห์ คำพิพากษาศาลจังหวัดฮอดกรณีกกต.ต้องจ่ายเยียวยาผู้สมัครส.ส.ที่โดนใบส้ม 64.1 ล้าน สงสัยผู้รับผิดทางละเมิด คือ กกต. 6 คน ที่ลงมติ หรือ กกต.ทั้ง 7 คน

22 เม.ย.2565- กรณีที่ศาลจังหวัดฮอด มีคำพิพากษาให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชดใช้ค่าเสียหายให้ นายสุรพล เกียรติไชยากร อดีตผู้สมัคร ส.ส. เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย จำนวน 64.1 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 70 ล้านบาท จากกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่านายสุรพล ไม่มีความผิดเข้าข่ายให้ทรัพย์สินจูงใจผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง หลังกกต.มีมติสั่งระงับสิทธิสมัครชั่วคราว (ใบส้ม) ระหว่างการประกาศผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มี.ค.62 ซึ่งนายสุรพลได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 1

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงเรื่องดังกล่าวว่า

อ่านคำพิพากษาจำนวน 52 หน้าของศาลจังหวัดฮอด กรณี กกต.ต้องจ่ายเยียวยาผู้สมัคร ส.ส. ที่โดนใบส้ม 64.1 ล้านบาท แล้วมีเรื่องน่าสนใจน่าคิดต่อ หลายประการ

1. กกต.ลงมติเอกฉันท์ ด้วยคะแนน 6 : 0 อ้าว กกต. มี 7 คน ทำไมลง 6 : 0 แล้วอีกคนหายไปไหน

2. ผู้เสียหายฟ้อง จำเลย 14 ราย ประกอบด้วยจำเลยที่ 1 คือ สำนักงาน กกต. จำเลยที่ 2-7 คือ กกต. 6 คน จำเลยที่ 8 คือ รองเลขาที่รับผิดชอบ จำเลยที่ 9 คือ ผอ. กกต.ชม. จำเลย ที่ 10-12 คือ จนท.สอบสวน กกต.ชม. จำเลย 13-14 คือ ผู้ใหญ่บ้านและ ผช.ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่

3. ศาลยกฟ้องจำเลย 13-14 และ ตัดจำเลยที่ 2-12 ออก เนื่องจากเป็นเจ้าพนักงานในหน่วยงาน กกต. ที่เป็นจำเลยที่ 1 แล้ว

4. ศาลสั่งให้ จำเลยที่ 1 หรือสำนักงาน กกต. เป็นผู้จ่ายค่าเสียหาย เป็นเงิน 64.1 ล้านพร้อมดอกเบี้ยนับจาก 24 มีนาคม 2562 และให้อุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

5. ในทางปฏิบัติ หากต้องจ่ายเงินค่าเสียหาย สนง. จะเป็นฝ่ายจ่ายไปก่อน (เงินหลวง) และไปไล่หาผู้รับผิดทางละเมิดที่ทำให้ราชการเสียหาย

6. คำถามคือ ผู้รับผิดทางละเมิด คือ กกต. 6 คน ที่ลงมติ หรือ กกต.ทั้ง 7 คน หรือ จะต้องมีใครร่วมรับผิดอีกหรือไม่

7. กกต.คนที่ 7 ที่ไม่ได้เข้าประชุม ชื่ออะไร การไม่เข้าประชุมเป็นโชคดี หรือโชคร้าย

พรุ่งนี้จะมาเฉลยครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมชัย แนะ 5 ทางออก อย่ากลัวหาก ‘สว.’ จะแก้ กม.ประชามติ จากร่างเดิม ‘สส.’

ประเด็นที่หวาดหวั่นกันคือ การแก้กลับไปใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น (double majority) สำหรับการทำประชามติเรื่องสำคัญ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ว่า ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง และชั้นที่สอง มติที่ชนะก็ต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ