'สกลธี' ไม่เสียกำลังใจผลโพลชี้เลือกตั้งกทม.หักปากกาเซียนหลายครั้ง

สกลธี ย้ำไม่เสียกำลังใจจากผลโพลล่าสุด ชี้ เลือกตั้ง กทม. หักปากาเซียน ผิดโพลล์มาแล้วหลายครั้ง ชูจุดเด่นอายุน้อย แต่ประสบการณ์สูงหวังคนยังไม่ตัดสินใจสนับสนุนเป็น ผู้ว่า กทม.คนใหม่

11 เม.ย. 2565 – นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม.หมายเลข 3 กล่าวถึงกรณีผลซูปเปอร์โพลล์ล่าสุด ที่ระบุว่า คนกรุงเทพ ต้องการผู้ว่าฯ ที่เป็นนักบริหาร วัยหนุ่ม ว่า ผลที่ออกมาก็ติดตามอยู่ แต่ไม่ได้กังวลอะไรเพราะส่วนตัวตนก็ได้มีการติดตามและทำโพลล์ของตัวเองต่อเนื่องอยู่แล้ว การทำโพลล์จากการสุ่มตัวอย่างพันกว่าคน แต่คนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในกรุงเทพมหานครมีอยู่จำนวน 4.5 แสนคน ผลที่ออกมาก็เป็นข้อมูลที่จะทำให้เราได้นำมาปรับปรุงแต่ถามว่าเสียกำลังใจไหม ส่วนตัวก็ไม่ได้เสียกำลังใจหรือท้อเพราะเวลายังมีเหลือ ขณะที่คนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจยังมีอีกเยอะมาก

“จากโพลล์ก็จะเห็นว่ามีการหักปากกาโพลล์มาหลายครั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครยิ่งยากเข้าไปใหญ่เพราะผลที่ออกมาก็ไม่ได้เป็นไปตามโพลล์เสมอไป แต่เราก็จะเอาส่วนที่บกพร่องมาดูเพื่อหาจุดแก้ไขต่อไป” นายสกลธี กล่าวและว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร ตนก็อยากจะขอเสนอตัวและชี้ให้เห็นจุดเด่นที่ตนรู้สึกมั่นใจ คือ เรื่องอายุน้อยเพราะงานผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เป็นเรื่องจุกจิก และซับซ้อน และต้องอาศัยการลงพื้นที่ ซึ่งถ้าเป็นคนอายุน้อยก็จะคล่องตัวกว่า

“จุดเด่นของผม น่าจะเป็นเรื่องที่มีอายุน้อย และงานของกรุงเทพมหานคร เป็นเรื่องจุกจิกและซับซ้อน รวมถึงต้องอาศัยการลงพื้นที่ ถ้าเป็นคนอายุมากผมว่าลำบาก อาจจะประชุมได้ในศาลาว่าการ แต่ก็สู้การลงพื้นที่จริงไป เจอกับปัญหาและแก้กับคนที่เขาทำงานจริงไม่ได้

นอกจากนี้เป็นเรื่องของประสบการณ์ ถึงแม้ว่าผมจะอายุน้อย แต่ก็ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองมาทั้งในระดับชาติ เป็นส.ส.เขต หรือรองผู้ว่าฯ แต่มีหลายอย่างที่ตอนเป็นรองผู้ว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ จึงอยากขอโอกาสเข้ามาทำงานให้คนกรุงเทพอีกครั้ง”นายสกลธีกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด