'สูตรคำนวณ ส.ส.-ไพรมารีโหวต' ยังเห็นต่าง

'ชินวรณ์' ลั่นร่าง กม.ลูกไม่ยึดติดตัวบุคคล ระบุ กมธ.ยังเห็นต่างปมคำนวณ ส.ส.แบบปัดเศษ และการทำไพรมารีโหวต

06 เม.ย.2565 - นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กล่าวถึงการพิจารณาของคณะ กมธ.ว่าคืบหน้าไปมาก โดย กมธ.ฯ จะรวมประเด็นที่มีความสำคัญว่าประเด็นใดบ้างที่จะต้องลงมติก่อน โดยไม่ต้องรอให้เสร็จทั้งฉบับ เช่น ในวันที่ 7 เม.ย.นี้จะพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรค ประเด็นผู้ก่อตั้งพรรคและสมาชิกพรรคให้เข้ามามีส่วนเสนอแนะพรรคตามข้อเสนอบางส่วนหรือไม่ และเรื่องการจัดทำไพรมารีโหวต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงมติแน่นอน โดยจะมีการลงมติในการประชุม กมธ. ทั้งนี้ หากการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองเสร็จสิ้นก่อน ก็จะนำเวลาที่เหลือมาใช้พิจารณาในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จึงมั่นใจว่า กมธ.สามารถพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ทั้ง 2 ฉบับได้ทันก่อนเปิดสมัยประชุมสภาแน่นอน

“มั่นใจว่าทุกพรรคต้องการที่จะให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับเสร็จรวดเร็ว จึงคิดว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกพรรคการเมืองในการพิจารณาจากชั้น กมธ.”นายชินวรณ์กล่าว

เมื่อถามว่าใน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ยังมีประเด็นอะไรที่ยังเป็นปัญหาถกเถียงกันไม่จบ นายชินวรณ์ กล่าวว่า มีเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำไพมารีโหวต ซึ่งร่างของพรรคร่วมรัฐบาลใช้วิธีการแบบให้ตัวแทนจังหวัดในการที่จะสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเสนอกรรมการบริหารพรรค แต่ในร่างเดิมการทำไพรมารีโหวตยังให้ใช้วิธีการลงคะแนนซึ่งประเด็นนี้ยังมีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกัน จึงต้องถกเถียงกันก่อนที่จะลงมติ ส่วนร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ยังมีเรื่องการคำนวณสัดส่วนบัญชีรายชื่อ ถ้าตามร่างของพรรคร่วมรัฐบาลที่ยึดตาม มาตรา 91 ซึ่งไม่มีประเด็นอื่นใด โดยยึดแบบตรงไปตรงมา ด้วยการหารด้วย 100 แต่มีบางส่วนเห็นว่า มาตรา 95 ยังไม่ได้แก้ไข ก็สามารถที่จะไปคิดสัดส่วน ส.ส.ที่พึงมี จึงต้องมีการถกเถียงกันในแง่ของกฎหมายต่อไป ซึ่งเคยถามคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้วต้องยืนยันให้ชัดเจนว่ากฎหมายที่เป็นติ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญมีผลต่อข้อเสนอของ กมธ. ที่ขอแปรญัตติเข้ามาหรือไม่ โดยทั้ง 2 หน่วยงานจะชี้แจงในวันที่มีการลงมติ

ถามว่าลักษณะต้องห้ามของผู้ก่อตั้งพรรค ที่อาจเปิดช่องให้แกนนำม็อบทุกสีเสื้อเข้ามาจัดตั้งพรรคและเป็นสมาชิกพรรคได้ ทางฝ่ายค้านจะเสนอให้ตัดข้อความทิ้ง นายชินวรณ์ กล่าวว่า มีความคิดเห็นของฝ่ายค้าน แต่คิดว่าการร่างกฎหมายจะไปยึดเอาตัวบุคคลบางกลุ่มมาเป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจไม่ได้ เราต้องยึดกฎหมายที่ทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง ดังนั้น พรรคการเมืองต้องไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำด้วยบุคคลภายนอก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปชป. ระดม สส.-สาขาพรรค ช่วยน้ำท่วมใต้ เปิดครัวทุกพื้นที่

ปชป.พรึ่บ! ระดมช่วยน้ำท่วมใต้ ตั้งครัวกระจายทุกพื้นที่ 'เฉลิมชัย' สั่ง สส.- สาขาพรรค เกาะติดพื้นที่ บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน

‘อภิสิทธิ์’ ปัดข่าวลือซุ่มตั้งพรรคใหม่ ย้ำหาก ‘ปชป.’ ยังเป็นแบบนี้ ไม่มีทางคัมแบ็ก

ขณะนี้ ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด  ที่ก็ไม่แปลกเพราะขณะนี้หาพรรคการเมืองที่เราคิดว่าเราสนิทใจในการที่จะเป็นสมาชิกพรรคไม่ได้อยู่แล้ว

‘รองโฆษกปชป.’ จี้รบ.เร่งช่วย 4 ลูกเรือ แนะเจรจาพื้นที่ทับซ้อนเพื่อชาวประมงสองฝั่ง

รัฐบาลไทยควรจะ 1.เร่งรัดนำชาวประมงไทยและเรือประมงไทยกลับสู่ประเทศไทยโดยเร็ว และ 2. รัฐบาลไทยควรที่จะเจรจาร่วมกันในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่พิพาทอยู่

'พิพัฒน์' ปัด ภท.-รทสช. ฮั้วกันหนุน 'ถาวร' ชิงนายก อบจ.สงขลา

'พิพัฒน์' ปัดข่าว ภท.-รทสช. จับมือส่ง 'ถาวร' ชิง นายก อบจ.สงขลา ยันไม่เคยคุย 'พิมพ์ภัทรา' หลังลือจ่อย้ายซบพรรคนํ้าเงิน รับภูมิใจไทยอยากครองภาคใต้เพิ่ม แต่ไม่ใช้วิธีฮั้วรวมกันตี