ม.สยามโพล เปิดผลสำรวจพบคนกรุงชอบ 'ผู้ว่า-ส.ก.' ไม่สังกัดพรรค

สิงห์สยามโพล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เปิดผลสำรวจความคิดเห็น “การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร”

5 เม.ย.2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง วันที่ 30 มีนาคม – 2 เมษายน 2565 ด้วยแบบสอบถามจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,242 ตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) โดยเบื้องต้นใช้วิธีการแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 เพื่อเลือกพื้นที่ในการเก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เพื่อเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป

ผลการสำรวจ พบว่า

1) ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานครควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 900 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 และเห็นว่าควรสังกัดพรรคการเมืองจำนวน 342 คน คิดเป็นร้อยละ27.5

2) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 792 คน คิดเป็นร้อยละ 63.8 และเห็นว่าควรสังกัดพรรคการเมืองจำนวน 450 คน คิดเป็นร้อยละ 36.2

3) กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานครสังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 552 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกลจำนวน 378 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 อื่นๆ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคพลังประชารัฐจำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทยจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 4.3

4) กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 537 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 อื่นๆ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 พรรคพลังประชารัฐจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทยจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4

5) คุณลักษณะของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครข้อใดสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ จำนวน 429 คน คิดเป็นร้อยละ 34.5 รองลงมาคือ มีภาวะผู้นำ จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 ซื่อสัตย์สุจริต จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 มีคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 12.1 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 6.5 ยึดมั่นในกฎระเบียบ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 และสุดท้ายคือ อื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

6) คุณลักษณะของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ข้อใดสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ จำนวน 442 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6 รองลงมาคือ ซื่อสัตย์สุจริต จำนวน 257 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 มีคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 9.7 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 มีภาวะผู้นำ จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 8.7 ยึดมั่นในกฎระเบียบ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ .5 และสุดท้ายคือ อื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

7) ความสนใจในประเด็นหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการแก้ปัญหาจราจร จำนวน 498 คน คิดเป็นร้อยละ 40.1 รองลงมาคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ใช้ชีวิตปกติ จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 แก้ปัญหาอื่นๆ จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 แก้ปัญหาน้ำท่วมจำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 10.1 และสุดท้ายคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ท่องเที่ยวได้ จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6

8) ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักการเมือง จำนวน 501 คน คิดเป็นร้อยละ 40.3 รองลงมาคือ นักธุรกิจ จำนวน 381 คน คิดเป็นร้อยละ 30.7 อาชีพอื่นๆ จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 15.0 ทหาร จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ข้าราชการ จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 อาจารย์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 และสุดท้ายคือ ตำรวจจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ.5

9) ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักธุรกิจ จำนวน 351 คน คิดเป็นร้อยละ 28.3 รองลงมาคือ นักการเมือง จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 อาชีพอื่นๆ จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 21.5 อาจารย์ จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 13.8 ข้าราชการ จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 และสุดท้ายคือ ทหาร จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 4.1

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไชยันต์' ตั้งปุจฉา 'ไม่มีสมบูรณาญาสิทธิราชก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง'

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีสม

'ไชยันต์' ยกกฎหมายฝรั่งเศสเทียบไทย ชี้แทรกแซงสถาบันมีโทษยุบพรรคตามกฎหมาย

นายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารู้เรื่องการเมืองฝรั่งเศสกันครับ”

นักวิชาการชม 'บิ๊กทิน' แก้กฎหมายป้องกันรัฐประหาร ชี้เป็นสารตั้งต้นปรับภาพลักษณ์กองทัพ

นักวิชาการ มอง 'สุทิน' เป็นหน้าเป็นตาให้รัฐบาล ถ้าจะปรับออกถือว่าคิดพลาด ชี้แก้กฎหมายป้องกัน รปห. เป็นสารตั้งต้นปรับภาพลักษณ์กองทัพ เพิ่มความสง่างาม ทำได้เพราะผู้นำเหล่าทัพมีหัวสมัยใหม่

'วิโรจน์' ขอพักรักษาตัว 1-2 เดือน เหตุป่วยเรื้องรัง มั่นใจจะกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ขออนุญาตพักรักษาตัว สัก 1-2 เดือนนะครับ