เช็กผลโพล ถึงวันเลือกตั้ง กาพรรคอะไร

2 เม.ย.2565 - นายวิวัฒน์ เลาหบุตร์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ทุกข์หนี้สินของประชาชน กับ การเมืองที่ต้องแก้ไข กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,233 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 1 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 53.6 ทุกข์มากถึงมากที่สุดจากปัญหาหนี้สินในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตโควิดขณะนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 24.2 ทุกข์ปานกลาง และ ร้อยละ 22.2 ทุกข์น้อยถึงไม่ทุกข์เลย

เมื่อจำแนกออกตามอาชีพ พบว่า กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ทุกข์มากถึงมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มค้าขาย อาชีพอิสระ ร้อยละ 57.6 กลุ่มอื่น ๆ เช่น ว่างงาน เกษียณอายุ ร้อยละ 57.1 กลุ่มนักศึกษา ร้อยละ 51.6 กลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 48.1 และกลุ่มพนักงานเอกชน ร้อยละ 42.4 ที่ทุกข์มากถึงมากที่สุดเรื่องปัญหาหนี้สิน ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อแบ่งออกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในภาคใต้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.6 ทุกข์มากถึงมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 59.7 ภาคอีสานร้อยละ 52.8 ภาคเหนือร้อยละ 41.8 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 34.4 ตามลำดับ

เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุด ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด พบว่า พรรคเพื่อไทย (นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค) มาอันดับที่ 1 ได้ร้อยละ 20.5 รองลงไปอันดับที่ 2 คือ ก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค) ได้ร้อยละ 16.5 อันดับที่ 3 ได้แก่ พลังประชารัฐ (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค) ร้อยละ 16.3 อันดับที่ 4 ได้แก่ ประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค) ร้อยละ 11.0 อันดับที่ 5 ได้แก่ สร้างอนาคตไทย (นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค) ร้อยละ 6.6 อันดับที่ 6 ได้แก่ ไทยสร้างไทย (คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้ก่อตั้งพรรค) ร้อยละ 6.3 และอื่น ๆ ได้แก่ ภูมิใจไทย เสรีรวมไทย เศรษฐกิจไทย ไทยภักดี เป็นต้น รวมกันได้ร้อยละ 22.8

นาย วิวัฒน์ เลาหบุตร์ รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ในส่วนของประชาชน ความรู้สึกเป็นทุกข์ของเกษตรกรและผู้ค้ารายย่อย คือความยากลำบากพื้นฐานของกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อยหรือรายได้ไม่แน่นอน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ตลอดระยะเวลาช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นเวลาที่ยาวนานต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาลงลึกและจำแนกเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกทุกข์กับการเลือกพรรคการเมือง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป อนุมานได้ว่า การเลือกพรรคได้รับอิทธิพลจากข้อเท็จจริงว่ากลุ่มอาชีพมีทางออกให้กับตนเองในด้านรายได้หรือไม่ สังเกตได้จากข้อมูลเชิงสถิติว่า กลุ่มอาชีพที่ยังคงมีรายได้ประจำ แม้จะรู้สึกทุกข์ในระดับมากถึงมากที่สุด มีวิธีการตัดสินใจเลือกพรรคแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากกลุ่มอาชีพผู้มีรายได้น้อยหรือรายได้ไม่แน่นอน ส่วนกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกหรือกลุ่มอายุ 18-23 มีลักษณะการตัดสินใจที่แตกต่างไปจากสองกลุ่มอาชีพข้างต้นอย่างเห็นได้ชัดว่า เป็นการเลือกตามอุดมการณ์นิยมมากกว่าปฏิบัตินิยม และที่น่าจับตามองคือ พรรคสร้างอนาคตไทย กับ พรรคไทยสร้างไทย ที่มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างสมเหตุสมผลว่า คะแนนนิยมที่ได้มาจากปัจจัยใดระหว่าง ตัวบุคคล ผลงานในอดีตหรืออุดมการณ์

นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล นักวิชาการอิสระด้านการเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่า จากผลโพลจะเห็นว่าความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองกำลังกลายเป็น “เบี้ยหัวแตกพรรคการเมือง” ไม่มีใครชนะขาด เพราะฝ่ายการเมืองอาจจะยังไม่มีเครื่องมือหรือกลไกที่ดีมากเพียงพอ ในความเห็นคือ ปัญหาหนี้สินไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะรัฐบาลมีกลไกหรือเครื่องมืออยู่แล้ว จึงต้องทบทวนว่าปัญหาหนี้ที่เป็นทุกข์ใหญ่สุดของประชาชนเวลานี้ เป็นเพราะวิกฤตที่ทับถม หรือเป็นเพราะกลไกและเครื่องมือแก้ปัญหาที่มีอยู่ไม่เพียงพอ หรือกลไกไม่ดีพอ หรือกลไกไม่ทำงาน จึงต้องเร่งรัดสั่งการให้มีการแก้ไข และที่น่าห่วงที่สุดคือปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เพราะเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ที่ดินทำกินซึ่งเป็นสมบัติเดียวของเกษตรกรที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันถูกบังคับคดีและเกิดปัญหาสูญเสียที่ดินตามมา และปัญหาหนี้สินประชาชน คือโจทย์ใหญ่ที่พรรคการเมืองที่อาสาเข้ามาทำงาน ต้องหาเครื่องมือหรือกลไกแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนทั้งประเทศได้ตรงเป้าหมายอย่างเร่งด่วน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โธ่!บุคคลสาธารณะ 'ชูศักดิ์-เพื่อไทย' จ่อฟ้อง 'ธีรยุทธ'

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องกลับนายธีรยุทธ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

'อังกินันทน์' ชนะขาด! ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.เพชรบุรี'

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี (อย่างไม่เป็นทางการ) ณ เวลา 23.59 น. โดยนับครบแล้วทั้ง 734 หน่วยเลือกตั้ง

ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.อุดรธานี' อย่างไม่เป็นทางการ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี

โค่นแชมป์เก่า! 'วาริน' คว้าชัย 'นายก อบจ.เมืองคอน' ทิ้งห่าง 'กนกพร'

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช อย่างเป็นทางการ ประกาศว่า นางสาววาริน ชิณวงศ์ ผู้สมัครหมายเลข 2 จากทีมนครเข้มแข็ง

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ