ปธ.กมธ.กฎหมายลูก ชี้โหวตเบอร์บัตรเลือกตั้ง เสียงสูสี ป้องเบอร์เดียวทั้งปท. ไม่ขัดรธน. ลั่นครั้งแรกของดออกเสียง ด้าน "ศักดิ์สยาม" เผย ภท.ได้ทุกอย่าง
29 มี.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช. สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่...) พ.ศ.... ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวที่ฝ่ายรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีความชัดเจนว่าจะลงมติโหวตบัตรเลือกตั้งสองใบคนละเบอร์ ว่า คาดว่าน่าจะมีความเห็นเป็น 2 ทาง แต่ต้องขอรอดูที่ประชุมกมธ. ว่าจะมีการเสนอทางเลือกที่ 3 หรือไม่ แต่ใน 2 ความเห็นดังกล่าวก็ต้องมีการลงมติในวันที่ 30 มีนาคมนี้ จะให้กระบวนการพิจารณาเดินหน้าต่อไป ส่วนใครจะลงมติแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละฝ่าย
เมื่อถามว่า ในฐานะประธานกมธ. คิดว่าการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบเบอร์เดียวจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า อย่าไปพูดถึงประเด็นการขัดรัฐธรรมนูญเลยเพราะเป็นการร่างกฎหมายที่ต้องพิจารณาโดยไม่เกินหลักการ ขณะนี้ร่างที่พิจารณาเป็นหลักไม่ได้มีรายละเอียดในแง่ของวิธีที่จะได้มาของแต่ละบัตรเลือกตั้ง แต่ในส่วนร่างของพรรคเพื่อไทย (พท.) เสนอให้เปิดรับสมัครส.ส.เขตก่อน โดยไม่ยังไม่แจกเบอร์เมื่อเปิดรับสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ และแจกเบอร์แล้วก็ให้นำไปใช้ทั้งประเทศ ทั้งนี้การพิจารณากฎหมายดังกล่าวจะอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขกันมาคือหลักการบัตรสองใบ เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งได้ง่าย และทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง นอกจากนี้จะต้องนำสถิติบัตรเสียและบัตรดีจากการเลือกตั้งโดยใช้บัตรทั้งสองแบบที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
"ประเด็นว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ผมมั่นใจว่าเราร่างภายใต้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย โดยในกมธ. มีอดีตรัฐมนตรีจากหลายกระทรวง และยังมีคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ไม่มีปัญหา และไม่ผิดรัฐธรรมนูญ" นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต กล่าวว่า ในฐานะที่ตนทำหน้าที่ควบคุมการประชุม กมธ. ในวันที่ 30 มีนาคมตนจะไม่ลงมติในครั้งแรก เพื่อจะดูว่าเสียงส่วนใหญ่จะเป็นไปในทิศทางใด แต่หากเกิดกรณีเสียงเสมอกัน ตนจะลงมติชี้ขาด ส่วนจะลงไปในทิศทางใดก็รอให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก่อน
เมื่อถามว่า มีความกังวลต่อบทบาท ส.ว. ทั้งในชั้นกมธ. และการพิจารณาวาระ 2 และวาระ 3 หรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า ตนไม่กังวลเพราะถือเป็นเอกสิทธิของสมาชิกที่จะลงมติ แต่ตนขอเพียงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า คาดว่าการลงมติผลจะออกมาเป็นอย่างไรนายสาธิต หยุดคิดก่อนนับนิ้วแล้วจึงตอบว่า "ขณะนี้ถือว่า สถานการณ์สูสี"
ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวว่า รอมติจากที่ประชุม กมธ. ส่วนพรรค ภท. นั้นเราได้ทุกอย่าง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง