'จาตุรนต์' จี้รื้อโครงสร้างกองทัพ-ตุลาการ อำนาจไม่ยึดโยงปชช. ป้องกันรัฐประหาร

"จาตุรนต์" ชี้​คนที่มาจากการเลือกตั้งถูกตรวจสอบโดยคนที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชน​ โอดองค์กรอิสระไม่สามารถตรวจสอบได้ 

25​ มี.ค.2565 - คณะสังคมศาสตร์​ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์​วิโรฒ​ จัดการเสวนาเวทีสาธารณะ​ 30 ปีพฤษภาประชาธรรม​ เหตุการณ์​ 17 พฤษภาคม​ 35 กับการพัฒนาประชาธิปไตย​ โดยนายจาตุรนต์​ ฉายแสง​ อดี​ตรอง​นายก​รัฐมนตรี​ กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนาว่า​ สิ่งที่รัฐธรรม​นูญ​ และการบริหาร​ปกครองจากปี​ 2535 เรื่อยมา​ ที่ไม่ได้ทำคือการปรับปรุงโครงสร้าง​บทบาทของกองทัพ​ ทำให้กองทัพสะสมอำนาจบารมีของตัวเองมาเรื่อยๆไม่ได้ถูกทำให้กองทัพต้องปรับตัวให้มีประสิทธิภาพ​ แ​ยกตัว​ออกจากการเมือง​ รวมถึงไม่ได้ปรับโครงสร้างตุลาการทำให้ฝ่ายตุลาการยังคงเป็นอำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน​ จึงเป็นเหตุให้นำเอาฝ่ายตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้องแทรกแทรงเพื่อจะจัดการกับการเมือง​ ซึ่งฝ่ายตุลาการแผงฤทธิ์​เมื่อปี​ 2548-2549 หลังจากการรัฐประหาร​ได้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายตุลาการ​ และองค์กร​อิสระ​ โดยในช่วงหลังที่มาขององค์กรอิสระผู้ที่มีตำแหน่งเป็นกรรมการก็ถูกครอบโดยฝ่ายตุลาการ​ ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุล​โดยประชาชนแม้แต่น้อย​ ซึ่งระบบนี้มีความ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกับกองทัพที่มีแนวโน้มที่จะยึดอำนาจเมื่อไม่​พอใจรัฐบาล​ที่มาจากการเลือกตั้ง​ และก็สร้างระบบแบบนี้ให้แข็งแรง

"ย้อนกลับไปปี​2535 มีการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง​ โดยการยึดอำนาจ​ และสืบทอดอำนาจโดยรสช.​มีความพยายามแก้รัฐธรรมนูญ​ในบางประเด็น​ให้เป็นประชาธิปไตย​มากขึัน​ และมีศักย​ภาพ​ที่ดีไปสู่การปฏิรูป​การเมือง​ แต่สิ่งที่คาดไปคือความเชื่อในหลักเสรี​ประชาธิปไตย​ ความเชื่อในระบบรัฐสภา​ และความเชื่อที่ว่าประชาชนจะต้องเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของบ้านเมือง​ และแนวความคิดที่ไม่เชื่อก็พัฒนาไปสู่การสร้างระบบที่ทำให้ผู้ที่​มี​อำนาจจริงๆคือผู้ที่ไม่เชื่อในระบบเลือกตั้ง​ ไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตย​ กลับกลายเป็นประเทศนี้ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งจะถูกตรวจสอบ​ หรือถ่วงดุล​ โดยผู้ที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชน​ และผู้ที่มีอำนาจมหาศาลที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชนไม่ต้องถูกตรวจสอบโดยระบบรัฐสภา​ หรือประชาชนใดๆเลย"นายจาตุรนต์​ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' ชี้นักการเมืองไม่ใช่อาชญากร บทลงโทษไม่ควรรุนแรงถึงขั้นตัดสิทธิ-ยุบพรรค 

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีสถานการณ์การเมืองปี 2568 มีโอกาสเกิดคดีความที่นำมาสู่การยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ สส. ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัย

'ชูศักดิ์' ดักคอฝ่ายค้านยื่นซักฟอก บอกปม 'ชั้น14-MOU44' คุยนานแล้วไม่มีน้ำหนัก

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบมีการลงมติตามมาตรา 151 ในสมัยประชุมนี้ว่า ถือเป็นสิทธิของฝ่ายค้าน แต่ตนคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นขึ้นอยู่กับประเด็น

เชือดนิ่มแต่เจ็บจี๊ด! 'นิพิฏฐ์' ตอกกลับ 'เด็จพี่-พายัพ' ตำหนิ 'ชวน หลีกภัย'

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สันดานเดียวกัน คบกันได้ ผมอ่านข่าว นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และ นายพายัพ ปั้นเกตุ ออกมาวิจารณ์ท่านชวน

'ภูมิธรรม' มั่นใจรัฐบาลอยู่ครบเทอม 4 ปีแน่!

'ภูมิธรรม' มั่นใจรัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี เชื่อปี 68 ไม่มีเหตุวุ่นวายนำสู่รัฐประหาร ชี้ ปชต.ไม่ควรสะดุดขาดตอน ย้ำสัมพันธ์ทหารดีมาก มอง 'ยิ่งลักษณ์' กลับไทยธรรมดาของคนอยู่ ตปท.