'สาธิต' ลั่นไร้เหตุผลคว่ำกฎหมายลูกวาระสาม

'สาธิต' มั่นใจไร้เหตุคว่ำ กม.ลูก วาระ 3 ชี้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาอย่างมีกระบวนการ ระบุหากเกิดเดดล็อกเป็นหน้าที่นายกฯ จัดการ

16 มี.ค.2565 - นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมคณะ กมธ.ถึงกระแสข่าวจะมีการคว่ำร่างกฎหมายลูกในวาระ 3 ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติมีกระบวนการพิจารณากฎหมายอยู่แล้ว เริ่มตั้งแต่เสนอกฎหมาย ตัวแทนของแต่ละพรรคเป็น กมธ. มีการกลั่นกรอง มีการแสดงความคิดเห็นในชั้นคณะ กมธ. และหากไม่เห็นด้วยก็สามารถแปรญัตติได้อีก ถือได้ว่าผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็นและพิจารณากันมา ฉะนั้น จึงมั่นใจว่าจนถึงขณะนี้ไม่มีเหตุใดจะล้มหรือคว่ำกฎหมายลูก ในวาระ3 หากการพิจารณาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

เมื่อถามว่ายังมีบางฝ่ายต้องการกลับไปใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว โดยอาจใช้ กมธ.ทำให้เกิดเดดล็อกทางการเมือง นายสาธิต กล่าวว่า ความเห็นนี้อาจเป็นจุดแข็งของคณะ กมธ. เพราะเป็นความเห็นต่างในแต่ละฝ่าย แต่สุดท้ายความเห็นที่เป็นอิสระในชั้น กมธ. จะเป็นเกราะป้องกันในข้อสรุปของการแก้ไขกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การลงมติในแต่ละส่วนก็ต้องเป็นไปตามหลักการ ซึ่งหากลงมตินอกหลักการก็คงยอมไม่ได้ เพราะเราตกลงกันแล้วในคณะกมธ.

ถามต่อว่าหากในวาระ 3 กฎหมายลูกถูกตีตกไป จะมีแผนรองรับอย่างไร นายสาธิต กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ที่เป็นเครื่องมือของการยุบสภา เป็นเครื่องมือของการเตรียมพร้อมเลือกตั้งตกไป ก็จะเกิดเดดล็อก ฉะนั้น หากอุบัติเหตุเกิดขึ้นในฝ่ายนิติบัญญัติ การนำเสนอเข้ามาหรือการออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ก็เป็นอำนาจโดยตรงของนายกรัฐมนตรี ซึ่งตรงนี้อยู่นอกเหนือของคณะ กมธ. ไปแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จุลพันธ์' แก้เกี้ยวบอกเอกสารไม่ครบเลยแขวนดิจิทัลวอลเล็ต!

'จุลพันธ์' คาดอีก 1-2 สัปดาห์นำ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' กลับมาถกในกมธ.งบฯ ได้ บอก เป็นปกติที่ต้องแขวนหากเอกสารไม่ครบ กำชับงวดหน้าปลัดต้องเข้ามาแจงเอง โวนำกลับมาพิจารณาใหม่ไร้ปัญหาผ่านราบรื่น

‘เทพไท’ สะกิดจับตา 'กมธ.งบประมาณ' แหล่งหาประโยชน์ ของนักตบทรัพย์  

ขอให้สังคมและสื่อมวลชน ได้จับตาการทำงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้อย่างใกล้ชิด ว่ามีการหาประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ เหมือนกับการพิจารณางบประมาณในปีก่อนๆหรือไม่