'นิกร' จ่อถก กมธ.กฎหมายลูก ปมไพรมารีโหวต ชี้เจตนารมณ์ รธน.ไม่มีแต่แรก

10 มี.ค.2565 - ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…)พ.ศ…. ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมกมธ. กรณีการทำไพรมารีโหวต ว่า พรรคการเมืองไม่น่ามีปัญหา แต่ฝ่ายส.ว. เห็นแย้ง เพราะขัดกับหลักการ โดยในร่างหลักคือร่างของพรรคร่วมรัฐบาลจะไม่มีการทำไพรมารี แต่จะมีการฟังความเห็นจากตัวแทนสาขาและตัวแทนประจำจังหวัด ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45

นายนิกร กล่าวว่า ส่วนเรื่องตัวแทนประจำจังหวัด ซึ่งเป็นกฎหมายที่มาจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งระหว่างที่ยกร่างอยู่นั้น ไม่มีส.ส.หรือพรรคการเมืองเข้าไปให้ความเห็นจึงมีปัญหา การเลือกตั้งที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ก็ต้องปัดทิ้ง เพราะทำไม่ได้ในเรื่องตัวแทนประจำเขต ร่างของพรรคร่วมรัฐบาลจึงกำหนดให้ใช้ตัวแทนประจำจังหวัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายลูกที่นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เสนอ เน้นเรื่องคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกพรรค ซึ่งตนเห็นด้วย เพราะการเป็นสมาชิกไม่ควรจะต้องมีข้อจำกัดจำนวนมากเหมือนคุณสมบัติการเป็นส.ส. โดยวิธีการพิจารณาจะยึดร่างของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นหลักและพิจารณาไปทีละมาตรา ร่างนี้มีจำนวนมาตรามาก ซึ่งความเห็นจะแบ่งออกเป็นฝ่ายส.ว.และส.ส. ซึ่งจะต้องพูดคุยกัน

เมื่อถามว่า หากปรับขั้นตอนไพรมารีโหวตจะถือว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ เพราะตอนยกร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่มีการเสนอมาในวาระแรก นายนิกร กล่าวว่า ตนเตรียมจะเสนอหักล้างอยู่ เพราะสมัยนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอร่างเข้ามาไม่มีไพรมารี ฉะนั้น หากจะบอกว่าเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญให้มีไพรมารีก็พูดไม่ได้ แต่เป็นการเพิ่มเข้าไปภายหลัง เรื่องนี้ตนเตรียมข้อมูลไว้แล้วว่าจะเอาร่างของกรธ.มาเป็นข้อโต้แย้ง

ถามต่อว่าเมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ในฐานะประธานกมธ. วางกรอบจะทำกฎหมายลูกให้เสร็จภายในเดือนเม.ย. ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะเสนอให้รัฐสภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาในวาระ 2-3 หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า เมื่อวานนี้ตนเป็นคนเสนอให้มีการปรับการพิจารณาจากที่เริ่มประชุมเวลา 10.30 น. เป็นเวลา 09.30 น. เพื่อเร่งเวลา ทั้งนี้ เราไม่ได้เคาะว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ แต่สิ้นเดือนมี.ค. เราจะมาคุยกันอีกครั้งว่าตกลงจะให้เสร็จเมื่อใด หากเราต้องการจะเร่งก็เพิ่มวันประชุมเป็น 4 วันต่อสัปดาห์ก็สามารถทำได้ โดยหลักการขณะนี้คือทำให้เสร็จ เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยหน้าก็นำเข้าสภาโดยไม่ต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ แต่หากต้องมีเหตุจะต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญจะต้องคุยกับประธานรัฐสภา เราเปิดเองไม่ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง