วัฒนาลั่นไม่หนี ศาลฎีกาตัดสิน ทุจริตเอื้ออาทร

"วัฒนา เมืองสุข" ลั่นไม่หนี 4 มี.ค. เดินทางไปศาลฎีกา นัดอ่านคำพิพากษาทุจริตบ้านเอื้ออาทร โวยข้อกล่าวหาเอาผิดถูกแต่งขึ้นมา ปัดเรียกรับผลประโยชน์เอกชน ซัดกระบวนการตรวจสอบ คตส. จับตารอลุ้นผลคดี ยกฟ้องหรือยืนจำคุก 50 ปี ทนายวัฒนาย้ำไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหา

วันที่ 4 มีนาคม เวลา 14.00 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาฯ ได้นัดอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาในชั้นอุทธรณ์ ในคดีทุจริตการก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ ที่เกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คดีนี้ศาลฎีกาได้เคยตัดสินคดี ไปเมื่อ 24 ก.ย.2563 โดยศาลฎีกาตัดสินจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าว อาทิ นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 รวมความผิด 11 กระทง กระทงละ 9 ปี รวม 99 ปี แต่คงจำคุกจริง 50 ปี ซึ่งศาลฎีกาได้ตัดสิน และต่อมาศาลฎีกาให้ประกันตัวนายวัฒนา โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน 10 ล้านบาท

นายวัฒนา เมืองสุข ที่ปัจจุบันเป็นประธานคณะกรรมการกฎหมายและการเมือง พรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า วันศุกร์ที่ 4 มี.ค. จะเดินทางไปยังศาลฎีกา สนามหลวง ตั้งแต่ก่อนเที่ยง เพื่อเตรียมตัวรับฟังการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาในชั้นอุทธรณ์ ที่ศาลจะเริ่มอ่านตั้งแต่เวลา 14.00 น. ยังมั่นใจกับกระบวนการสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ ที่ผ่านมาการสอบสวนดำเนินคดีกับตนเองตั้งแต่เริ่มต้นมันไม่มีอะไรถูกต้องเลยสักเรื่อง หลักสำคัญของการดำเนินคดีอาญามันมีหลักสำคัญ 3 อย่าง อย่างแรกคือต้องครบองค์ประกอบของกฎหมาย ข้อกล่าวหาที่กล่าวหาตน ในความเป็นจริงตนไม่ได้มีอำนาจอะไรตามที่เขากล่าวหา (การอนุมัติโครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร) ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบการกระทำความผิดแล้ว

อันที่สอง พยานหลักฐานที่ได้มาจะต้องได้มาโดยชอบ แต่คดีของตนเกิดจากการจูงใจทั้งสิ้น ที่มีหลักฐานอยู่ในสำนวนคดีที่เห็นชัดเจนว่ามีการพยายามจูงใจพยานในคดีนี้ ทั้งหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ และหนังสือที่นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทรของ คตส. ที่บอกเองว่าได้มีการต่อรองกับพยานว่าหากพยานให้ความร่วมมือก็จะไม่ฟ้องคดี แบบนี้เรียกว่าการต่อรองหรือไม่ เพราะเป็นพยานที่เขาเรียกตามกฎหมายว่าพยานที่ให้คำมั่นสัญญา หรือจูงใจ ที่ศาลเขาห้ามอ้าง และสาม ข้อเท็จจริงที่เอาผิด มันถูกแต่งขึ้นมา

 “ถามว่าคุณเชื่อหรือว่าผมไปเรียกประชุมผู้ประกอบการบริษัทเอกชนที่ยื่นเรื่องประมูลการก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร แล้วเรียกเงินเขากลางที่ประชุม มีมนุษย์คนไหนไหมที่ไปเรียกรับเงินต่อหน้าที่ประชุมที่มีคนเยอะแยะ ถามว่ามนุษย์ที่ไหนจะทำ ประเด็นเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่รับฟังไม่ได้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงมันไม่มีอยู่จริง การเอาพยานมามัดเพื่อต้องการให้เป็นตามที่ฟ้องผม มันก็คือพยานเท็จ เพราะข้อเท็จจริงมันไม่มีอยู่จริง ก็เลยไปต่อรองและจูงใจ มีการให้คำมั่นสัญญาเพื่อแลกกับการไม่ฟ้องคดี ใครให้ความร่วมมือก็จะกันไว้เป็นพยาน มันก็คือพยานที่เกิดจากการจูงใจ และที่สำคัญ คดีอาญามันต้องครบองค์ประกอบความผิด ซึ่งความผิดตามมาตรา 148 คือต้องเป็นเจ้าพนักงานและใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งคนที่จะอนุมัติให้บริษัทใดได้โครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรแต่ละโครงการได้คือบอร์ดการเคหะแห่งชาติ ไม่ใช่ผม เพราะการเคหะฯ คือรัฐวิสาหกิจ รัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจตรงนั้น ดังนั้นจะมาฟ้องเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 ไม่ได้ เมื่อผมไม่มีอำนาจแล้วจะฟ้องเอาผิดผมได้ยังไง ผมจึงไม่ได้ทำอะไรผิด” นายวัฒนากล่าว

เมื่อถามถึงกรณีคำพิพากษาของศาลฎีกาตัดสินว่า นายวัฒนามีความผิดเพราะนายอภิชาติ หรือเสี่ยเปี๋ยง จำเลยในคดีเดียวกันนี้ ไปอ้างกับบริษัทรับเหมาว่าตนเองเป็นที่ปรึกษาแบบไม่เป็นทางการของนายวัฒนา แล้วไปเจรจากับบริษัทเอกชนเรียกค่านายหน้าโครงการนั้น เรื่องดังกล่าวนายวัฒนากล่าวว่า คนอื่นไปอ้างชื่อตน สิ่งสำคัญต้องดูว่าตนรู้เรื่องด้วยหรือไม่ ไม่อย่างนั้นก็ไปอ้างกันได้ทั้งโลก และมีหนังสือหลักฐานสอบถามไปที่สำนักงาน กันเลยหลังมีการสอบถามกันว่าตนเกี่ยวข้องอะไรหรือไม่ ก็มีการตอบว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วจะเอาตรงไหนมาบอกว่าตนรู้เห็นกับการที่เขา (นายอภิชาติ) เอาชื่อไปอ้าง เป็นการจินตนาการกันทั้งสิ้น

การพิจารณาคดีความผิดทางอาญาของตนในศาลฎีกาที่ตัดสินตนในชั้นต้น โดยปกติ การอ้างว่ามีตัวการ หลักคือต้องวินิจฉัยการกระทำของตัวการก่อน แต่คดีนี้ไปวินิจฉัยคนอื่นทั้งหมดก่อนว่าแต่ละคนทำอะไรบ้าง แล้วบอกว่าพวกนี้ทำไม่ได้ หากตนไม่รู้เรื่อง แต่ต้องวินิจฉัยก่อนว่าไปเรียกเงินเรียกทองจริงหรือไม่ก่อน  แล้วหากตนทำ ก็ต้องไปดูต่อว่าแล้วใครช่วยตนทำบ้าง เป็นเครื่องไม้เครื่องมือเป็นผู้สนับสนุน ทั้งหมดจึงมีความไม่ชอบมาพากลในทุกเรื่อง ตั้งแต่การตั้งข้อกล่าวหา การไต่สวนพยานที่ผิดกฎหมาย ข้อเท็จจริงมันไม่เข้าองค์ประกอบของกฎหมายด้วยซ้ำ แล้วมาลงโทษตนแบบนี้ มันก็คิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากเป็นการเมือง

"การเมืองก็ไม่ควรเข้าไปในศาล เพราะหากประชาชนไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมแล้ว ต่อไปก็ไม่มีทางตัดสิน นอกจากเอาปืนยัดใส่มือกัน ปืนใครใหญ่กว่ากัน ถ้าพึ่งพาศาลไม่ได้แล้ว แต่ก็โอเค ผมได้อุทธรณ์ในประเด็นเหล่านี้ไปแล้ว ผมก็สู้ไปทุกประเด็น เพราะการดำเนินคดีผมไม่มีอะไรที่ถูกต้อง ผมถึงยืนสู้ ผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่าความกล้าและความยุติธรรมที่ต้องตัดสินอย่างตรงไปตรงมา ก็เดินหน้าสู้กัน" นายวัฒนาระบุ

ด้านนายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ ทนายความของนายวัฒนา เมืองสุข เปิดเผยว่า นายวัฒนายืนยันจะไปฟังคำพิพากษาคดีโครงการบ้านเอื้ออาทรด้วยตัวเอง คดีนี้ได้อุทธรณ์และต่อสู้ทุกประเด็นว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง ปัจจุบันนายวัฒนามีสุขภาพแข็งแรง ยังช่วยงานคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย นายวัฒนาไม่ได้มีความกังวลใดๆ ที่มีผลให้ไม่ไปฟังคำพิพากษาหรือมีท่าทีจะหลบหนี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จ่อร้องยุบรัฐบาล! ‘วีระ’ อ้างเป็นกบฏทำ เสียดินแดน / ‘ผบ.ทร.’ ลงพื้นที่เกาะกูด

ผบ.ทร.ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกำลังพลหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด กำชับกำลังพลหากมีเรื่องใดขัดข้องให้รีบแจ้งเพื่อแก้ไข ขณะที่นายอำเภอเกาะกูดลั่นเป็นของไทยมากว่า

ฮือ! ขวาง ‘โต้ง’ ยึดธปท.

นักวิชาการ-กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ย้ำหากฝ่ายการเมืองเข้าไปเป็นบอร์ด ธปท. สุ่มเสี่ยงเกิดการกินรวบ เป็นหายนะต่อประเทศ “กองทัพธรรม” ขยับล่าชื่อต้าน

ปลื้ม ‘UN’ ชม แจก ‘สัญชาติ’ ยันไม่มี ‘สีเทา’

รัฐบาลปลื้มยูเอ็น ยกย่องไทยยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ โฆษกรัฐบาลยัน กลุ่มคนสีเทา หรือแรงงานต่างด้าว หรือผู้หลบหนีเข้าเมือง ไม่ได้สัญชาติไทย เผยเหตุให้รวดเดียว 4.8 แสนคน

นพดลวอนหยุดปั่นเกาะกูด ‘คำนูณ’ แนะชั่งข้อ ‘ดี-เสีย’

“นพดล” ย้ำ “เกาะกูด” เป็นของไทย เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ทำให้เสียดินแดน วอนเลิกบิดเบือนหวังผลการเมือง “คำนูณ” ชำแหละบันทึกความตกลง เป็นคุณกับกัมพูชามากกว่า

อดีตคนธปท.ต้านแทรกแซง

แรงต้านแทรกแซงแบงก์ชาติขยายวง อดีตพนักงาน ธปท.อีก 416 คน ร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก ยกจรรยาบรรณประธานบอร์ดห้ามเอี่ยวการเมือง เรียกร้องคณะกรรมการสรรหาฯ