ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ตีตกคำร้อง "ธาริต-เมีย" ชี้คำสั่งยึดทรัพย์ไม่ขัด รธน. รับวินิจฉัยคดียุบพรรคไทรักธรรม ให้แก้ข้อกล่าวหาใน 15 วัน ไม่รับคำร้อง "เรืองไกร" กล่าวหา "สมชาย-ศรีสุวรรณ" ใช้สิทธิล้มล้างการปกครอง ปมค้านอภัยโทษนักการเมืองโกง
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาหารือในคดีที่ศาลอุทธรณ์ส่งคำโต้แย้งของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และนางวรรษมล เพ็งดิษฐ์ คู่สมรส 2 ผู้คัดค้านในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ปช. 1/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ ปช. 1/2561 ร่ำรวยผิดปกติ เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 81 วรรคสอง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 81 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในคดีที่ร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ให้ผู้ถูกกล่าวหามีภาระการพิสูจน์ที่ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า ทรัพย์สินดังกล่าวมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25, 26, 27 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าว นายธาริต ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติ โดยพบว่ามีพฤติการณ์ให้ผู้อื่นถือทรัพย์สินแทนกว่า 346 ล้านบาท และถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบ กรณีดำรงตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอด้วย ต่อมาในปี 2564 เจ้าตัวถูก ป.ป.ช.ชี้มูลอีกครั้ง ในคดีร่ำรวยผิดปกติ และส่งศาลแพ่งยึดทรัพย์รอบใหม่ วงเงินกว่า 53 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มาตรา 81 ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ระบุว่า ให้อัยการสูงสุด หรือประธานกรรมการ แล้วแต่กรณี ดำเนินการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ตามมาตรา 80 ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในคดีที่ร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ให้ผู้ถูกกล่าวหามีภาระการพิสูจน์ที่ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าทรัพย์สินดังกล่าวมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ
วันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาหารือในคดีสำคัญ กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) โดยนายทะเบียนพรรคการเมือง ยื่นคำร้องว่ากรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคไทรักธรรม ชื่อเดิม พรรคไทยรักธรรม (ผู้ถูกร้อง) กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 30 โดยให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม เพื่อจูงใจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเหตุให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ของบุคคลผู้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกร้องและห้ามมิให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร พรรคการเมืองของผู้ถูกร้องและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองของผู้ถูกร้องตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 92 วรรคสอง และมาตรา 94 วรรคสอง
ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 30 เป็นเหตุให้ต้องดำเนินการยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 30 จึงมีคำสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (13) ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง แจ้งให้ผู้ร้องทราบ และส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาหารือในคดีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของนายสมชาย แสวงการ (ผู้ถูกร้องที่ 1) และนายศรีสุวรรณ จรรยา (ผู้ถูกร้องที่ 2) เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเสนอขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ที่ผู้ถูกร้องเห็นว่าไม่เหมาะสม อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอื่นใด ที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ถูกร้องทั้งสองมีพฤติการณ์หรือกระทำการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้อง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิด 11 ชื่อผู้สมัคร 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ปลัด ก.เกษตรฯ มาวันสุดท้าย
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน ระหว่างวันที่ 11-25 พฤศจิกายน 2567
ตั้งกก.สอบผกก.บางซื่อ ทนายปาเกียวเล็งทิ้งตั้ม
“ดีเอสไอ” เตรียมสรุปสำนวนคดี 18 บอสดิไอคอนเสนออัยการคดีพิเศษภายใน 20 ธ.ค.นี้
นิกรหักเพื่อไทย เตือนส่อผิดกม. ให้กมธ.ตีความ
“นิกร” หักข้อเสนอ “ชูศักดิ์” เลยช่วงเวลาแปลงร่างประชามติเป็นกฎหมายการเงินแล้ว
‘สนธิ’ลั่นการเมืองใกล้สุกงอม!
“อุ๊งอิ๊ง” เมินปม กกต.สอบครอบงำต่อ เด็ก พท.ยันเป็นการดำเนินการตามปกติ
จ่อส่งคดีหมอบุญให้DSI
ตร.สอบปากคำอดีตภรรยา-ลูกสาว “หมอบุญ” เพิ่มเติม
ทักษิณรอดคลุมปี๊บ! ส้มเหลวปักธงอุดรธานี ‘คนคอน’ตบหน้า‘ปชป.’
เลือกตั้ง อบจ. 3 จังหวัด “เพชรบุรี-อุดรธานี-นครศรีธรรมราช” ราบรื่น