ศาลรับคำร้อง ให้สว.สมชาย หยุดทำหน้าที่

ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง “สมชาย เล่งหลัก” หยุดปฏิบัติหน้าที่ สว. หลังมีมติเอกฉันท์รับวินิจฉัยคดีศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10  ปี พร้อมตีตก 7 คำร้องขอวินิจฉัยเลือก สว.ไม่ชอบ ชี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง ขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีนายสมชาย เล่งหลัก   สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ผู้ถูกร้อง ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ลต สส 338/2567 ลงวันที่ 23 ก.ย.67 พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของนายสมชายเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ว่าเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของนายสมชายสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 111 (4) ประกอบมาตรา 108  ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 48 (5) และขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายสมชายหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ 82 วรรคสอง และขอศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาของสมชายว่างลง นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟังตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 มาตรา 45 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561  มาตรา 36 วรรคหนึ่ง

เนื่องจากศาลพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสี่ ประกอบวรรคหนึ่ง และ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 7 (5) และให้นายสมชายยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 54

นอกจากนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องปรากฏเหตุอันควรสงสัย ว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง  จึงมีคำสั่งให้นายสมชายหยุดปฏิบัติหน้าที่ สว. ตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.67 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

วันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ, นายวัฒนา ชมเชย, ว่าที่ ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์, นายจิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง, นายปรีชา เดชาเลิศ, นางฤติมา กันใจมา, พล.ต.หญิง บุณญารัศมิ์ พัฒนะมหินทร์ และคณะ ซึ่งร้องว่า กกต. นายแสวง บุญมี เลขาธิการ  กกต. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด  จัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไม่เป็นไปโดยลับ ใช้ดุลพินิจในการรับสมัครผู้สมัครโดยไม่ชอบ ออกระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง ปล่อยให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ใช้กลไกกระทรวงมหาดไทย ทำให้การเลือก สว.ไม่เป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมายและมาตรฐานจริยธรรม และขอให้ศาลสั่งให้การเลือก สว.เป็นโมฆะ 

โดยศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีทั้ง 7 คำร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการจัดการเลือก สว.ของ กกต. และขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเกี่ยวกับการเลือก สว. เป็นกรณีตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 47 (2) ที่บัญญัติว่า “การใช้สิทธิยื่นคำร้องตาม มาตรา 46 ต้องมิใช่เป็นกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้.... (2) รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญได้กำหนดกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว” ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้นผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,