“นพดล” ย้ำ “เกาะกูด” เป็นของไทย เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ทำให้เสียดินแดน วอนเลิกบิดเบือนหวังผลการเมือง “คำนูณ” ชำแหละบันทึกความตกลง เป็นคุณกับกัมพูชามากกว่า เชื่อไม่มีทางเจรจาสำเร็จง่าย
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อดีต รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงกระแสเอ็มโอยู 44 อาจนำไปสู่การเสียเกาะกูดว่า เกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสมานานแล้ว ไม่มีใครสามารถยกเกาะกูดให้กัมพูชาได้ และไม่เคยได้ยินว่ากัมพูชาเรียกร้องสิทธิเหนือเกาะกูด จึงขอเรียกร้องให้เลิกปั่นกระแสไทยเสียเกาะกูดในขณะนี้ เพราะเป็นความเท็จ รัฐบาลนี้รักประเทศชาติ ไม่มีใครจะทำให้ไทยเสียดินแดน
นายนพดลกล่าวว่า เอ็มโอยู 44 ลงนามโดยนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.การต่างประเทศ ในขณะนั้น ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด แต่เป็นกรอบในการเจรจาเรื่องพื้นที่ทางทะเลและพื้นที่พัฒนาร่วม เนื่องจากทั้งไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกัน สองประเทศเลือกวิธีเจรจาทางการทูต จึงเป็นที่มาของเอ็มโอยู 44 และมีการระบุชัดเจนว่าเนื้อหาของเอ็มโอยู 44 และการเจรจาจะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของทั้งไทยและกัมพูชา อีกทั้งการเจรจานั้นจะต้องกระทำโดยคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (เจทีซี) คนอื่นไปเจรจาไม่ได้ แม้แต่ตัวนายกรัฐมนตรี
นายนพดลกล่าวอีกว่า ไม่อยากให้นำเรื่องดินแดนมาบิดเบือนใส่ร้าย อย่างเช่นที่ตนเคยถูกใส่ร้ายว่าเป็นคนยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา เรื่องนี้ตนถูกฟ้อง แต่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องตน และในคำพิพากษาได้ระบุว่าสิ่งที่ตนทำถูกต้องและประเทศจะได้ประโยชน์ ซึ่งถ้าไม่จุดกระแสคลั่งชาติเพื่อหวังผลการเมืองในขณะนั้น ไทยจะรักษาได้ทั้งดินแดนและความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา
อดีต รมว.การต่างประเทศระบุว่า คนไทยไม่ว่าเสื้อสีอะไรรักชาติเท่ากัน อย่านำประเด็นเรื่องดินแดนมาทำเป็นประเด็นการเมืองเพื่อหวังบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลเลย ถ้ารักชาติจริง ต้องเอาความจริงและข้อกฎหมายมาพูดกัน ทั้งนี้ การเจรจาตามกรอบเอ็มโอยู 44 จะต้องกระทำโดยคณะกรรมการเจทีซี ที่ผ่านมาประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพลังงาน กองทัพ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ซึ่งรักชาติและมืออาชีพ เป็นไปได้อย่างไรที่บุคคลเหล่านี้จะทำให้ไทยเสียดินแดน
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา ที่ติดตามเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชามาตลอด ให้ความเห็นเรื่องเอ็มโอยู 44 ไว้ดังนี้ ข้อเสียของ MOU 2544 1.ไทยไม่มีประเด็นใดๆ จะต้องเจรจาเรื่องกรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูด (อย่างน้อยก็ในส่วน “ตัวเกาะ”) เพราะเกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้วโดยสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1907 2.อาจเข้าข่ายว่าตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2544 วันที่ไทยจรดปากกาลงนามใน MOU 2544 ไทยยอมรับการคงอยู่โดยปริยายซึ่งเส้นเขตไหล่ทวีป ค.ศ.1972 ด้านทิศเหนือ ซึ่งประกาศโดยกฤษฎีกา 439/72/PRK ของกัมพูชา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 ทั้งๆ ที่ตลอด 29 ปีก่อนหน้านั้นไทยตอบโต้กัมพูชาทุกรูปแบบมาโดยตลอด และอาจเข้าลักษณะ “กฎหมายปิดปาก” หากต้องเป็นความขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ในอนาคต
หมายเหตุ ข้อหักล้างข้อเสียกรณีที่ 2 นี้คือประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุการรับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมานานแล้ว (การเข้าแก้ต่างในคดีปราสาทพระวิหาร ภาค 2 เมื่อปี 2556 เป็นการตีความคำพิพาทคดีเดิมเมื่อปี 2505) และรัฐบาลชุดนายเศรษฐา ทวีสิน ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 แจ้งให้ทุกหน่วยงานในทุกกระทรวงทบวงกรมทราบว่าประเทศไทยไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในทุกกรณี ให้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เรื่องนี้ผมได้ยื่นกระทู้ถามสดในวุฒิสภา เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นมาตอบยืนยัน ถือเป็นการบันทึกไว้ในวุฒิสภาแล้ว
3.สารัตถะใน MOU 2544 เป็นคุณต่อกัมพูชามากกว่าไทย ในพื้นที่ทั้ง 2 ส่วนของข้อตกลง คือ ส่วนบนเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ และส่วนล่างเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ ส่วนบนเส้น 11-กัมพูชาที่เสียเปรียบในการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน คือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 และข้ออื่นๆ ชนิดแทบจะไม่มีประตูสู้ได้เลย เหลืออยู่ประตูเล็กๆ ประตูเดียวที่จะอ้างว่ากัมพูชายังไม่ได้ให้สัตยาบัน UNCLOS 1982
4.การยอมรับพื้นที่ส่วนล่างเส้น 11 เป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์ทั้งหมด โดยนำเส้นเขตไหล่ทวีปนอกกฎหมาย ค.ศ.1972 ของกัมพูชามาเป็นเส้นกำหนดเขตแบ่งผลประโยชน์ทางทิศตะวันตก ทำให้กัมพูชาได้รับผลประโยชน์ในส่วนที่ไม่สมควรจะได้รับ หรืออีกนัยหนึ่ง ทำให้ไทยไม่ได้รับผลประโยชน์ในส่วนที่สมควรจะได้รับ 5.ทำให้การเจรจาจำกัดกรอบไว้ภายใต้รูปแบบเดียว ถ้าถึงทางตัน ก็ไปต่อไม่ได้ 6.หากยึดสารัตถะรูปแบบการเจรจาตาม MOU ก็เท่ากับเป็นการเจรจานอกกรอบ UNCLOS 1982 ที่ไทยเป็นภาคีสมาชิก 1 ใน 160 ประเทศ
นายคำนูณระบุอีกว่า ข้อดีของ MOU 2544 1.ทำให้มีกรอบการเจรจาที่ชัดเจน หมายเหตุ ข้อดีที่ 1 มีข้อหักล้างที่ว่าหากกรอบการเจรจานั้นมีข้อเสียมากกว่าข้อดี ทำให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบ จะนับเป็นข้อดีได้หรือ 2.ลักษณะ "ล็อกตัวเอง" ของ MOU 2544 ที่กำหนดให้เจรจาทั้ง 2 ส่วน คือ ส่วนบนเส้น 11 เจรจาแบ่งเขตแดน และส่วนล่างเส้น 11 เจรจาแบ่งผลประโยชน์จากปิโตรเลียม ไป “พร้อมกัน” และ “ไม่อาจแบ่งแยกได้” ทำให้การเจรจาไม่มีทางสำเร็จได้ง่ายๆ “พร้อมกัน” - to simultaneously “ไม่อาจแบ่งแยกได้” - as an indivisible package เพราะฝ่ายกัมพูชาต้องการเจรจาแต่เรื่องปิโตรเลียม ไม่ต้องการเจรจาเรื่องเขตแดน ฝ่ายไทยแยกเป็น 2 ความคิด กระทรวงการต่างประเทศต้องการเจรจาเรื่องเขตแดนให้ลุล่วงไปด้วยชัดเจนพร้อมกันเลย แต่ฝ่ายการเมืองบางส่วนและหน่วยงานด้านพลังงานต้องการเจรจาเรื่องปิโตรเลียมให้ลุล่วงไปก่อน
“เมื่อไม่สำเร็จ ประเทศไทยก็ยังไม่เสียผลประโยชน์ ไม่ว่าเขตแดน หรือปิโตรเลียม หมายเหตุ 1 - นี่เป็น “ข้อดีในด้านกลับ” ที่พรรคพวกผู้รู้ของผมบางท่านเมื่อได้ฟังแล้วก็บอกว่านี่เป็นทำนองเดียวกับสำนวนฝรั่งที่ว่า blessing in disguise เมื่อรัฐบาลยืนยันจะเอาแต่ MOU 2544 เราก็เฉยไว้ เพราะเดี๋ยวเราจะเจอ MOU ใหม่ที่ร้ายกว่าเก่า เช่น จะเจรจาเฉพาะเรื่องผลประโยชน์จากปิโตรเลียม หมายเหตุ 2 - บางคนในฝ่ายสนับสนุนเจรจาแบ่งผลประโยชน์จากปิโตรเลียมตีความแบบศรีธนญชัยว่าที่ MOU 2544 ระบุให้เจรจา 2 เรื่องพร้อมกัน และไม่อาจแบ่งแยกได้ ก็ไม่ได้บอกว่าต้อง "เสร็จพร้อมกัน" นี่นา มีตรงไหนกำหนดไว้บ้าง นำข้อเสีย 6 และข้อดี 2 มาชั่งน้ำหนักกันได้” อดีตสมาชิกวุฒิสภาระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว
วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน
'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน
ปปช.เปิดทรัพย์สิน 'ก่อแก้ว' สุดอู้ฟู่รวย 263 ล้านบาท
เปิดเซฟ 'ชัยธวัช ตุลาธน' อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล 19.3 ล้านบาท 'อภิชาติ' อดีตเลขาธิการพรรค 13.2 ล้านบาท 'ก่อแก้ว' อู้ฟู่ 263 ล้าน