“แพทองธาร” ตื่น! เรียกผู้เกี่ยวข้องถกสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน “สภาสูง” ชงญัตติด่วน ซูเปอร์โพลเผยคนกว่า 99% ต้องการปฏิรูประบบความปลอดภัยโดยรวม 81% โพลเผยถกสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน "ชี้บริษัทรถบัสต้องรับผิดชอบ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2567 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 10.40 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมในทุกรูปแบบ หารือเรื่องความปลอดภัยทางถนน ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรับฟังปัญหาการคมนาคมในทุกรูปแบบของประเทศ ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ รวมถึงแนวทางแก้ไขป้องกันทั้งระบบ โดยเฉพาะการเดินทางทางถนนให้มีความปลอดภัยได้มาตรฐานการคมนาคม
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าในการประชุมวุฒิสภาวันที่ 7 ต.ค. มีวาระพิจารณาที่สำคัญ คือญัตติด่วน เรื่องขอให้วุฒิสภาพิจารณาหาแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีเหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของนักเรียน เพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาดำเนินการ ซึ่งเสนอโดยนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. นอกจากนั้นในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การคมนาคม ที่มีนายวุฒิชาติเป็นประธาน ได้นัดประชุม กมธ. ในวันที่ 7 ต.ค. เวลา 13.30 น. เพื่อพิจารณากรณีไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก สมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วม
วันเดียวกัน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความปลอดภัยรถทัศนศึกษา ใครต้องรับผิดชอบ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ รวม 1,006 ตัวอย่าง โดยผลสำรวจเมื่อถามถึงความต้องการให้ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาสาเหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียน พบว่า 98% ต้องการ และ 2% ไม่ต้องการ ทั้งนี้ เมื่อถามความจำเป็นต้องมีทัศนศึกษานอกสถานที่ พบว่า 66.8% บอกยังจำเป็นต้องมีทัศนศึกษานอกสถานที่ และ 33.2% ไม่จำเป็น
ถามถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ต่อความปลอดภัยของรถทัศนศึกษา พบว่า 81.4% เจ้าของรถบัสทัศนศึกษา บริษัทบริการขนส่ง, 79.9% โรงเรียนที่จัดทัศนศึกษา, 67.9% กรมขนส่ง, 64.2% กระทรวงศึกษาธิการ และ 2.3% อื่นๆ
สอบถามถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของรถทัศนศึกษา ผลสำรวจพบว่า 98.6% ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบความปลอดภัย, 97.6% เตรียมความพร้อมและมีมาตรการรับมือฉุกเฉิน, 97.4% อบรมพนักงานขับรถให้มีมาตรฐานความปลอดภัย, 96.5% อบรมคณะครู ควบคุมการเดินทางปลอดภัย, 95.8% อบรมนักเรียน รู้จักเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ 94.3% ประเมินความเสี่ยงและตรวจสอบก่อนเดินทาง
“สุดท้ายเมื่อถามถึงความต้องการให้ปฏิรูปความปลอดภัยในการเดินทางทั้งระบบครอบคลุมทุกกลุ่ม พบว่า 99.2% ต้องการให้ปฏิรูปความปลอดภัยทั้งระบบครอบคลุมทุกกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะนักเรียน มีเพียง 0.8% ไม่ต้องการ”
สำนักวิจัยซูเปอร์โพลยังมีข้อเสนอแนะว่า 1.การตรวจสอบและบำรุงรักษา ควรมีการตรวจสอบความพร้อมของรถทัศนศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และใช้ขั้นตอนมาตรฐานในการประเมินความเสี่ยงก่อนการเดินทาง 2.การอบรมและเตรียมความพร้อม ควรมีการอบรมพนักงานขับรถ คณะครูและนักเรียน เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมรับมือฉุกเฉิน และ 3.การปฏิรูประบบความปลอดภัยโดยรวม เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกสถานการณ์การเดินทาง ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มนักเรียนเท่านั้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทอน-เท้งไม่กล้าแตะแม้ว ร้องกกต.ซื้อเสียง52เรื่อง
“อิทธิพร” ยืนยันความพร้อมเลือกตั้งสมาชิก-นายก อบจ.
งบปี69ยึด3เป้า ย้ำขรก.ใช้คุ้มค่า คัด‘ปธ.ธปท.’อืด
นายกฯ มอบนโยบายจัดทำงบปี 69 วาง 3 เป้าหมาย ไม่ลดสัดส่วนนักลงทุน-ไม่เพิ่มงบ-ไม่เพิ่มอัตรากำลัง
สภาไฟเขียว‘สุราชุมชน’ ตีปี๊บซอฟต์พาวเวอร์ไทย
มติสภาเอกฉันท์ 415 เสียง ไฟเขียว "กม.สุราชุมชน" เปิดโอกาสเกษตรกรรายย่อยผลิต-มีเครื่องกลั่นสุรา
อิ๊งค์หวิดโดนตุ๋น/3ทุนใหญ่งาบ
อึ้ง! "นายกฯ อิ๊งค์" หวิดโดนคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน
ลากทักษิณขึ้นเขียง แพทยสภาเปิดวอร์รูมตรวจเวชระเบียนชั้น14เร่งจบมี.ค.
แพทยสภาเข็นนักโทษเทวดาขึ้นเขียง “หมออมร” เปิดวอร์รูมนัดแรกตรวจเอกสารลับ
หนาวแน่ 'สนธิญา' ยื่นอสส.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 'นายกฯอิ๊งค์' ตั้ง 'ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ' ขัดรธน.
’สนธิญา‘ยื่น อสส.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นายกฯอุ๊งอิ๊ง ตั้ง 'ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ' เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ชี้พฤติการณ์สนับสนุนม๊อบเคยโดนตัดสิทธิทางการเมือง