"ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ" รับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า โตได้แค่ 3% ยากดีดถึง 4-5% แนะขยับโครงสร้าง เน้นลงทุน-มีเทคโนโลยีใหม่ ชี้มาตรการกระตุ้น ศก.หนุนจีดีพีแค่ชั่วคราว ยันดอกเบี้ย 2.5% เหมาะสม ปรับกรอบเงินเฟ้อต้องคุยกัน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า แต่กำลังกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นกลับไป 3% ในปี 68 แต่ถ้าจะให้กลับไปเท่าในอดีต 4-5% จะต้องปรับเปลี่ยน อยากให้เติบโตมากกว่านี้ต้องปรับโครงสร้าง เน้นการลงทุน เกิดเทคโนโลยีใหม่ ไม่ใช่จากการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจจะเติบโตช่วงหนึ่ง แต่จะกลับมาเท่าเดิม และ ธปท.ยังเป็นห่วงหนี้ครัวเรือนสูง รวมทั้งภาคการผลิตที่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง และจากการแข่งขันจากต่างประเทศมาซ้ำ เป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปรับลดลง จากปี 47-56 อัตราขยายตัวกำลังแรงงาน 1.2% อัตราเติบโตของผลิตภาพการผลิต 2.6% รวมแล้วศักยภาพการเติบโตเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 3.8% โดยจีดีพีจริงคือ 4% ใกล้เคียงกัน ส่วนปี 57-66 กำลังแรงงานขยายตัว 0.04% ผลิตภาพการผลิตเติบโต 2.6% รวมแล้วศักยภาพเศรษฐกิจเติบโต 2.7% มีจีดีพี 2.8% ซึ่งใกล้เคียงระดับศักยภาพ
“มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ธปท.มองเศรษฐกิจดีเกินไป ไม่เห็นความลำบากของคน โดยเรื่องนี้ ธปท.ดูแต่ตัวเลขไม่ได้ ได้รู้สึกหรือเห็นสิ่งที่หลายกลุ่มกำลังเจอ ซึ่งเรียนว่า ธปท.ทราบ เศรษฐกิจไม่ได้ดีขนาดนั้น ตัวเลขการฟื้นตัวเทียบกับโลกฟื้นตัวช้า เทียบประเทศอื่น แค่บอกว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว เติบโตต่อเนื่อง ทยอยฟื้นตัวเข้าศักยภาพ ที่สำคัญเห็นชัดคือการฟื้นตัวแง่ภาพรวมจีดีพี แต่เข้าใจดีว่าในการฟื้นตัวภาพรวม ซ่อนความลำบากและความทุกข์ประชาชนหลายกลุ่ม” นายเศรษฐพุฒิระบุ
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากข้อมูลมีประชาชนเดือดร้อนรายได้ฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระ รายได้กลับมา แต่มีหลุมรายได้หายไปมหาศาล รายจ่ายเพิ่มขึ้น แตกต่างจากคนรายได้ประจำยังมีรายได้ ขณะที่เงินเฟ้อต่ำไม่ได้หมายความว่าราคาสินค้าถูกลง ราคาขึ้นไปแล้ว แต่ไม่ลดลง เมื่อเทียบราคาสินค้า 5 ปีก่อนหน้าเพิ่มขึ้นไม่น้อย เช่น พลังงาน น้ำมัน ของจำเป็นต้องใช้ ไข่ไก่ เป็นต้น
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% มองว่าอยู่ระดับเหมาะสมแล้ว ซึ่งการปรับดอกเบี้ยนโยบายนั้นจะต้องคำนึงถึงการเติบโตเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพการเงิน โดยต้องมองในระยะข้างหน้า ไม่ใช่แค่ข้อมูลปัจจุบัน แต่ถ้ามุมมองข้างหน้าเปลี่ยนไปอย่างมีนัย เงินเฟ้อเปลี่ยน เศรษฐกิจเปลี่ยนไป มีปัญหาเสถียรภาพ ก็พร้อมเปลี่ยนดอกเบี้ย ไม่ได้ปิดประตู เพราะความเสี่ยงโลกมหาศาล ไม่ได้ยึดติด แต่เป็นดอกเบี้ยที่เหมาะการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ดูแลเงินเฟ้อ เสถียรภาพการเงิน
ส่วนการปรับกรอบเงินเฟ้อจากปัจจุบัน 1-3% นั้น ต้องเป็นการปรับกรอบร่วมกันกับกระทรวงการคลัง ที่ตามกำหนดคือไตรมาส 4 ปีนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือ ต้องคุยกันและตกลงร่วมกัน ขณะที่ข้อเสนอกระทรวงการคลัง ตอนนี้ขอรับไปพิจารณา อย่างไรก็ตามต้องดูเหตุผลกรอบเงินเฟ้อ มีไว้เพื่ออะไร กรอบเงินเฟ้อเพื่อยึดเหนี่ยวคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต ความชัดเจนนโยบายต่างๆ การปรับกรอบเป็นอะไรที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องชั่งหลายอย่าง ต่างประเทศหลายประเทศไม่ได้อยู่ในกรอบ แทบไม่มีประเทศหลักไหนที่ปรับกรอบเงินเฟ้อ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทอน-เท้งไม่กล้าแตะแม้ว ร้องกกต.ซื้อเสียง52เรื่อง
“อิทธิพร” ยืนยันความพร้อมเลือกตั้งสมาชิก-นายก อบจ.
งบปี69ยึด3เป้า ย้ำขรก.ใช้คุ้มค่า คัด‘ปธ.ธปท.’อืด
นายกฯ มอบนโยบายจัดทำงบปี 69 วาง 3 เป้าหมาย ไม่ลดสัดส่วนนักลงทุน-ไม่เพิ่มงบ-ไม่เพิ่มอัตรากำลัง
สภาไฟเขียว‘สุราชุมชน’ ตีปี๊บซอฟต์พาวเวอร์ไทย
มติสภาเอกฉันท์ 415 เสียง ไฟเขียว "กม.สุราชุมชน" เปิดโอกาสเกษตรกรรายย่อยผลิต-มีเครื่องกลั่นสุรา
อิ๊งค์หวิดโดนตุ๋น/3ทุนใหญ่งาบ
อึ้ง! "นายกฯ อิ๊งค์" หวิดโดนคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน
ลากทักษิณขึ้นเขียง แพทยสภาเปิดวอร์รูมตรวจเวชระเบียนชั้น14เร่งจบมี.ค.
แพทยสภาเข็นนักโทษเทวดาขึ้นเขียง “หมออมร” เปิดวอร์รูมนัดแรกตรวจเอกสารลับ
27ม.ค.โอนเงินหมื่นเฟส2 คลังยันคุยธปท.ดันศก.โต
นายกฯ สรุปทิศทางทำงบปี 69 ย้ำต้องตอบโจทย์พัฒนาประเทศ