ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือน มี.ค.ชะลอตัว หลังเร่งไปมากช่วงก่อนหน้า ชี้แนวโน้มระยะต่อไป ศก.ไทยยังโตได้จากท่องเที่ยว-ใช้จ่ายภาครัฐ เชื่อส่งออกฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ
เมื่อวันที่ 30 เมษายน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน มี.ค.67 ว่า ชะลอลงจากอุปสงค์ในประเทศและภาคท่องเที่ยวที่ลดลง หลังจากที่เร่งไปมากในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะจากมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-receipt และ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาส 1/67 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน อัตราการขยายตัวยังอยู่ในระดับต่ำราว 1% โดยแรงขับเคลื่อนมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคบริการและการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องขยายตัว
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการทยอยลงทุนของธุรกิจใหม่ๆ การส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมทรงตัว โดยบางอุตสาหกรรมยังได้รับแรงกดดันจากการค้าโลกที่ฟื้นตัวช้าและปัจจัยเชิงโครงสร้าง ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนลดลงจากการซื้อสินค้าคงทน แม้การบริโภคสินค้าไม่คงทนยังขยายตัวได้ดีจากไตรมาสก่อน ด้านการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ล่าช้า
ในเดือน มี.ค. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วลดลงจากเดือนก่อน ตามนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม โดยเฉพาะมาเลเซีย และกลุ่มตะวันออกกลาง ที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน และนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงบ้างหลังเร่งไปในช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่แล้ว
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วลดลงจากเดือนก่อน หลังเร่งไปในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน จากมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-receipt ที่หมดลง ด้านการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนในหมวดยานยนต์ยังคงลดลงจากสถาบันการเงินที่ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ สำหรับการใช้จ่ายในหมวดบริการลดลงหลังจากเร่งไปมากในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แต่กังวลเรื่องค่าครองชีพเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันเบนซิน
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงจากเดือนก่อน จากหมวดอาหารสดที่ผลของฐานสูงในปีก่อนเริ่มหมดไป ประกอบกับราคาผักและผลไม้เพิ่มขึ้น และจากหมวดพลังงานที่ราคาน้ำมันเบนซินปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากผลของฐานสูงในปีก่อน ประกอบกับราคาในหมวดของใช้ส่วนตัวลดลง ตามการทำโปรโมชันของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในหมวดอาหาร อาทิ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารบริโภคนอกบ้าน ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังต้องติดตามการจ้างงานในภาคการผลิต
ขณะที่ไตรมาส 1/67 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากหมวดอาหารสด และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นตามรายรับภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ตลาดแรงงานปรับแย่ลงเล็กน้อยตามการจ้างงานในภาคการผลิตเป็นสำคัญ ด้านตลาดแรงงานปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งการจ้างงานในภาคการผลิต และภาคบริการ
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยอ่อนค่าลง เนื่องจากตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีกระยะหนึ่ง และยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาต่ำกว่าคาด
แนวโน้มในระยะต่อไป ธปท.เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตได้จากแรงขับเคลื่อนสำคัญ คือการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ แต่ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของการส่งออก อย่างไรก็ตาม การที่มูลค่าส่งออกในเดือน มี.ค. พลิกมาติดลบค่อนข้างมาก เป็นเพราะฐานในปีก่อนสูง ซึ่งเป็นตามคาดการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แต่ก็เชื่อว่าการส่งออกจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉระบบเด็กฝาก ทำลายองค์กรตร. ดับฝัน‘ดาวฤกษ์’
เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับรอง ผบ.ตร.-ผบช.
ยธ.เมินแจงกมธ. ปมนักโทษเทวดา รพ.ตำรวจชั้น14
ชั้น 14 น่าพิศวง "โรม" กวักมือเรียก “ทักษิณ” ไปสภา เข้าแจง กมธ.มั่นคงฯ
แจกเฟส2เอื้อเลือกอบจ. เตือนร้องถอดถอนครม.
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ยันไทยสงบ สันติ หวังแม้รัฐบาลเปลี่ยน
ฟ้อง9บิ๊กมท.ทุจริตที่เขากระโดง
เรื่องถึงศาล "ณฐพร" ฟ้องกราวรูด "บิ๊ก ขรก.มหาดไทย"
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
สั่งประหารชีวิต ‘แอม ไซยาไนด์’ คุกผัวเก่า-ทนาย
ศาลพิพากษาประหารชีวิต "แอม ไซยาไนด์" วางยาฆ่าก้อย พร้อมชดใช้ 2.3 ล้าน