“จุรินทร์” ยกป่วนขบวนเสด็จฯ ตอกย้ำนิรโทษกรรมต้องไม่รวมความผิดมาตรา 112 “โรม” อ้างไม่ควรยึดติดมาตราใดมาตราหนึ่ง แต่ต้องมองภาพรวมแก้ปัญหาบ้านเมืองอย่างไร แนะ กมธ.ควรเพิ่มวันประชุมต่อสัปดาห์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ก.พ.2567 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์ถึงการนิรโทษกรรม มาตรา 112 ว่า ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญขึ้นมาพิจารณาเรื่องการนิรโทษกรรมเพื่อความปรองดอง ขณะเดียวกันก็มีพรรคการเมืองบางพรรคได้เสนอพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของสภา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ โดยการนิรโทษกรรมสามารถทำได้ เพราะในอดีตก็เคยมีการนิรโทษกรรมเกิดขึ้น แต่ประเด็นสำคัญคือ ถ้าจะนิรโทษกรรมในอนาคต ควรจะครอบคลุมความผิดในลักษณะใดบ้าง ตรงนั้นคือหัวใจสำคัญ
“การนิรโทษกรรมต้องไม่รวมคดีทุจริตคอร์รัปชัน และมาตรา 112 รวมทั้งคดีอาญาร้ายแรง เพราะอนาคตจะทำให้คนไม่เกรงกลัวกฎหมาย และกลายเป็นการส่งเสริมการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าว และจะนำไปสู่การขยายความขัดแย้งแตกแยกมากกว่าการสร้างความปรองดอง โดยเฉพาะเมื่อเกิดกรณีการป่วนขบวนเสด็จฯ ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าไม่สมควรนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 112 ซึ่งขอเสนอให้ กมธ.ของสภารับไปพิจารณาด้วย” นายจุรินทร์กล่าว
ขณะที่ นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะรองประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กล่าวถึงการประชุม กมธ.ในสัปดาห์นี้ว่า จะมีการประชุมในวันที่ 15 ก.พ. เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป โดยจะพูดคุยกันเรื่องกรอบของการทำงาน แนวทางการทำงานว่าจะผลักดันกันไปอย่างไร ระยะเวลาในการนิรโทษกรรมต้องไปถึงเมื่อไหร่
เมื่อถามถึงกรณีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ คือนายคณิต ณ นคร และนายโคทม อารียา มาให้ความเห็นต่อ กมธ. จะซักถามหรือสอบถามเรื่องใดเป็นพิเศษหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า จริงๆ คงต้องเอารายงานของนายคณิตที่เคยมีข้อเสนอที่จะแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง โดยต้องนำรายงานฉบับนั้นมาดูว่าถึงที่สุดแล้วเราสามารถใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้มากน้อยแค่ไหน และต้องถามความเห็นเช่นกันว่า หากเราจะแก้ไขความขัดแย้งในวันนี้จะทำได้อย่างไร
“เรื่องการนิรโทษกรรม เรามองในลักษณะส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาทางการเมือง สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรไปติดกรอบเรื่องของคดีนั้นหรือคดีนี้ แต่ควรอยู่บนฐานว่าสรุปแล้วจะแก้ปัญหาบ้านเมืองหรือไม่ จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีหรือไม่ ซึ่งหากเราตั้งโจทย์เช่นนี้แล้วก็ไม่ควรเอาเรื่องของมาตรามาเป็นข้อกำหนดในการบอกว่าห้ามเอามาตรานั้นมาคิดเรื่องนิรโทษกรรม ซึ่งคิดว่าไม่ใช่ทางออกที่แท้จริงในการที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนี้” นายรังสิมันต์ระบุ
เมื่อถามว่า ในการศึกษาของ กมธ.อาจมีประเด็นที่หลากหลาย มองว่ากรอบระยะเวลา 60 วันเพียงพอหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการประชุม และขึ้นอยู่กับวิธีการทำงานของประธาน กมธ. ถามว่า 60 วันเราสามารถประชุม 2-3 วันต่อสัปดาห์ได้หรือไม่นั้น ก็ทำได้ จริงๆ ไม่ควรต้องติดกรอบว่าจะต้องประชุม 1 วันต่อสัปดาห์เลยด้วยซ้ำ หากจะเอาให้เยอะ ประชุม 1 สัปดาห์ก็ทำได้ หากประสิทธิภาพในเนื้อหาสาระมันดี
“หากพูดถึงในรายละเอียดเรื่องการนิรโทษกรรม ก็มีภาคประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เขามีข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ไอลอว์ หรือแม้กระทั่งรายงานที่ศึกษามาก่อนหน้านี้ ซึ่งผมคิดว่าเราสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้เพื่อเร่งให้การทำงานเร็วขึ้นได้ แต่หากไม่ทันจริงๆ ก็ต่ออายุได้ ไม่ควรที่จะช้าจนเกินไป เพราะสังคมก็อาจวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าสุดท้ายแล้วไม่ได้นำไปสู่การที่จะแก้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองที่แท้จริง แต่เป็นการตั้ง กมธ.เพื่อยื้อและถ่วงเวลาไว้เรื่อยๆ” นายรังสิมันต์กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฉายาสภาเหลี่ยม(จน)ชิน
ถึงคิวสื่อสภา ตั้งฉายา สส. "เหลี่ยม (จน) ชิน" จากการพลิกขั้วรัฐบาลเขี่ย
ตอกฝาโลงกิตติรัตน์ ‘กฤษฎีกา’ชี้ขาดคุณสมบัติ เหตุมีส่วนกำหนดนโยบาย
"กฤษฎีกา" ชี้ชัดสมัย "นายกฯ เศรษฐา" ตั้ง "กิตติรัตน์" เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกฯ
ให้กำลังใจจนท.ดูแลปีใหม่ เข้มงวด‘ความปลอดภัย’
นายกฯ ให้กำลังใจตำรวจ-กรมทางหลวง ทำงานหนักช่วงปีใหม่
‘เท้งเต้ง’ไม่ทน! ชงแก้ข้อบังคับ รมต.ตอบกระทู้
ทนไม่ไหว! “หัวหน้าเท้ง” หารือประธานสภาฯ ขอให้แก้ข้อบังคับการประชุม
แม้วพบอันวาร์กลางทะเล เตือนเสือกทุกเรื่องทำพัง!
ปชน.จี้ถามรัฐบาล “ทักษิณ” มีอำนาจจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือไม่
'บัญญัติ' รับได้ฉายา 'ประชาธิเป๋' บอกอีกสักพักก็แข็งแรงเดินตรงมากขึ้น
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงฉายาที่สื่อรัฐสภา ตั้งให้กับสภาผู้แทนราษฎรว่า “เหลี่ยม(จน)ชิน ว่าตรงกับที่ตนวิเคราะห์แล้วว่ารัฐบาลนี้ก็อยู่ด้วยการช่วงชิงกันมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว