จัดกิจกรรมใหญ่ ด้านพุทธศาสนา เฉลิม72พรรษา

รัฐบาลแถลงจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดียให้ประชาชน 4 จังหวัดเข้าสักการะ พร้อมจัดพิธี 5 ศาสนา

เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567  คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 28  กรกฎาคม 2567 แถลงข่าวถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการฝ่ายจัดพิธีการงานเฉลิมพระเกียรติฯ และประธานกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ  กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      มีพระบรมราชวินิจฉัยชื่อพระราชพิธีว่า  พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์สำหรับใช้ในโอกาสต่างๆ พร้อมทั้งนำมาจัดทำเข็มที่ระลึก เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนใช้ประดับและเก็บเป็นที่ระลึก

สำหรับการจัดพิธีการในนามรัฐบาล  ประกอบด้วย การจัดพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์, การจัดพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา, การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์, การจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ, การจัดพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล, งานสโมสรสันนิบาต และการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค   ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นความร่วมมือของรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย โดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 หน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน  ดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย ณ กรุงนิวเดลี พร้อมพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสถูปโบราณปีปราห์วา เมืองสาญจี สาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก ตามโครงการธรรมยาตราจากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยจัดงานระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์-19 มีนาคม 2567

โดยมีการจัดขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ในวันที่ 23 ก.พ. และจะเปิดให้ประชาชนเข้าสักการบูชา ดังนี้ วันที่ 24 ก.พ.-3 มี.ค. ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง, วันที่ 5-8 มี.ค. ณ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่, วันที่ 10-13 มี.ค. ณ วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี และวันที่ 15-18 มี.ค. ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) จ.กระบี่ จากนั้นจะจัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุฯ ส่งมอบคืนให้แก่สาธารณรัฐอินเดีย  นอกจากนี้ จะมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ  อาทิ มหกรรมรําอวยพร 4 ภาค, การแสดงของวงดุริยางค์จาก 4 มหาวิทยาลัย และการแสดงโขนกลางแปลง รวมถึงกิจกรรมสวดมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ขณะที่ นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ในฐานะประธานกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ   กล่าวว่า ได้ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. โดยประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมความหมาย โดยได้รับความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมจัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ให้กับหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสื่อมวลชน เชิญชวนทุกหน่วยงานจัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมเครื่องราชสักการะ ประดับธงชาติไทยคู่กับธงตราสัญลักษณ์ฯ พร้อมประดับผ้าระบายสีเหลืองร่วมกับผ้าระบายสีขาวตามอาคารสถานที่ของทุกหน่วยงาน และได้มีการนำเสนอพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณด้านต่างๆ ในรูปแบบบทความเฉลิมพระเกียรติฯ ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘จุรินทร์’ เผย8ปัจจัย การเมืองปี68เดือด!

"จุรินทร์" เปิด 8 ปัจจัยการเมืองปี 2568 จับตามีคดีความที่มีผู้ร้องไปยื่นร้องนายกฯ และผู้เกี่ยวข้องไว้ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีเรื่องที่ค้างอยู่อย่างน้อย