ครม.ไฟเขียวหลักการงบผูกพันข้ามปี 1.81 แสนล้าน จัดให้ 10 หน่วยงาน ทัพฟ้าชง 1.9 หมื่นล้าน ซื้อเครื่องบินรบฝูงใหม่ทดแทน เผยนายกฯ ให้อิสระ "บิ๊กไก่" ตั้ง คกก.เลือกแบบ ชั่งน้ำหนัก "เอฟ-16" กับ "กริพเพน" ย้ำใช้ระบบออฟเซตได้รับผลตอบแทนเศรษฐกิจคืน พร้อมซาวเสียงโซเชียล
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาถึงกรณีที่หลายหน่วยงานได้เสนอคำของบประมาณประจำปี 2568 ที่ก่อภาระหนี้ผูกพันตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบในหลักการเสนอขอการตั้งรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ วงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 10 หน่วยงาน ทั้งหมด 69 โครงการ มีวงเงินผูกพันข้ามปีงบประมาณรวมกันกว่า 1.81 แสนล้านบาท ซึ่งจะผูกพันงบตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป โดยที่ประชุมครม.ได้รับทราบข้อเสนอของทั้ง 10 หน่วยงาน โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณา ว่างบผูกพันทั้งหมดที่เสนอเข้ามาเป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย รวมทั้งชอบด้วยนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาด้วยหรือไม่
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า โครงการที่เสนอของบผูกพันเข้ามา กระทรวงคมนาคม เสนอ 42 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2568-2575 รวมวงเงิน 91,653.3 ล้านบาท โดยมีวงเงินที่จะขอรับจัดสรรงบฯ ปี 2568 ก่อนวงเงิน 15,627.9 ล้านบาท
วันเดียวกัน พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนในปีงบประมาณ 68 ว่า กองทัพอากาศได้จัดทำคำขอประมาณปี 2568 วงเงินกว่า 19,000 ล้านบาท โดยมีเครื่องบินรบอยู่ 2 ค่าย ที่อยู่ในข่ายการพิจารณาคือ เอฟ-16 บล็อก 70 สหรัฐอเมริกา และกริพเพน อี จากสวีเดน ในเรื่องความคุ้นเคยการใช้งานถือว่ามีประสิทธิภาพทั้ง 2 แบบ โดยขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบแล้ว ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้มีงบประมาณมากนัก หากค่ายไหนให้ในสิ่งที่ตรงความต้องการ และให้ความคุ้มค่ากับเรามากที่สุด ในเรื่องการดูแลปรับปรุงอุปกรณ์เก่าที่เรามีอยู่ รวมถึงการซ่อมบำรุงและการดูแลที่เราจะพัฒนาไปข้างหน้าได้ ที่สำคัญที่สุดคือนโยบายจัดซื้อจัดจ้างแบบชดเชย (offset policy) ซึ่งเป็นเรื่องที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะตกสู่ภาครัฐ โดยกองทัพอากาศพยายามใช้เจตนารมณ์นี้ในการจัดซื้ออาวุธเพื่อให้เงินเข้าประเทศด้วย
เมื่อถามว่า รัฐบาลจะมีส่วนในการตัดสินใจเลือกแบบด้วยหรือไม่ ผบ.ทอ. กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้บอกให้กองทัพตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุด จึงให้คณะกรรมการคัดเลือกแบบพิจารณา ตนไม่ทราบแม้กระทั่งทีโออาร์ เชื่อมั่นว่าคณะทำงานที่แต่งตั้งมีความรู้ความสามารถที่จะสรรหาพิจารณาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับ ทอ.
“ถ้าถามว่าลำบากใจหรือไม่ ก็ลำบากใจนะ แต่ผมไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ แต่เป็นการตัดสินใจร่วมของคณะกรรมการพิจารณา โดยการนำข้อมูลมาดูด้วยเหตุผล ความคุ้มค่า ณ ปัจจุบันและอนาคต ที่เป็นห่วงคือการดำรงสภาพการบินที่มีขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องและระยะยาวในเรื่องของอายุการใช้งาน การเชื่อมโยงกับระบบเก่าได้ ตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เราจะไม่ให้คนกองทัพอากาศผิดหวัง อย่างน้อยที่สุดประชาชนก็จะไม่ผิดหวัง โดยตอนนี้เราก็ใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นจากคอมเมนต์ต่างๆ ทางโซเชียลมีเดีย ประกอบด้วยลักษณะคล้ายๆ เป็นโพล" พล.อ.อ.พันธ์ภักดีระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลหรือไม่ว่าประชาชนจะต่อต้านวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ ผบ.ทอ.กล่าวว่า หากเราทำหน้าที่เพื่อประชาชนจริงๆ ทำความเข้าใจว่าที่เราซื้อเครื่องบินมาแล้วทำอะไรบ้าง วันนี้อาจจะไม่มีเหตุการณ์ แต่หากเกิดเหตุการณ์แล้วเราไม่มีความพร้อม ประชาชนคงตำหนิเราเหมือนกัน ดังนั้นการได้หารือและพูดคุยจะทำให้เข้าใจว่า ทอ.รวมถึงเหล่าทัพอื่นมีระบบการจัดหายุทโธปกรณ์อย่างไร ในปัจจุบันมีข้อตกลงคุณธรรม โดยมีคณะกรรมการกลางเข้ามาดูแลให้คำแนะนำทั้งจากกรมบัญชีกลาง และนักวิชาการหลัก ถ้ากังวลเรื่องความไม่โปร่งใส ขอให้ตรวจสอบได้ หากเป็นเรื่องงบประมาณ จะใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด ขอให้คลายกังวลว่า เมื่อได้เครื่องบินมาประจำการแล้วใช้ไม่น้อยกว่า 30 ปี เช่นเดียวกับยุทโธปกรณ์ที่เรามีอยู่ เช่น เครื่องบินลำเลียง C-130 ที่ใช้มา 41 ปี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธปท.จับตาแจกเงินเฟส2-3
“คลัง” ฟุ้งเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย.โตต่อเนื่อง อานิสงส์ส่งออก-ท่องเที่ยวหนุนเต็มพิกัด
จี้สอบ6ข้อป่วยทิพย หวั่น‘สมศักดิ์’แทรกแซง/‘แม้ว’ถก‘อันวาร์’เรื่องอาเซียน!
"บิ๊กป้อม" เลี่ยงเผชิญหน้า "ทักษิณ" ยกเลิกร่วมงานอวยพรครบรอบ 75 ปี
‘อันวาร์’ โชว์ภาพคู่ ’ทักษิณ’ ถกดับไฟใต้-แก้วิกฤตเมียนมา ตอกย้ำ ‘อิ๊งค์‘ นายกฯตัวปลอม!
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารู้สึกยินดีที่ได้พบกับอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยและเพื่อนรักอย่าง ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อหารือกันอย่างน่าสนใจ ครอบคลุม และมีประโยชน์ รวมทั้งในฐานะที่ปรึกษาไม่เป็นทางการของมาเลเซียในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
'นายกฯอิ๊งค์' มอบคำขวัญวันเด็ก ปี 68 'ทุกโอกาสคือการเรียนรู้'
'นายกฯอิ๊งค์' มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 68 ‘ทุกโอกาสคือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง‘ ยันรัฐบาลเห็นคุณค่าเด็กทุกคน มีสิทธิ์ทำให้ประเทศนี้น่าอยู่
เปิดภารกิจ 'กิตติรัตน์' ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ ทำหลุดเก้าอี้ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ'
กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีการ่วม 3 คณะ มีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
ฉายาสภาเหลี่ยม(จน)ชิน
ถึงคิวสื่อสภา ตั้งฉายา สส. "เหลี่ยม (จน) ชิน" จากการพลิกขั้วรัฐบาลเขี่ย