“ไพโรจน์” นัดประชุมบอร์ดค่าจ้างใหม่ 20 ธ.ค.นี้ เตรียมชงทบทวนสูตรใหม่ เล็งตัดจีดีพีช่วงโควิดออกเพื่อให้ค่าแรงพุ่ง นิด้าโพลเผยคนส่วนใหญ่เห็นด้วยขึ้นเงินเดือนข้าราชการหน้าใหม่ 35% หนุนปรับค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2566 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้นำมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2-16 บาท รวม 17 กลุ่มจังหวัดของบอร์ดค่าจ้างออกจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้บอร์ดค่าจ้างกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่ก่อนเสนอต่อที่ประชุม ครม.อีกครั้ง ว่าได้นัดกรรมการไตรภาคีประชุมในช่วงเช้าวันที่ 20 ธ.ค.นี้ที่กระทรวงแรงงาน และตั้งเป้าเสนอ ครม.อนุมัติภายในเดือนนี้ เพื่อให้เป็นของขวัญในปีใหม่ 2567
เมื่อถามว่า จะมีการรื้อโครงสร้างปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2-16 บาท ที่เป็นมติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.หรือไม่ นายไพโรจน์กล่าวว่า ต้องถามความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วยกรรมการฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายข้าราชการ
ถามต่อว่า หากที่ประชุมมีความเห็นว่าให้ทบทวนจะมีปรับสูตรคำนวณอย่างไร นายไพโรจน์กล่าวว่า ได้ประสานให้คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ทำสูตร ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดค่าจ้างในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ด้วย
มีรายงานแจ้งว่า ในการปรับสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่นั้น มีแนวโน้มว่าจะตัดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2563-2564 ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ออก เพราะหากคำนวณตามสูตรค่าจ้างเดิมที่พิจารณาตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบ 5 ปี ซึ่งรวมช่วงโควิด-19 ระบาดด้วย จะกลายเป็นตัวถ่วงในการพิจารณา
วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจของประชาชน เรื่องขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการขึ้นเงินเดือนข้าราชการกลุ่มแรกเข้า ภายใน 2 ปี พบว่า 48.93% ระบุว่าเหมาะสมดีแล้ว, 28.63% ระบุว่าควรขึ้นเงินเดือนข้าราชการทุกกลุ่มไม่ว่าจะแรกเข้าหรือรับราชการมานานแล้ว, 13.66% ไม่ควรขึ้นเงินเดือนข้าราชการตอนนี้, 3.74% ขึ้นน้อยเกินไป, 3.51% ขึ้นมากเกินไป และ 1.53% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท พบว่า 35.11% ระบุควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตราเพิ่มขึ้นเท่ากันทุกจังหวัด, 28.40% ขึ้นน้อยเกินไป, 28.32% เหมาะสมดีแล้ว, 6.18% ไม่ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้, 0.84% ขึ้นมากเกินไป และ 1.15% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การเงินและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต้นปี เพราะหากไม่ปรับขึ้นค่าแรงให้เหมาะสม ไทยจะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การปรับเพิ่มค่าจ้างจะช่วยสนับสนุนกำลังซื้อภายในระบบเศรษฐกิจ และมีแรงกดดันเงินเฟ้อน้อยมาก เพราะไม่ได้ปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด ขณะเดียวกันระบบไตรภาคีต้องปรับค่าจ้างของแรงงานนอกระบบให้เป็นค่าจ้างที่เพียงพอแก่การดำรงชีวิตด้วย
“ค่าจ้างขั้นต่ำจะเป็นเท่าไหร่ก็อยู่ที่การเจรจาหารือกันในระบบไตรภาคี ส่วนการปรับขึ้นเท่าไหร่ก็ต้องดูความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและภาวะเศรษฐกิจด้วย แต่ควรปรับค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อยให้สูงกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งบวนการแรงงานและองค์กรผู้ใช้แรงงานเคยเสนอให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 492 บาทอัตราเดียวทั่วประเทศมาหลายปีแล้ว”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฉายาสภาเหลี่ยม(จน)ชิน
ถึงคิวสื่อสภา ตั้งฉายา สส. "เหลี่ยม (จน) ชิน" จากการพลิกขั้วรัฐบาลเขี่ย
ตอกฝาโลงกิตติรัตน์ ‘กฤษฎีกา’ชี้ขาดคุณสมบัติ เหตุมีส่วนกำหนดนโยบาย
"กฤษฎีกา" ชี้ชัดสมัย "นายกฯ เศรษฐา" ตั้ง "กิตติรัตน์" เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกฯ
แม้วพบอันวาร์กลางทะเล เตือนเสือกทุกเรื่องทำพัง!
ปชน.จี้ถามรัฐบาล “ทักษิณ” มีอำนาจจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือไม่
ให้กำลังใจจนท.ดูแลปีใหม่ เข้มงวด‘ความปลอดภัย’
นายกฯ ให้กำลังใจตำรวจ-กรมทางหลวง ทำงานหนักช่วงปีใหม่
‘เท้งเต้ง’ไม่ทน! ชงแก้ข้อบังคับ รมต.ตอบกระทู้
ทนไม่ไหว! “หัวหน้าเท้ง” หารือประธานสภาฯ ขอให้แก้ข้อบังคับการประชุม
กฤษฎีกาเอกฉันท์โต้งหมดสิทธิ์
กฤษฎีกามติเอกฉันท์ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัติ หมดสิทธิ์นั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ"