โพลแนะก้าวไกล นั่ง‘ผู้นำฝ่ายค้าน’ มั่นใจจับมือปชป.

นิด้าโพลเผยผลสำรวจทางเลือกพรรคก้าวไกล 56% แนะ “พิธา” รับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน ทิ้งเก้าอี้รองประธานสภาฯ ดีกว่า 37% มั่นใจทำงานร่วมกับฝ่ายค้านได้

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ก.ย.2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่องพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ควรเลือกอะไร โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ทางโทรศัพท์ 1,310 หน่วยตัวอย่าง

โดยเมื่อถามประชาชนเกี่ยวกับพรรค  ก.ก.ในเรื่องตำแหน่งที่คิดว่าสำคัญ  ระหว่างรองประธานสภาผู้แทนราษฎรกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ พบว่า 38.40% ระบุว่าสำคัญพอๆ กัน, 29.85% ระบุว่าผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ สำคัญกว่า, 28.55% ระบุว่ารองประธานสภาฯ สำคัญกว่า,  1.68% ระบุว่าไม่สำคัญทั้งสองตำแหน่ง และ 1.52% ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อตำแหน่งที่พรรค ก.ก.ควรเลือกระหว่างรองประธานสภาฯ หรือผู้นำฝ่ายค้าน พบว่า 56.11% ควรเลือกตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านฯ 39.08% ควรเลือกตำแหน่งรองประธานสภาฯ และ 4.81% ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานร่วมกันของพรรค   ก.ก.กับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในการเป็นฝ่ายค้าน พบว่า 37.25% มองว่าทั้งสองพรรคจะทำงานร่วมกันได้ค่อนข้างดี,    28.55% ทั้งสองพรรคจะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี, 17.79% ทั้งสองพรรคจะทำงานร่วมกันได้ไม่ค่อยดี, 12.82% ทั้งสองพรรคจะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้เลย และ 3.59% ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า 48.09% เป็นเพศชาย และ 51.91% เป็นเพศหญิง และหากแยกเป็นภูมิลำเนา พบว่า 8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ, 18.55% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง, 18.01% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ, 33.44% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13.74% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และ 7.71% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก

นอกจากนั้น ในเรื่องของอายุผู้ตอบแบบสอบถาม 2.90% อายุ 18-25 ปี,  17.79% อายุ 26-35 ปี, 18.93% อายุ 36-45 ปี, 26.64% อายุ 46-59 ปี และ 23.74% อายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม 21.53% ไม่มีรายได้, 21.91% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท,  28.85% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

10,001-20,000 บาท, 11.07% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท,  4.50% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท, 6.34% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ 5.80% ไม่ระบุรายได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด