ลุ้น!ศาลรธน.นัดชี้ชะตา‘ทิม’19กค.

ระทึก! ศาลรัฐธรรมนูญนัดถกคำร้องสถานะ "พิธา" ถือหุ้นสื่อ 19 ก.ค.นี้ ตรงกับวันโหวตเลือกนายกฯ รอบสอง จับตาหากศาลรับไว้วินิจฉัย ต้องลุ้นสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ด้วยหรือไม่ ขณะที่ "เรืองไกร" ร้อง ปธ.รัฐสภาสอบ "พิธา" เป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะต้องห้ามตาม รธน. มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2)

เมื่อวันจันทร์  มีรายงานว่าในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีการประชุม โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญคือ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา  82 ว่าสมาชิกภาพของ ส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ โดยอยู่ในระเบียบวาระที่ 4 เรื่องพิจารณาที่ 23/2566 โดยมีการระบุหมายเหตุ  พิจารณาขยายระยะเวลาการเสนอความเห็นของคณะตุลาการ คณะที่ 1 ต่อศาล ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 31 พิจารณาว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่

ทั้งนี้ โดยกระบวนการพิจารณาคุณสมบัติ ส.ส.ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หากศาลมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ก็จะพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงตามคำร้อง และหากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้องจริง ก็จะมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส.ไว้ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน รวมทั้งอาจสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสารเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยด้วย

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 ก.ค. เป็นวันเดียวกับที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา นัดโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 โดยพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรคกำลังพิจารณาถึงการเสนอชื่อนายพิธา หัวหน้าพรรรคและแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล ให้ที่ประชุมรัฐบาลโหวตลงมติอีกครั้ง 

วันเดียวกัน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีที่ กกต.เห็นว่า สมาชิกภาพของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) จึงให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไปว่า กรณีดังกล่าวย่อมส่งผลถึงนายพิธา ในฐานะเป็นบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2) จึงบัญญัติบังคับไว้ว่า “การเสนอชื่อบุคคลใดที่มิได้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น”

นายเรืองไกรกล่าวว่า กรณีดังกล่าวจึงมีเหตุต้องส่งหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อตรวจสอบตามหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้           

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 กกต.ได้เผยแพร่ข่าวที่ 269/2566 หัวข้อ กกต.ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง โดยมีความดังนี้ "ตามที่สำนักงาน กกต.ได้เสนอรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีหลักฐานปรากฏว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์  ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดในวันสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 82 วรรคสี่ ให้ที่ประชุม กกต.พิจารณา ในวันอังคารที่ 11 ก.ค.66 วันนี้ (12 ก.ค.66) กกต.พิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อจากการประชุมคราวที่แล้ว เห็นว่า สมาชิกภาพของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) จึงให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

ข้อ 2 กรณีที่ กกต.เห็นว่า สมาชิกภาพของนายพิธา มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) นั้น ย่อมมีผลทำให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 160 (6) ตามมาด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติบังคับไว้แล้วว่า ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นบุคคลผู้ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160

ข้อ 3 รัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคสอง จึงบัญญัติบังคับตามมาว่า 'การเสนอชื่อบุคคลใดที่มิได้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น'  ข้อ 4 โดยผลของรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคสอง จึงต้องถือว่าไม่มีการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ต่อ กกต. ตามความในมาตรา 88 วรรคหนึ่ง เพื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ตามความในมาตรา 272 ข้อ 5 ดังนั้น การที่ประธานรัฐสภาออกระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันพุธที่ 19 กค.66 โดยมีเรื่องที่เสนอใหม่คือ พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ ไปแล้วนั้น ในวันดังกล่าว ประธานรัฐสภาย่อมไม่อาจปล่อยให้สมาชิกรัฐสภาเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้อีกต่อไป

ข้อ 6 กรณีจึงเป็นหน้าที่และอำนาจของประธานรัฐสภาตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 80 วรรคสี่ ที่จะต้องตรวจสอบว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2) หรือไม่ และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคสอง ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ใช่หรือไม่"

 “จึงเรียนมาเพื่อขอให้ประธานรัฐสภาตรวจสอบว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2) หรือไม่ และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคสอง ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ใช่หรือไม่”นายเรืองไกรระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ