คณะกรรมการควบคุมโรคฯ เห็นชอบเพิ่ม โรคจากรังสีแตกตัว หลังเกิดเหตุซีเซียม-137 พร้อมประกาศเขตพื้นที่เฝ้าระวัง ควบคุม ควบคุมสูงสุดกรณีฝุ่น PM 2.5 คล้ายการควบคุมโรคโควิด-19
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งมี นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม มีการหารือถึงการดำเนินงานในปี 2566 ที่ได้วางกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 ซึ่งเน้นเรื่องการสื่อสารสร้างการรับรู้รับทราบ ทดลองฝึกปฏิบัติขับเคลื่อนรูปแบบกลไกการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีอนุบัญญัติที่มีผลบังคับใช้แล้ว 16 ฉบับ ช่วยยกระดับการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทันท่วงที และยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี 4 ฉบับ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำอีก 3 ฉบับ
นพ.โอภาสกล่าวว่า คณะกรรมการฯ ยังได้ให้ความเห็นชอบ 2 เรื่อง คือ 1.การประกาศกำหนดชื่อหรืออาการสำคัญของโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม โดยเพิ่มโรคจากรังสีแตกตัว เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์เรื่องสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ทำให้สังคมเกิดความกังวล ซึ่งเมื่อถูกกำหนดไว้ตามกฎหมายแล้ว จะทำให้มีแนวทางจัดการสารกัมมันตรังสีและการตอบโต้ได้ทันสถานการณ์ หากพบผู้ที่มีอาการเข้าได้กับนิยามอาการสำหรับการเฝ้าระวัง เช่น มีตุ่มน้ำ มีผื่น มีเรื่องของมะเร็งต่างๆ เป็นต้น จะได้เกิดการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ แต่ย้ำว่าไม่ใช่อาการสำหรับวินิจฉัยขั้นสุดท้ายว่าเป็นโรค
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังมีความสำคัญเพราะบางครั้งการเกิดโรคขึ้นมาคนเดียวจะไม่ผิดสังเกต แต่หากเกิดพร้อมกันหลายคนในช่วงเวลาเดียวกัน มีปัจจัยเสี่ยงเดียวกัน จะเป็นความสำคัญทางระบาดวิทยา ที่ต้องไปหาสาเหตุจนพบต้นตอ และการที่ต้องแยกมาเป็นโรคจากการประกอบอาชีพฯ ก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการชดเชยและทดแทน ในส่วนของกฎหมายด้านแรงงานด้วย ขณะนี้ได้ให้ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมในเรื่องของคำศัพท์เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ก่อนที่จะออกเป็นร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ชื่อหรืออาการสำคัญของโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมต่อไป
และ 2.การประกาศเขตพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม กรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 แบ่งกลไกการออกประกาศเป็น 2 ส่วนคือ การใช้มาตรา 14 (2) คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจในการเสนอเขตพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม เป็นการเฉพาะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเฝ้าระวังในภาพรวมระดับประเทศหรือหลายจังหวัดรวมกัน และการใช้มาตรา 35 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเกิดหรือก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตพื้นที่ ให้อธิบดีกรมควบคุมโรค หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมควบคุมโรคมอบหมาย โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพฯ จังหวัด/กทม. มีอำนาจประกาศเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประกาศยกเลิกเมื่อมีเหตุอันสมควรหรือสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลง
ทั้งนี้ การประกาศกำหนดเขตพื้นที่ ให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการป้องกัน หรือการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคจากสิ่งแวดล้อม ที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรวดเร็วหรือกว้างขวาง เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำหรับเขตพื้นที่นั้นเป็นการเฉพาะ หรือกำหนดมาตรการอื่นใดที่เหมาะสมแก่สภาพของพื้นที่นั้นเป็นการเฉพาะได้ เช่น ภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท้องถิ่นและประชาชนต้องทำอะไร ถ้าไม่ทำจะมีบทลงโทษอย่างไร คล้ายการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งมาตรการจะดูทั้งเรื่องการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ การป้องกัน และการรักษา ซึ่งต้องใช้กับกฎหมายหลายฉบับมาประกาศร่วมกัน
นอกจากนี้ ยังสามารถประกาศกำหนด ประเภท ขนาด และลักษณะของแหล่งกำเนิดมลพิษ และประเภทหรือกลุ่มของประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือตัวเลขค่าฝุ่น PM 2.5 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ของการประกาศว่าเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวัง เขตพื้นที่ควบคุม หรือเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฉายาสภาเหลี่ยม(จน)ชิน
ถึงคิวสื่อสภา ตั้งฉายา สส. "เหลี่ยม (จน) ชิน" จากการพลิกขั้วรัฐบาลเขี่ย
ตอกฝาโลงกิตติรัตน์ ‘กฤษฎีกา’ชี้ขาดคุณสมบัติ เหตุมีส่วนกำหนดนโยบาย
"กฤษฎีกา" ชี้ชัดสมัย "นายกฯ เศรษฐา" ตั้ง "กิตติรัตน์" เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกฯ
‘เท้งเต้ง’ไม่ทน! ชงแก้ข้อบังคับ รมต.ตอบกระทู้
ทนไม่ไหว! “หัวหน้าเท้ง” หารือประธานสภาฯ ขอให้แก้ข้อบังคับการประชุม
แม้วพบอันวาร์กลางทะเล เตือนเสือกทุกเรื่องทำพัง!
ปชน.จี้ถามรัฐบาล “ทักษิณ” มีอำนาจจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือไม่
ให้กำลังใจจนท.ดูแลปีใหม่ เข้มงวด‘ความปลอดภัย’
นายกฯ ให้กำลังใจตำรวจ-กรมทางหลวง ทำงานหนักช่วงปีใหม่
กฤษฎีกาเอกฉันท์โต้งหมดสิทธิ์
กฤษฎีกามติเอกฉันท์ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัติ หมดสิทธิ์นั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ"