“แรมโบ้” ออกแถลงการณ์ถล่ม "แอมเนสตี้" ส่งเสริมการละเมิดสิทธิ สนับสนุนการชุมนุมที่มีการปาระเบิด ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ เผาทรัพย์สินราชการ ก่อความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ขณะที่ ส.ว.สมชายจี้ ปปง.สอบเส้นทางการเงิน รวมถึงบางพรรครับเงินต่างชาติมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่ เพราะเข้าข่ายยุบพรรค
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ถึงแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ว่า การที่องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ออกแคมเปญรณรงค์ชวนคนไทยและคนทั่วโลก บอกรัฐบาลไทยให้ยุติการดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมผู้เป็นจำเลยในคดีอาญานั้น เป็นการส่งเสริมการละเมิดสิทธิภายใต้หน้ากากขององค์กรสิทธิมนุษยชน
ในประเทศที่เป็นนิติรัฐทั้งหลาย บุคคลจะมีเสรีภาพทำได้ทุกอย่าง เว้นแต่สิ่งที่กฎหมายห้ามไว้ สิ่งที่กฎหมายห้ามนั้นไม่ใช่เป็นการละเมิดสิทธิ หากเป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนทุกคนในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ แต่ในช่วงเวลากว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการละเมิดทั้งกฎหมายและการละเมิดสิทธิของผู้อื่นมากมายโดยอ้างคำว่า “เสรีภาพ” ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมในช่วงเวลาที่มีกฎหมายห้ามด้วยเหตุผลเพื่อการควบคุมโรคระบาด การแสดงออกที่เป็นการละเมิดสถาบันหลักของชาติ และเกินเลยไปถึงการก่อความไม่สงบ ปาระเบิด ปาประทัด ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่เผาทรัพย์สินราชการก่อความเดือดร้อนรำคาญ รบกวนความเป็นอยู่อันปกติสุขของชาวบ้านในเขตที่พักอาศัย โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา การกระทำเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมให้ท้ายโดยองค์กรที่เรียกตัวเองว่าองค์กรสิทธิมนุษยชน พฤติกรรมที่อ้างเสรีภาพมาละเมิดสิทธิผู้อื่นโดยไม่แยแสกฎหมายไม่อาจเรียกว่า “ประชาธิปไตย” แต่เป็น “อนาธิปไตย”
การส่งเสริมการละเมิดกฎหมายและเรียกร้องให้ละเว้นการใช้กฎหมายไม่อาจเรียกว่าเป็นการ “ปกป้องสิทธิ” แต่เป็นการ “ส่งเสริมการละเมิดสิทธิ” ผมขอยืนยันว่าองค์กรที่มีพฤติกรรมดังกล่าวไม่ควรมีที่อยู่ที่ยืนในสังคมประชาธิปไตย ถ้าไม่ยึดหลักกฎหมายไทย ยังออกมามีท่าทีเคลื่อนไหวทำลายความมั่นคงแห่งรัฐไทย คนไทยคงทนไม่ไหวอาจจะจัดการขั้นเด็ดขาด ถึงวันนั้นจะสายเกินเยียวยาและพบจุดจบที่ไม่สวยงามอย่างแน่นอน"
นอกจากนี้ นายเสกสกลยังให้สัมภาษณ์ว่า การที่แอมเนสตี้ออกมาปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มม็อบ ก็ควรที่จะคิดปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศด้วยที่ถูกละเมิดสิทธิเช่นเดียวกัน เพราะถูกละเมิดสิทธิจากม็อบสามกีบเหล่านี้อย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย ประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบ ได้รับความเดือดร้อนจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มม็อบเหล่านี้ นี่หรือคือองค์กรที่กล้าออกมาพูดปกป้องสิทธิให้ประชาชน ปกป้องคนชั่วๆ เลวๆ ที่ทำลายประเทศไทย ทำลายสถาบัน ยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยกให้ประเทศไทยวุ่นวาย ทำไมไม่ออกมาตักเตือนม็อบเหล่านี้ให้หยุดพฤติกรรมลิดรอนสิทธิคนอื่นบ้าง
"องค์กรที่มีเป้าหมายแอบแฝงสนับสนุนคนออกมาให้ฝ่าฝืนทำผิดกฎหมายของไทยเช่นนี้ การชุมนุมไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายสร้างความรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้รับการบาดเจ็บสาหัสไม่น้อย ซึ่งผมเองไม่แน่ใจว่าแอมเนสตี้เห็นการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมหรือไม่ คงแกล้งปิดหูปิดตาหูหนวกเป็นใบ้หรือเปล่า ขออย่าทำงานแค่คำว่า ต้องออกมาปกป้องสิทธิมนุษยชนมันเป็นข้ออ้างวาทกรรมมากกว่า ข้อเท็จจริงไม่เป็นเช่นนั้น ทุกคนเข้ามาอาศัยผืนแผ่นดินไทยต้องทำตามกฎหมายของไทย อย่าคิดว่ามาอยู่ประเทศไทยแล้วจะมาทำผิดกฎหมายไทยได้ เรื่องนี้ตนเองพร้อมประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ยอมอย่างแน่นอน และจะเดินหน้าตรวจสอบและขับไล่องค์กรทุกองค์กรที่มีพฤติกรรมบ่อนทำลายความมั่นของประเทศไทยต่อไปอย่างถึงที่สุด" นายเสกสกลกล่าว
ด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะประธานกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่า เห็นด้วยกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม สั่งการให้ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของแอมเนสตี้ นายกฯ มีอำนาจสั่งการได้อยู่แล้วว่ามีการจดทะเบียนดำเนินการถูกต้องหรือไม่ เพราะบทบาทของแอมเนสตี้ประเทศไทยถูกตั้งข้อสังเกตมีการชี้นำการชุมนุม สนับสนุนทางการเงินในการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงในประเทศไทยหรือไม่ เป็นเรื่องที่หน่วยข่าวและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ควรไปตรวจสอบองค์กรเหล่านี้
"คงไม่ใช่แค่เฉพาะแอมเนสตี้ประเทศไทย แต่รวมถึงองค์กรอื่นๆ ว่ามีการปฏิบัติเกินหน้าที่ขอบเขตของตัวเองหรือไม่ จะได้ทราบว่าเป็นเรื่องความผิดเฉพาะตัวบุคคลในองค์กร หรือเกี่ยวข้องกับทั้งองค์กร ถ้าเป็นเรื่องตัวบุคคล ต้องแจ้งให้แอมเนสตี้สากลทราบ เพื่อเปลี่ยนตัวบุคคล แต่ถ้าเป็นเรื่องทั้งองค์กรก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายฐานแทรกแซงประเทศอื่น"
ส.ว.ผู้นี้กล่าวอีกว่า การที่นายกฯ สั่งตรวจสอบแอมเนสตี้ประเทศไทย ไม่ใช่การเล่นงานฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แต่เป็นการตรวจสอบกลุ่มทำร้ายประเทศไทยว่า มีบุคคลแฝงตัวเข้ามาทำลายความมั่นคงของประเทศหรือไม่ ทุกวันนี้ประเทศไทยมีเอ็นจีโอเป็นหมื่นคน ส่วนใหญ่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นเอ็นจีโอดี อีก 3-5% แฝงเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์การเมือง บางส่วนเข้ามาสนับสนุนความรุนแรงในการชุมนุมหรือเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนแก้รัฐธรรมนูญให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถ้ามีเจตนาเข้าข่ายทำลายความมั่นคงประเทศ คงไม่มีประเทศใดยอมได้
นายสมชายกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ควรตรวจสอบไปถึงพรรคการเมืองว่ามีพรรคใดรับเงินคนต่างชาติมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่ เข้าข่ายมีความผิดยุบพรรค ทั้งนี้ ในการประชุม กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ วุฒิสภา วันที่ 29 พ.ย. จะนำเรื่องการเคลื่อนไหวเกินขอบเขตของเอ็นจีโอมาหารือใน กมธ. และเตรียมจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยข่าวกรอง ปปง. มาให้ข้อมูลว่าเคยมีการตรวจสอบติดตามการเคลื่อนไหวของเอ็นจีโอเหล่านี้ที่มีความเชื่อมโยงกับการชุมนุมในประเทศไทยที่มีการใช้ความรุนแรงหรือเกี่ยวกับความมั่นคงประเทศหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้แจ้งต่อรัฐบาลต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กังขาเก็บ‘MOU44’ไว้หาประโยชน์
"สนธิญา" บุกทำเนียบฯ จี้ "นายกฯ-ครม." ยกเลิก MOU 44
สนอง‘พ่อนายกฯ’ คลังแจกเงินหมื่น คนอายุ60ปีขึ้นไป
รมว.คลังรับลูก "ทักษิณ" แจกเงินหมื่นคนอายุ 60 ปีขึ้นไป เผยใช้งบไม่มาก
รฟท.จี้กรมที่ดินทบทวนมติ มท.โบ้ยต้องไปยื่นศาลแพ่ง
"อนุทิน" ลั่นปัญหาเขากระโดงจบในกรม อย่าโยง รมว.มหาดไทย
ตร.รอคำสั่งศาล จ่อตั้งรองผบ.ตร. สอบวินัยบิ๊กโจ๊ก
“บิ๊กต่าย” ขอไม่ก้าวล่วงคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด แจงไม่ว่าคำวินิจฉัยจะเป็นอย่างไรพร้อมปฏิบัติตาม
‘แม้ว’โทษม.112 ชงแก้การบังคับใช้
"ทักษิณ" เผยธาตุแท้ อ้างพรรคร่วมรัฐบาลลงสัตยาบันไม่แตะ ม.112 แต่ ม.112
จวกทักษิณลวงโลก! ลืมสัจจะวาจาไม่ยุ่งการเมืองจะกลับมาเลี้ยงหลาน
ฮึกเหิม! "สทร." บอกเห็นมวลชนมาเยอะหัวใจพองโต ซัดพวกอิจฉาหาครอบงำ